สมรรถนะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลเอกชน แห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ กำหนดสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาครโดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique) ผู้เชี่ยวชาญผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารทางการพยาบาลระดับสูง ระดับกลาง และผู้อำนวยการโรงพยาบาล จำนวน 21 คน ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)เครื่องมือชุดแรกเป็นแบบสำรวจแทนการสัมภาษณ์ความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าผู้ป่วยในโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งตรวจสอบความตรงของเนื้อหา (Content validity) ด้วยวิธีการหาค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (Index of Item-objective congruency :IOC) ได้ค่า 0.89 และเครื่องมือชุดที่สองเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณหาค่ามัธยฐาน (Median) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile range)
ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร ประกอบด้วยสมรรถนะ 6 ด้าน ดังนี้ 1) สมรรถนะด้านความสามารถในการกำหนดทิศทางเชิงกลยุทธ์ 2) สมรรถนะด้านความสามารถในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 3) สมรรถนะด้าน การพัฒนาความสามารถเชิงกลยุทธ์ของบุคลากรในหน่วยงาน 4) สมรรถนะด้านความสามารถในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรในหน่วยงานที่มีประสิทธิผล 5) สมรรถนะด้านความสามารถในการรักษาจริยธรรมทางธุรกิจ (ในการทำงาน)และ 6) สมรรถนะด้านความสามารถในการควบคุมองค์กร (หน่วยงาน)ให้สมดุล จากผลการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะคือ ผู้บริหารการพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาคัดสรรผู้ที่จะมาเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยและสามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างแบบประเมินสมรรถนะในการปฏิบัติงานของหัวหน้าหอผู้ป่วยได้รวมทั้งใช้เป็นแนวทางในการจัดโครงการส่งเสริมสมรรถนะ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วย
References
กรองจิตต์ เล็กสมบูรณ์. (2555). องค์ประกอบของสมรรถนะของพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
กัณฑ์กณัฐ สุวรรณรัชภูมิ. (2556). ภาวะผู้นำกลยุทธ์: รูปแบบของผู้นำยุคใหม่. วารสารบริหารการศึกษา มศว. 10(18). [ออนไลน์].สืบค้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2559, จาก https://ejournals.swu.ac.th/index.php/-EAJ/article/view/4137.
จันทร์เพ็ญ พิมพิลา. (2555). การพัฒนาสมรรถนะของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลลำพูน.วิชาการค้นคว้าอิสระ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การฝึกอบรมบุคลากรในองค์กร. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ฐิติมา จำนงเลิศ. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยบรรยากาศองค์กรกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ณัฐยา สินตระการผล. (2554). การจัดการเชิงกลยุทธธ์: ภาคปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ: บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.
ทัศนีย์ จุลอดุง (2552). การศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสารสภาการพยาบาล. 24(4): 43-55.
ทิพย์สุดา ดวงแก้ว. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยการมีส่วนร่วมในงานของพยาบาลประจำการ กับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุขเขตภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2556). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์ (พิมพ์ครั้งที่8). กรุงเทพมหานคร: เซ็นทรัลเอ็กเพรส.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2551). ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปราณี ริ้วทอง. (2557). สมรรถนะของหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง สังกัดกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2544). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธนธัชการพิมพ์ จำกัด.
สมยศ นาวีการ. (2548). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: บรรณกิจ. สำนักวิจัยธุรกิจสายงานบริหารความเสี่ยง ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮาวส์ จำกัด (มหาชน). (2556). ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่13 มิถุนายน 2558, จาก www.lhbank.co.th/.../-8588184995420837808ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2547). ทุนมนุษย์กับการพัฒนาสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพฯ : สำนักงานวิจัยและพัฒนารายงานบุคคล สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
สุนีย์พร แคล้วปลอดทุกข์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยการบริหารผลการปฏิบัติงานของกลุ่มงานการพยาบาลกับประสิทธิผลของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลทั่วไป. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุไรวรรณ พรหมศร. (2550). สมรรถนะที่พึงประสงค์ของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปีพุทธศักราช 2550-2559. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารการพยาบาล, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Davies, B. J. & Davies, B. (2004). Strategic leadership. School Leadership & Management. 24(1): 29-38.
Hitt, M.A., Ireland,R.D. & Hoskisson,R.E. (2007). Strategic Management: Competitiveness and Globalization. 7 ed. Ohio: Thomson South Western.
Ireland, R. D. & Hitt, M. A. (2005). Achieving and maintaining strategic competitiveness in the 21st Century: The role of strategic leadership. Academiy of Management Executive. 19(4): 63-77.
McClelland, D.C. (1999). Identifying Competencies with Behavioral-event interviews. Psychological Science, 9(5). [Online]. Retrieved June 13, 2015, from www.eiconsortium.org/research/business_-case_for_ei.htm.
Nahavandi, A. (2000). The art and science of leadership (2nded.). Upper saddle river, NewJerry Hall: Prentice.