อิทธิพลของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค ความเชื่ออำนาจ ภายในตนเองและการรับรู้ความสามารถของตนที่มีต่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อยไทย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • ปวีณา คำพุกกะ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของความสามารถในการเผชิญและฟันผ่าอุปสรรคความเชื่ออำนาจภายในตนเอง และการรับรู้ความสามารถของตนที่มีต่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จำนวน 385 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สัดส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการเผชิญและฟันผ่าอุปสรรค ความเชื่ออำนาจภายในตนเอง และการรับรู้ความสามารถของตน มีผลต่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการรายย่อยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงของความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ ได้ร้อยละ 41.7

References

กนกวรรณ อบเชย. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง บุคลิกภาพ ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค และความสำเร็จในอาชีพของผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์วิทยศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม ภาควิชาจิตวิทยา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กรรณิการ์ สุขชารี. (2548). ความเชื่ออำนาจควบคุมตนเอง และการรับรู้ความสามารถของตนเองกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัท อีควิปเม้นท์ จำกัด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชามนุษยศาสตร์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ชูศักดิ์ พัฒนะมนตรี. (2553). Avaiable from : URL การรับรู้ความสามารถของตน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554. จาก : https://www.pyramidtennis.com.

ณัชชามน แสวงสุข. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสามารถของตนเอง บุคลิกภาพพฤติกรรมการจัดการ และความสำเร็จในอาชีพของผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรม. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นราเขต ยิ้มสุข. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้ประกอบการกับความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม : กรณีศึกษาธุรกิจไม้ดอกไม้ประดับในอำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชาจิตวิทยา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปฐมกานต์ อินทพันธุ์. (2549). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกอบการของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปลีนา บางกรวย. (2550). ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค บุคลิกการเป็นผู้ประกอบการภูมิความรู้ความชำนาญ และความสำเร็จในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการประเภทที่พักในเขตพื้นที่ประสบภัยสึนามิ พ.ศ. 2547 ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภัครวรรณ ปิ่นแก้ว. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานในเชิงจิตวิทยาความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และผลการปฏิบัติงาน โดยมีบุคลิกภาพแบบเชื่อในปัจจัยควบคุมภายในเป็นตัวแปรกำกับความสัมพันธ์ระหว่างการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานเชิงจิตวิทยากับผลการปฏิบัติงาน. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2551). รายงานการวิจัยเรื่องภาวะผู้นำของผู้ประกอบการ: ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างคุณลักษณะทางจิตวิทยาการทำงานเป็นทีม และความสำเร็จในการประกอบธุรกิจ. ภาควิชาจิตวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ลวิตรา ผิวงาม. (2548). ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ เชาว์อารมณ์ และความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคที่มีผลต่อความสำเร็จในการประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรม ภาควิชาจิตวิทยา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศิริชัย การญจนวาสี. (2550). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2550). พฤติกรรมองค์การ:ทฤษฎีและการประยุกต์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2554). Avaiable from : URL อัตลักษณ์ SMEs ไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2554]. จาก:https://www.122.155.9.68/identity/index.php/northeast.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2553). Avaiable from : URL รายงาสถานการณ์วิสาหกิจรายย่อย ปี 2553. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2554. จาก : https://www.sme.go.th.

Bandura, A. (1977). Social learning theory. Englewood Cliffs, NJ : Prentice Hall.Robinson, J. P. and Shaver, P. R. (1980). Measures of social psychological attitudes.Survey Research Center, Institute for Social Research.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-03-31