รูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยของคนในชุมชนบ้าน กม. 26 ใน จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • ฟาฎีละห์ มะเระ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

บทคัดย่อ

          การจัดการขยะอย่างไม่เหมาะสมทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ได้แก่  การก่อให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค การเกิดกลิ่นรบกวน การเกิดน้ำเสียจากกองขยะ การเป็นบ่อเกิดอัคคีภัย ตลอดจนการเป็นผลให้สิ้นเปลืองงบประมาณในการกำจัด

          การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสม โดยให้ประชาชนในชุมชนบ้าน กม. 26 ใน ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา มีส่วนร่วมวิธีการวิจัยทำโดยจัดให้มีการสนทนากลุ่มย่อย จำนวน 3 ครั้ง รวมผู้เข้าร่วมสนทนา 25 คน ในช่วงเดือนมีนาคม 2557 ข้อมูลจากการบันทึก นำไปวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหาและจัดหมวดหมู่ประเด็นเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนบ้าน กม. 26 ใน ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา นั้น แบ่งได้ 7 รูปแบบ ได้แก่ 1) การทำธนาคารขยะ  2) การนำขยะไปใช้ประโยชน์ใหม่ 3) การทำปุ๋ยหมัก 4) การประกวดบ้านสวยปลอดขยะ 5) การทำมหกรรมทำความสะอาด 6) การออกกฎหรือข้อบังคับมีการจับ ปรับ เมื่อทิ้งขยะ และ 7) การปลูกจิตสำนึกให้จัดการขยะที่ถูกวิธี

          ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ คือ ควรส่งเสริมและให้ความสำคัญกับการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในทุกขั้นตอน เช่น การเปิดโอกาสให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นในการจัดการมูลฝอยในชุมชน รวมถึงการปลูกฝังให้มีจิตสำนึกต่อการรักษาความสะอาด และควรให้ความสำคัญกับการจัดการขยะภายในชุมชน

References

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2552). คู่มือการบริหารการจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและการเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

กระทรวงแรงงาน. (มปป.). คู่มือการคัดแยกขยะอันตรายในสำนักงาน. กรุงเทพฯ : รำไทยเพรส. โครงการธนาคารขยะ โรงเรียนสุขสันต์สามัคคีวิทยา. (มปป.). ธนาคารขยะ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2558. จาก https://hpe4.anamai.moph.go.th/hpe/data/env/global%20warm/ knowledge/G%20garbage/recycle_bank.pdf.

ไพบูลย์ แจ่มพงษ์. (2555). การใช้ประโยชน์และการจัดการขยะมูลฝอยของครัวเรือนประชาชน ตำบลสวน-หลวง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

ศุภชาติ พุทธรักษ์. (2015). ระบบข้อมูลกลางองค์กรปกครองท้องถิ่น. ข้อมูลชุมชน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2558. จาก https://info.dla.go.th/public/surveyInfo.do?cmd=surveyForm27728&random=1381903521843.

ศิริรัตน์ ชาญไววิทย์. (2558). ขยะมูลฝอย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2558. จาก https://www.sci.buu.ac.th/~chemistry/e_course/303475/solid%20waste.pdf.

องค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะปูเต๊ะ, (2557). ข้อมูลพื้นฐานตำบลตาเนาะปูเต๊ะ. ยะลา: องค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะปูเต๊ะ.

เอนก โมราสุข. (2554). ผลการประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ (HIA) ปี 2553 เรื่องการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน. ส่วนสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลวังแขม จังหวัดกำแพงเพชร.

Mappasere, F., Imbaruddin., A., Akib., H. (2014). "Public Private and Community Partnership in Waste Management Services in Karang Anyar of Makassar City". International Journal of Academic Research. 6(4) : 49-54.

Singh, R.B. and Mal, S., Kala, C.P. (2009). "Community Responses to Mountain Tourism: A Case in Bhyundar Valley, Indian Himalaya". Journal of Mountain Science.(6) : 394-404.

Xu, J. L., Tang, Z.H., Shang, J. C., Zhao, Y. H. (2010). Comprehensive evaluation of municipal garbage disposal in Changchun City by the strategic environmental assessment. Environmental Science and Pollution Research.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-03-31