การใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรของประชาชนที่อาศัยรอบพื้นที่เขาปกโย๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • รอฮานี เจะแม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายพืชสมุนไพร ลักษณะการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรและกรรมวิธีการนำพืชสมุนไพรมารักษาโรคตามภูมิปัญญาท้องถิ่นของประชาชนที่อาศัยรอบพื้นที่เขาปกโย๊ะ โดยวิธีการวิจัยเป็นแบบผสมทั้งเทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยวิธีการสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์ และสำรวจ บันทึกภาพพืชสมุนไพร จากหมอพื้นบ้าน ปราชญ์ชาวบ้านและประชาชน ผลการวิจัยพบว่า พืชสมุนไพรในพื้นที่เขาปกโย๊ะ ที่ประชาชนนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาโรค บำรุงร่างกาย มีจำนวนสมุนไพรทั้งสิ้น 42 วงศ์ 70 ชนิด จำแนกตามสรรพคุณการรักษาโรค บำรุงร่างกายและใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ ทั้งหมด 16 กลุ่ม  ส่วนมากที่ประชาชนนำมาใช้ประโยชน์ คือ กลุ่มสมุนไพร แก้ไข้ ลดความร้อน แก้ปวด ส่วนของพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ส่วนใหญ่เป็นส่วนของราก (79.70%) ใบ (78.30%) ต้นและผล (40.60%) สำหรับกรรมวิธีและลักษณะการนำพืชสมุนไพรไปใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมารักษาโรคพบว่า ส่วนใหญ่มักจะต้มดื่มน้ำและคั้นเอาน้ำดื่ม และด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษ เกิดจากการเรียนรู้ศึกษาในตำราและทดลองใช้พืชสมุนไพรในการรักษาโรคด้วยตนเอง ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการนำสมุนไพรที่ประชาชนนำมาใช้ในการรักษาโรคต่างๆ จากการวิจัยครั้งนี้ไปทำการศึกษาวิจัยต่อยอดด้านประสิทธิภาพของการรักษาโดยการเปรียบเทียบกับศาสตร์อื่นๆ

References

เกศริน มณีนูน. (2544). พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชนเผ่าซาไก ใน จังหวัดตรัง พัทลุง ยะลา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลาราชนครินทร์.

จรูญ สินทวีวรกุล, วริษา สินทวีวรกุลและมานูญ หาญทวี. (2541). การใช้สารสกัดหยาบจากใบสาบเสือรักษาบาดแผลจากการตอนลูกสุกร. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เขตพื้นที่ลําปาง.

ฐนิชา พิมพ์วรรณ์. (2553). สมุนไพร 4 ภาค กินเป็น กินสวย กินกัน กินแก้. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ดีการพิมพ์.

บรรณารักษ์ ปันทะรส. (2545). การสำรวจและเก็บรวบรวมสมุนไพรบริเวณบ้านนาขวาง อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิยาลัยเชียงใหม่.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์.

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. (2548). การดูแลสุขภาพแบบพึ่งตนเอง ด้วยยาสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพมหานคร : สามเจริญพาณิชย์.

วงศ์สถิต ฉั่วกุล. (2548). “สมุนไพรพื้นบ้าน อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี”. วารสารเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 12 (2) : 23-25.

มงคล คงเสน, อัจฉรา นิยมเดชา, วาฟาอ์ หาญณรงค์, และพนม สุขจันทร์. (2556). ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นลูกใต้ใบ. Princess of Naradhiwas University Journal ฉบับพิเศษ ปี 2556. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2557, จาก file:///C:/Users/Ding/Downloads/237-643-1-PB%20(1).pdf.ฃ

อรทัย เนียมสุวรรณ, พัชรวลัย ใจสมุทร, เกศริน มณีนูน และสนั่น ศุภธีรสกุล. (2555). “การสำรวจพืชสมุนไพรที่ใช้เพื่อบำรุงกำลัง จากป่าชุมชนบ้านทุ่งสูง อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่”. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 17(2) : 160-166.

ศิริมาลย์ พลาวุฑฒ์, ปกรณ์ ตันสุทธิกานนท์, นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ และวงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล. (2544). “การสำรวจสมุนไพรพื้นบ้าน ป่าชุมชนบ้านทุ่งสูง อำเภออ่าวน้ำลึก จังหวัดกระบี่”.Thai Journal of Pharmacy 8 (2) : 22-40.

Harsha H.V., Hebbar SS, Hegde GR, Shripathi V. (2002). Ethnomedicinal Knowledge of Plants used by Kunabi Tribe of Karnataka in India. Fitoterapia 73 (4) : 281-287.

Ignacimuthu, S. Ayyana, M. and Sivaraman, K.S. (2006). “Ethnobotanical investigations among tribes in Madurai Districts of Tamill Nudu (India)”. Journal of Ethnobiological and Ethnomedicine 2(25) : 1-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-31