การพัฒนาสำนักงานศาลปกครองสู่องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง

ผู้แต่ง

  • ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม มหาวิทยาลัยรามคำแหง

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มุ่งค้นหาคำตอบการศึกษาใน 4 ประการ คือ (1) พัฒนาการของสำนักงานศาลปกครองในช่วงเวลาที่ผ่านมา (2) คุณลักษณะร่วมที่จำเป็นในการบริหารจัดการสำนักงานศาลในประเทศไทยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการให้สำนักงานศาลเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง (3) เทียบเคียงพัฒนาการของสำนักงานศาลปกครองในช่วงเวลาที่ผ่านมาและคุณลักษณะร่วมที่จำเป็นในการบริหารจัดการสำนักงานศาลที่มีขีดสมรรถนะสูง และ (4)  เสนอแนะแนวทางการพัฒนาสำนักงานศาลปกครองสู่องค์กรที่มีขีดสมรรถนะสูง โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) และกำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 17 คน อาทิ ประธานศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ และบุคคลที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการหรือรองเลขาธิการสำนักงานศาล รวมทั้งอาจารย์จากมหาวิทยาลัยในระดับอุดมศึกษา เป็นต้น โดยผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า พัฒนาการด้านการบริหารจัดการของสำนักงานศาลปกครองเป็นไปอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยการกำหนดมาตรการรองรับไม่ชัดเจนจึงไม่สามารถส่งผลที่เป็นรูปธรรมได้ ในขณะที่คุณลักษณะร่วมที่พึงมีของสำนักงานศาลในประเทศไทยซึ่งเป็นความคิดเห็นที่สอดคล้องของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) จากการใช้เทคนิคเดลฟายได้บ่งชี้ชัดเจนว่า การพัฒนาที่ต่อเนื่อง การนำสู่การปฏิบัติต้องชัดเจน เป็นรูปธรรม รวมทั้งเน้นการปรับตัว เน้นการมีส่วนร่วม พร้อมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรต้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องทั้งด้านความรู้  ความสามารถ และคุณธรรม รวมทั้งความถูกต้อง เป็นองค์ประกอบสำคัญของความเป็นสำนักงานศาลที่มีขีดสมรรถนะสูงในอนาคตได้

References

ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม. (2558). การพัฒนาสำนักงานศาลปกครองสู่องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2553). ทฤษฏีรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม. เอกสารประกอบการสอน.

พสุ เดชะรินทร์, (2549). รายงานผลการศึกษาพัฒนารูปแบบเบื้องต้นของหน่วยงานภาครัฐ: องค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง สำหรับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาข้าราชการ (ก.พ.ร.). คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ตามโครงการพัฒนาการเป็นองค์การที่มีขีดสมรรถนะสูง. กรุงเทพฯ: วิชั่น พริ้นท์ แอนด์มีเดีย

อุทัย หิรัญโต. (2531). หลักการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

Aldag, Ramon J., and Stearns, Timothy M. (1987). Management. Ohio : South-Western.

Almond, Gabriel A. & Powell, Bingham G., Jr. (1966). Comparative Politics : A Developmental Approach. Canada: Little Brown.

Berman Paul. (1978). "The Study of Macro and Micro Implementation". In Public Policy. 26(2) :157-184.

Daft, Richard L. (2001). Essentials of Organization: Theory and Design. Ohio:South - Western College.

Handy, Charles. (1979). God of Management: The Changing Work of Organizations.(4th ed). New York: Oxford University Press.

Likert, Rensis. (1967). The Human Organization; Its Management and Value.New York: Mc Graw - Hill.

Mintzberge, Henry. (1979). The Structure of Organizations. New Jersy: Prentice Hall.

Thompson, James D. (2010). Organization in Action : Social Science Bases of Administrative Theory. (7th ed). New York: McGraw - Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-03-31