การรับรู้สมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการภาษาอังกฤษในรายวิชาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผู้แต่ง

  • กันตพร ยอดใชย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการภาษาอังกฤษ, การรับรู้สมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษ, ความพึงพอใจ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

          การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้สมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการภาษาอังกฤษในรายวิชาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการภาษาอังกฤษในรายวิชาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 165 คน เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสำมะโน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยการ บูรณาการภาษาอังกฤษ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาได้ค่า CVI เท่ากับ 0.94 และ 1 ตามลำดับ และหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.96 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
          ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้สมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษและความพึงพอใจต่อการเรียนโดยการบูรณาการภาษาอังกฤษโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 2.78, S.D. = 0.47; Mean = 3.38, S.D. = 0.48) ตามลำดับ สำหรับการรับรู้สมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจต่อการเรียนโดยการบูรณาการภาษาอังกฤษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.84, p < 0.01) จากผลการวิจัย ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนรู้โดยการบูรณาการภาษาอังกฤษในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต โดยเน้นการพัฒนาภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะอย่างเหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน รวมทั้งพัฒนาสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษโดยเฉพาะการเขียนสรุปเนื้อหาและเนื้อหาการเรียนรู้

References

กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, ธัญญวลัย บุญประสิทธิ์, และสุนทรี ภิญโญมิตร. (2553). ผลการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาพยาบาลโดยบูรณาการกับโครงการบริหารวิชาการ. การพยาบาลและการศึกษา, 3(2), 28-42.

กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, ลัดดา เหลืองรัตนมาศ, ทุติยรัตน์ รื่นเริง, และสมพร รักความสุข. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวง สาธารณสุข, 28(1),127-137.

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2558). การจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ. เอกสารในการประชุมคณะกรรมการประจำคณะพยาบาลศาสตร์. สงขลา: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2562). การพิจารณาประมวลรายวิชา. เอกสารในการประชุมคณะกรรมการประจำคณะพยาบาลศาสตร์. สงขลา: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

จารุลักษณ์ ชัยสุวรรณรักษ์ และอุทัยวรรณ ด่านวิวัฒน์. (2554). การพัฒนาความสามารถด้านการพูดภาษาอังกฤษทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 2(2),318-330.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน:.องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พีรนุช ลาเซอร์, และอรอนงค์ ธรรมจินดา. (2559). การประเมินผลโดยใช้รูปแบบซิปป์ในการจัดการเรียนการสอน รายวิชาภาษาอังกฤษสำหรับวิชาชีพพยาบาล (พบ.292) คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 36(2), 47-64.

เมธาวี ตันวัฒนะพงษ์, และวิสรุตม์ จางศิริกุล. (2557). การศึกษาระดับความกลัวในการสนทนาภาษาอังกฤษของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ครั้งที่ 2: บูรณาการสหวิทยาการงานวิจัยสู่มาตรฐานสากล (น. 427-435). ภูเก็ต, ประเทศไทย.

สุทธานันท์ กัลกะ, และขวัญตา ภูริวิทยาธีระ. (2559). การพัฒนาสมรรถนะภาษาอังกฤษในนักศึกษาพยาบาล. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 22(2), 123-133.

สุภลักษณ์ ธานีรัตน์, กมลรัตน์ เทอร์เนอร์, และสุจิรา วิเชียรรัตน์. (2550). การติดตามสมรรถนะทางการพยาบาลของผู้สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2547 จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี.

สายสมร เฉลยกิตติ, นัยนา วงศ์สายตา, อรวรรณ จุลวงษ์, อภิญญา อินทรรัตน์ และองค์อร ประจันเขตต์. (2560). ผลของโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษในรายวิชากระบวนการพยาบาลต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนพยาบาล. เวชสารแพทย์ทหารบก, 70(2), 81-88.

Best, J. W., & Kahn, J. V. (2006). Research in education. (10th ed.). Boston: Pearson Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-04