ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัย ในการดูแลผู้ป่วยต่อความรู้ การรับรู้ความสามารถของตนเอง ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยต่อความรู้และการรับรู้ความสามารถของตนเอง ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี จำนวน 69 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นตามแนวคิดกระบวนการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนเอง และ คู่มือในการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย โดยที่ได้รับการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน 2) แบบทดสอบความรู้ได้ทดสอบค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรคูเดอร์ริชาดสัน 20 ได้เท่ากับ .91 และ 3) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยค่าความเที่ยงโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .802 การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติทดสอบที (paired t-test )
ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยหลังเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับมาก (x̄= 37.62, S.D. = 2.04) และสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 5.453, p < .01) และค่าคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความสามารถของตนเองในการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยหลังเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.47, S.D. = .512) และสูงกว่าก่อนการเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t =3.346, p < .05) โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะในการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนาขึ้นมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานเมื่อสำเร็จการศึกษาเพื่อส่งเสริมการรับรู้ต่อสถานการณ์ในการปฏิบัติงานที่ คำนึงความปลอดภัยของผู้ป่วยและนำไปสู่การปฏิบัติในวิชาชีพพยาบาลที่มีคุณภาพต่อไป
References
จุฑาวดี กมลพรมงคล. (2554). ความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในผลลัพธ์และทักษะการปฏิเสธการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอลข์องนักเรียนประถมศึกษาชาย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
เฉลิมพรรณ์ เมฆลอย และพร บุญมี. (2553). การบริหารความเสี่ยงวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2558, จาก https://web.bcnpy.ac.th/qa/images/stories/risk_mgmt_manual.pdf.
บรรจง พลไชย. (2554). " ทัศนคติต่อการบริการสุขภาพและการปฏิบัติงานในชุมชนของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม". วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา. 9(3): 59-68.
ปิยวรรณ ลิ้มปัญญาเลิศ. (2557). คุณภาพและความปลอดภัยผู้ป่วย (Patient Safety). เอกสารประกอบการบรรยาย การสัมมนาวิชาการ " QA to Quality of Life" ณ โรงแรมเอเชียแอร์พอร์ต รังสิต ปทุมธานี 17-18 มีนาคม 2557.
พันทิพย์ จอมศรี, อารีวรรณ กลั่นกลิ่น, อวยพร ตัณมุขยกุล ,และวิจิตร ศรีสุพรรณ. (2553)."การรับรู้เกี่ยวกับหลักการพยาบาลของพยาบาลในประเทศไทย". วารสารสภาการพยาบาล. 25(1): 27-37.
พร บุญมีและเฉลิมพรรณ์ เมฆลอย. (2554). "วัฒนธรรมความปลอดภัยในผู้ป่วยและการพัฒนาวัฒนธรรมปลอดภัยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ". วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 4(3): 48-62.
ภารณี นิลกรณ์. (2554). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการบริโภคอาหารโดยการประยุกต์ ทฤษฏีการรับรู้ความสามารถแห่งตนเองร่วมกับ แรงสนับสนุนทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
มะลิวัลย์ เต็งสุจริตกุล, ณัฐวุฒิ มิ่งขวัญ,ธนากร วรรณกุล, ปิยนุช รัตนโกเศศ,ธนาวุฒิ ทือกระโทก, สุดารัตน์ หงส์โชคทวี, สมเดช พินิจสุนทร, มานพ คณะโต. (2557). "อุบัติการณ์และเหตุผลที่รายงาน หรือไม่รายงานอุบัติการณ์ภายหลังได้รับบาดเจ็บจากของมีคมหรือสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วยในนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 ที่ปฏิบัติงานกับผู้ป่วย" . วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2(4) : 61-75.
ยงยุทธ แก้วเต็ม. (2556). " กฎหมายและข้อพึงระวังในการนิเทศนักศึกษาพยาบาล" .วารสารสภาการพยาบาล. 28(3): 5-18.
ลักขณา แพทยานันท์. (2551). "ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อวิชาชีพพยาบาล ความเหนื่อยหน่ายกับการรับรู้ความสามารถของตนเองของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลตำรวจ". วารสารวิทยาลัยพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. 6(2): 23-33.
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี. (2557). รายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2) หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555).
วีณา จีระแพทย์และเกรียงศักดิ์ จีระแพทย์. (2550). การบริหารความปลอดภัยของผู้ป่วย แนวคิดกระบวนการ และแนวปฏิบัติความปลอดภัยทางคลินิก. กรุงเทพมหานคร: บริษัทด่านสุทธาการพิมพ์จำกัด.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(สรพ). (2558). Thai Patient Safety Goal: SIMPEL. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2558, จาก hpp://www.ha.or.th/.
สภาการพยาบาล. (2556). คู่มือการรับรองสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์สำหรับสถาบันการศึกษาที่มีผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. นนทบุรี : จุดทอง จำกัด.
สะแกวัลย์ ผดุงศักดิ์. (2552). การรับรู้วัฒนธรรมความปลอดภัยผู้ป่วยของพยาบาลและอุบัติการณ์ของเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในโรงพยาบาลศูนย์เขตภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สายสมร เฉลยกิตติ, พรนภา คำพราว และ สมพิศ พรหม เดช. (2557). "ความปลอดภัยของผู้ป่วยกับคุณภาพบริการพยาบาล" . วารสารพยาบาลทหารบก. 15(2): 66-70.
โสพิศ สุมานิต, เรณู พุกบุญมี, เสริมศรี สันตติ และศรีสมร ภูมนสกุล. (2554). "ผลของการเสริมสร้างการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการรับรู้สมรรถนะ การมีส่วนร่วมดูแลผู้ป่วยเด็กภาวะวิกฤตของผู้ดูแล". วารสารรามาธิบดีสาร. 17(1): 63-74.
อารีย์ แก้วทวีและจรรยา วงศ์กิจติถาวร. ( 2553). "วัฒนธรรมความปลอดภัยบุคลากรห้องผ่าตัดโรงพยาบาลสงขลานครินทร์". สงขลานครินทร์เวชสาร. 28(3): 117-125.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy : The exercise of control. New York : W.H. Freeman and Company.
Christine E. Sammer, Kristine Lykens, Karan P. Singh, Douglas A. Mains & Nuha A. Lackan. (2010). " What is patient safety culture ? A review of the literature". Journal of Nursing Scholarship : 40(2): 156-165.
Gibbs, G. (1988). Learning by doing : A guide to teaching and learning methods. Oxford: Oxford Further Education Unit.
Pronovast, P., Sexton, B. (2005). "Assessing safety culture : Guidelines and recom- mendations" . Quality Safety Health Care. (14) : 231-233.
Shaw, R., Drever, F., Hughes, H., Osborn, S., & Williams., S. (2005). Adverse events and near miss reporting in the NHS. [Online]. Retrieved May, 10, 2016, from https://qshc.bmj.com/cgi/reprnt14/4/279?maxtoshow=&HITS=10&hits=10&PESULTFORMAT=&fulltext=adverse+events+and+incidence& andorexactfulltext=and&searched=1&FIRSTINDEX=10&sortspec=relevance&resourcetype=HWCIT
The Joint Commission. (2008). Improving America's hospital: The joint commission annual report on quality and safety 2008. [Online]. Retrieved from August 20, 2015 https://www.jointcommission.org/ assets/1/6/2008_Annual_Report.pdf.
The Joint Commission. (2015). Nursing care center : 2015 National patient safety goals. [Online]. Retired May 1, 2015, from https://www.jointcommission.org/standards_information/npsgs.aspx/ .
World Health Organization. (2008). SUMMARY OF THE EVIDENCE ON PATIENT SAFETY:IMPLICATIONS FOR RESEARCH. [Online]. Retrieved June 20, 2016, from https://apps.who.int/iris/bitstream/10665/43874/1/9789241596541_eng.pdf.
World Health Organization. (2013). Patient safety. [Online]. Retrieved May 20, 2015, from https://www.jointcommission.org/standards_information/npsgs.aspx/.
World Health Organization. (2011). Patient safety curriculum guide multi-professional edition. [Online]. Retrieved October 1, 2014, from. https://www.who.int/patientsafety/education/curriculum/tools-download/en/.