การสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในชุมชนบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จินตนา อาจสันเที๊ยะ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้เป็นการวิจัยพรรณนาเชิงสำรวจ  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุประกอบด้วยพฤติกรรมสุขภาพด้านการออกกำลังกาย  พฤติกรรมสุขภาพด้านการรับประทานอาหาร พฤติกรรมสุขภาพด้านการปฏิบัติตนในภาวะเจ็บป่วย พฤติกรรมสุขภาพด้านการจัดการความเครียดและเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุกับปัจจัยในด้านเพศ อายุ การศึกษา สถานภาพสมรสและรายได้ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุชุมชนบางคอแหลมจำนวน200 คนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือร้อยละ ( % ) ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มใช้การทดสอบค่าที (t-Test) ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)

          ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังชุมชนบางคอแหลมมีพฤติกรรมสุขภาพในด้านการดูแลจิตวิญญาณและด้านสัมพันธภาพอยู่ในระดับดีมาก (x̄= 8.50 , 8.24 )พฤติกรรมสุขภาพในการดูแล สุขภาพตนเอง การจัดการความเครียด และด้านโภชนาการอยู่ในระดับดี  (x̄= 8.04 , 7.77, 7.28 ) ส่วน พฤติกรรมสุขภาพที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือการดูแลจิตวิญญาณของการมี จิตกุศล คิดดี (x̄max= 8.83) และพฤติกรรมสุขภาพที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ พฤติกรรมการดื่มนมของผู้สูงอายุ (x̄min= 5.69) ส่วนด้านความรู้ในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 44.4 มีความรู้ในระดับดีมาก ร้อยละ 13.2 เมื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเพศชายและหญิง กับความแตกต่างด้านอายุ ระดับการศึกษา และศาสนามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเพศชายกับหญิงกับพฤติกรรมการเกิดโรคเรื้อรังของผู้สูงอายุสถานภาพสมรสของผู้สูงอายุ และรายได้ของผู้สูงอายุไม่มีความแตกต่างกัน  ส่วนระดับการศึกษากับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุพบว่า ระดับการศึกษาต่างกันจะมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้านภาวะโภชนาการต่างกันและมี การจัดการกับความเครียด สัมพันธภาพในครอบครัว แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติดังนั้นการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ควรมีการอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในชุมชนสำหรับการดูแลสุขภาพในด้านการออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การจัดการความเครียดที่เหมาะสม และการปฏิบัติตนเมื่อเจ็บป่วย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย การศึกษาน้อยควรให้องค์การบริหารส่วนตำบล หรือศูนย์บริการสาธารณสุขจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ เพื่อลดการเสื่อมของสุขภาพที่เกิดขึ้นตามวัยและ ส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในสิ่งแวดล้อมของชุมชน

References

จารุวรรณ มานะสุรการ. (2554). ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง : ผลกระทบและการพยาบาล. สงขลา : คณะพยาบาลศาสตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

เพ็ญศรี พงษ์ประภาพันธ์ ประทีป ปัญญาและ สุวิมล แสนเวียงจันทร์. (2553). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาสุขภาพแบบองค์รวมของผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนวัดปุรณาวาส . คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

ภาศินี สุขสถาพรเลิศ . (2557). "บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) กับการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง". วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน. 1(1) : 13-19.

มงคลชัย แก้วเอี่ยม. (2550). การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานตำบลหนองกลางนา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. โปรแกรมสุขศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.

ลัดดา ดำริการเลิศ. (2551). โครงการเพื่อคุณภาพชีวิตสำหรับสังคมสูงอายุ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม2556, จาก https://elibrary.trf.or.th.

วิภาพร สิทธิสาตร์และ สุชาดาสวนนุ่ม. (2550). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน เขตความ รับผิดชอบของ สถานีอนามัยบ้านเสาหิน ตำบลวัดพริก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช สถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

สุรชัย อยู่สาโก. (2550). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองท่าเรือ-พระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. (การพยาบาล). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

McGuire,C.L. (2007). Healthy lifestyle behaviors among older U.S. adults with and without Disabilities. Behavioral Risk Factor Surveillance System, 2003. Retrieved July 2, 2009, from www.cdc.gov/pcd/issues/2007/jan/06_0029.htm.

Ron Z. Goetzel, Ronald J. Ozminkowski, Kenneth R. Pelletier, R. Douglas Metz, & Larry S. Chapman. (2007).The Art of Health Promotion. American Journal of Health Promotion. 22(1): TAHP-1-TAHP-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-03-31