แอนโทไซยานิน สารพฤกษเคมีต้านโรคเบาหวาน

ผู้แต่ง

  • ศุภศิษฏ์ อรุณรุ่งสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          โรคไม่ติดต่อ (Non-Communicable Diseases, NCDs) เป็นโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคใดๆ แต่เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมหรือวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคล หรือที่ทราบกันในปัจจุบันว่าโรควิถีคนเมือง ที่สำคัญได้แก่ โรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพฤกษ์อัมพาต (Stroke) โรคหัวใจขาดเลือด (Ischemic Heart Disease, IHD) โรคเบาหวาน (Diabetes mellitus, DM) และ โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension, HT)

          ยารักษาโรคเบาหวานที่ใช้อยู่ทั่วไปต่างมีผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยทั้งสิ้น ขณะที่สารพฤกษเคมีจากพืชผักและผลไม้หลายชนิดที่มีการศึกษาพบว่ามีผลในการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดโดยไม่มีผลข้างเคียงใดๆ โดยเฉพาะแอนโทไซยานิน (Anthocyanins) ที่พบในองุ่นแดง-ม่วง ลูกพรุนและผลไม้ตระกูลเบอรี่ที่มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ  

          สำหรับประเทศไทยแล้วแอนโทไซยานินจากข้าวกล้องไรซ์เบอรี่มีความเหมาะสมในการนำมาพัฒนาเป็นเครื่องดื่มหรืออาหารฟังก์ชัน (Functional foods) ซึ่งยังต้องมีข้อมูลการทดสอบผลที่มีต่อระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อไปในอนาคต ทั้งนี้อาจต้องรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มแปรรูปจากข้าวไรซ์เบอรี่ร่วมกับยารักษาโรคเบาหวาน อีกทั้งต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่าการรับประทานยาแต่เพียงอย่างเดียว

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. จังหวัดที่มีจำนวนการตายของประชากรมากที่สุด 10 ลำดับ พ.ศ.2553-2555. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2558, จาก https://service.nso.go.th/nso/nsopublish/TopTen/01/T0109/th/th.htm.

บุษบา จินดาวิจักษณ์. (2558). ยารักษาโรคเบาหวาน...ใช้อย่างไร. ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558, จาก www.phamacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0027.pdf.

พรทิพย์ วิรัชวงศ์. (2553). อนุมูลอิสระ (free radicals)/สารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants).[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2557, จาก www.gpo.or.th/rdi/html/antioxidants.html.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. Anti-diabetic medication. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2558, จาก https://en.wikipedia.org/wiki/Anti-diabetic_medication.

สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2557). ข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2557, จาก https://www.thaincd.com/information-statistic/non-communicable-diseease-data.php.

อรุษา เชาวนลิขิต. (2554). “การสกัดและวิธีการวิเคราะห์แอนโทไซยานิน.” วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี). (6) : 26-36.

อมรา ทองหงษ์, กมลชนก เทพสิทธา, ภาคภูมิ จงพิริยะอนันต์ และ ธนวันต์ กาบภิรมย์. (2555). รายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พ.ศ.2553. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์. 43 (17) : 257-264.

American Diabetes Association, (2011). “Diagnosis and classification of diabetes mellitus.” Diabetes Care. 34 (suppl 1) : S62-S69.

Atie-Jafari, A., and et al. (2008). “Effects of sour cherry juice on blood glucose and some cardiovascular risk factors improvements in diabetic women-A pilot study.” Nutrition and Food Science. 38 (4) : 355-360.

Getoft, N. (2007). “Anti-aging and aging factors in life : The role of free radicals.” Radiation Physics and Chemistry Journal. (76) : 1577-1586.

Hanhineva, K., and et al. (2010). “Impact of dietary polyphenols on carbohydrate metabolism.” International Journal of Molecular Sciences. (11) : 1365-1402.

Maturos, M., Rungrudee, S. and Surat, B. (2006). “Chemical Constituents of Lagerstroemia loudonii Flower and Their Antioxidant Activities.” NU Science Journal. 2(2) : 231-240.

Sancho, R.A.S., and Pastore, G.M. (2012). “Evaluation of the effects of anthocyanins in type 2 diabetes.” Food Research International. (46) : 378-386.

World Health Organization. (2006). Definition and diagnosis of diabetes mellitus and intermediate hyperglycemia : report of a WHO/IDF consultation. [Online]. Retrieved August 6, 2015, from https://www.who.int/diabetes/publications/Definition/diagnosis/diabetes_new.pdf.

World Health Organization. (2014). Diabetes Fact Sheet No 312. [Online]. Retrieved August 6, 2015, from https://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs312/en/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-31