การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ในเขตพื้นที่ อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • อธิพันธ์ ศิริธรรมาภรณ์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

บทคัดย่อ

          อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน เป็นการดำเนินงานตามนโยบาย ของกระทรวงสาธารณสุขมีเป้าหมายในการพัฒนาอำเภอ ให้สามารถดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคหรือภัยสุขภาพได้ด้วยตนเอง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาการดำเนินงานเพื่อผ่านเกณฑ์ประเมินอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 81 คน เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยใช้แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบบันทึกการจัดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการพัฒนาใช้สถิติ Paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนาการดำเนินงานอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์ มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาบริบทของชุมชน 2) การวิเคราะห์พื้นที่ 3) การวางแผนดำเนินงาน 4) การปฏิบัติตามแผนงาน 5) การสังเกตติดตามและประเมินผล 6) การประชุมถอดบทเรียนจากผลการดำเนินงานดังกล่าวทำให้กลุ่มเป้าหมายมีการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ ความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาการดำเนินงานอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนเพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนา

          อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.05) และการประเมินผลคุณลักษณะอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนผ่านเกณฑ์การประเมินปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงาน ได้แก่การสร้างเครือข่ายการจัดการแบบมีส่วนร่วมการจัดการความรู้และการติดตามประเมินผล

          จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการกำหนดนโยบายในการควบคุมโรคที่ชัดเจนและให้ผู้เกี่ยวข้องมีความรู้และความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่เป็นพี่เลี้ยงและสนับสนุนด้านองค์ความรู้ จะทำให้การดำเนินงานควบคุมโรคมีความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และมีประสิทธิภาพ

References

จรูญศักดิ์ หวังล้อมกลาง. (2552). ประสิทธิผลของรูปแบบการมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอำเภอบางกรวยจังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชฎาภรณ์ บุตรบุรี. (2550). การสร้างพลังชุมชนเพื่อจัดตั้งระบบการเฝ้าระวังไข้หวัดนกโดยชุมชน. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรวิทยาศาตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์). นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธีรวุฒิ หมีอิ่ม, วรัญญา จันทร์สุข และสุดากานต์ จำนงภักดิ์. (2550). การศึกษาการแก้ปัญหาโรคอุจจาระร่วงแบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการ AIC กรณีศึกษาหมู่ที่ 9 บ้านบัวยาง ตำบลหนองหลุม อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ประภัสสร สุวรรณบงกช และคณะ. (2552). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ : รายงานการศึกษาวิจัย. เชียงใหม่ : สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่.

โยมา ประดิษฐ์. (2552). ผลของการวางแผนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันละควบคุมโรคไข้เลือดออก บ้านหนองบัว ตำบลนาดี อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. (2555). สรุปผลการประเมินผลงานตามตัวชี้วัด ประจำปี 2555. บุรีรัมย์.

สำนักจัดการความรู้ กรมควบคุมโรค. (2554). คู่มือประเมินอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ปี 2555. กรุงเทพฯ.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2554). คู่มือเฝ้าระวังเหตุการณ์และควบคุมโรคระบาดในชุมชน สำหรับทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เครือข่ายระดับตำบล อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำชุมชนและประชาชนทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุรัตน์ พันธวงศ์. (2550). ผลของการวางแผนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก บ้านโนนปอแดง อำเภอผาขาว จังหวัดเลย. การศึกษาอิสระ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Kemmis, S. and R. McTaggart. (1998). The action research planner. Geelong, Victoria : Deakin University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-31