การเพิ่มประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งปลากัดของไทย

ผู้แต่ง

  • ศานติ ดิฐสถาพรเจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบการขนส่งปลากัดจากฟาร์มเพาะเลี้ยงไปยังพ่อค้าคนกลางหรือผู้ส่งออก 2) พัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อช่วยลดต้นทุนการขนส่งปลากัดจากฟาร์มเพาะเลี้ยงไปยังพ่อค้าคนกลางหรือผู้ส่งออก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้เพาะเลี้ยงปลากัดในจังหวัดนครปฐมที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposing random sampling) จำนวน 30 คน ระยะเวลาศึกษาวิจัยตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤศจิกายน 2555 โดยการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับระบบการขนส่งปลากัดในปัจจุบัน พัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อช่วยลดต้นทุนการขนส่งปลากัด และประเมินความพึงพอใจในการใช้บรรจุภัณฑ์เพื่อการขนส่งปลากัดของผู้ใช้งาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

                                ผลการวิจัยสรุปได้ว่า บรรจุภัณฑ์ลังผลไม้เดิมสามารถบรรจุกระบอกใส่ปลาได้จำนวน 427 กระบอก แต่บรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถบรรจุได้ 539 กระบอก เพิ่มขึ้นจากเดิม 112 กระบอก สามารถเพิ่มปริมาณการขนส่งต่อเที่ยวมากถึง 26.23 % และบรรจุภัณฑ์กล่องโฟมเดิมสามารถบรรจุกระบอกใส่ปลาได้จำนวน 432 กระบอก แต่บรรจุภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถบรรจุได้ 576 กระบอก เพิ่มขึ้นจากเดิม 144 กระบอก สามารถเพิ่มปริมาณการขนส่งต่อเที่ยวมากถึง 33.33 % ทำให้ต้นทุนการขนส่งลดลงส่งผลให้กำไรสูงขึ้น ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างสูงสุด 3 ลำดับแรก พบว่า บรรจุภัณฑ์มีความแข็งแรงเหมาะสม มีค่าเฉลี่ย 4.86  รองลงมามีความสะดวกต่อการใช้งาน มีค่าเฉลี่ย 4.53 และลดการบอบช้ำของปลา มีค่าเฉลี่ย 4.46 ตามลำดับ

References

กนกรัตน์ไวยดี. (2549). การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสำหรับบรรจุภัณฑ์บรรจุน้ำยางข้นเพื่อ การขนส่งระหว่างประเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการขนส่งและโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

จรูญ โกสีย์ไกรนิรมล. (2528). การตลาดเพื่อการส่งออก. กรุงเทพฯ : ไนน์.

ภัทรกร อมรเลิศวิทย์. (2548). การปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์โดยการนำเอาเครื่องมือทางการออกแบบผลิตภัณฑ์เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อการลดต้นทุนสินค้าของผลิตภัณฑ์เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อการลดต้นทุนสินค้าของผู้ผลิตเม็ดพลาสติก บริษัท เอบีซี จำกัด. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ดารณี พานทอง. (2524). “การหีบห่อ”. วารสารรามคําแหง. 8(1) : 54-56.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

สมพงษ์ เฟื่องอารมย์. (2550). บรรจุภัณฑ์กับการส่งออก. กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-31