ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการสอบบัญชี ของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สาธิต นกไม้ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย ในปัจจัย1) ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ2) ด้านความเป็นมืออาชีพ 3) ด้านระดับการศึกษา 4) ด้านประสบการณ์การสอบบัญชี 5) ด้านขนาดของกิจการที่ตรวจสอบ 6) ด้านรายได้ต่อเดือน 7) ด้านการเข้าร่วมการฝึกอบรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามโดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทยจำนวน 400 ตัวอย่าง และได้รับแบบสอบถามกลับคืนสมบูรณ์ทั้งสิ้น 383 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 95.75 การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Multiple regression, t-test และ One-way ANOVAในการแปลผลและนำเสนอ ผลการศึกษาพบว่าเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ 36-45 ปี ระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ส่วนใหญ่มีประสบการณ์สอบบัญชีมากกว่า 9 ปี มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 60,000 บาท และขนาดของกิจการที่ตรวจสอบ มีทั้งที่เป็นกิจการขนาดเล็ก (ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 10 ล้านบาท) ขนาดกลาง (ทุนจดทะเบียนมากกว่า 10 ล้าน แต่ไม่เกิน 30 ล้านบาท) และขนาดใหญ่ (ทุนจดทะเบียนมากกว่า 30 ล้านบาทขึ้นไป) โดยมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการสอบบัญชี อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านจรรยาบรรณวิชาชีพ เช่น ความโปร่งใส ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต ความรู้ ความสามารถ และมาตรฐานในการปฏิบัติงาน การรักษาความลับความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการ ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น บุคคล หรือนิติบุคคลที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีปฏิบัติหน้าที่ให้ ความรับผิดชอบต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ  และจรรยาบรรณทั่วไป ด้านความเป็นมืออาชีพ เช่น ความรู้ทางวิชาชีพ ทักษะทางวิชาชีพ ค่านิยม จรรยาบรรณ และทัศนคติทางวิชาชีพ ประสบการณ์เชิงปฏิบัติ การวัดผลขีดความสามารถและสมรรถนะ และการพัฒนาตนทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

          ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า จรรยาบรรณ วิชาชีพ มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อคุณภาพการสอบบัญชี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.000*) ความเป็นมืออาชีพ มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อคุณภาพการสอบบัญชีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p = 0.000*) ความคิดเห็นของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จำแนกตามระดับการศึกษาของผู้ตอบแบบสอบถาม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 (p = 0.58) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีคุณภาพการสอบบัญชีตามประสบการณ์สอบบัญชีที่แตกต่างกัน (p = 0.000*) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่มีขนาดของกิจการที่ตรวจสอบแตกต่างกันมีคุณภาพการสอบบัญชีแตกต่างกัน (p = 0.000*) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่มีรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีคุณภาพการสอบบัญชีแตกต่างกัน (p = 0.000*) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่มีการเข้าร่วมฝึกอบรมแตกต่างกันมีคุณภาพการสอบบัญชีแตกต่างกัน (p = 0.000*)

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2558). ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม2558, จาก https://www.dbd.go.th/main.php?filename=index.

จารุมนศรีสันต์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าวิชาชีพกับคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย.วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิตมหาสารคามมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชนัญฎา สินชื่น. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความสามารถ ด้านการบัญชี ด้านการสอบบัญชีด้านกฎหมาย และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับคุณภาพการสอบบัญชี. วิทยานิพนธ์บัญชี มหาบัณฑิตมหาสารคามมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ตินปรัชญพฤทธิ์. (2546). การบริหารการพัฒนา ความหมาย เนื้อหาและปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนาทิพย์ วัฒนสุชาติ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะทางการสอบบัญชีกับคุณภาพการสอบ บัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิตมหาสารคาม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ.(2555). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS.พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : เอส.อาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.

นันทวรรณ วงค์ไชย. (2552). ผลกระทบของความเป็นมืออาชีพ และจรรยาบรรณวิชาชีพที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิตมหาสารคามมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปะพร ศรีจั่นเพชร. (2549). การสอบบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ทีพีเอ็น เพรส.

ปภาวี สุขมณีและคณะ.(2553). ผลกระทบของความเป็นมืออาชีพที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีในกรมตรวจบัญชีสหกรณ์.รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

พยอม สิงห์เสน่ห์. (2544). การสอบบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ชวนพิมพ์.

เมธากุล เกียรติกระจาย และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2554). ทฤษฎีการบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : ทีพีเอ็น เพลส.

ศศิวิมลศรีเจริญจิตร์. (2548). "Intention Education Standard (IES)". สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. 5(3) :1-25.

สุนิษา ธงจันทร์. (2552). ผลกระทบของคุณลักษณะทางวิชาชีพที่มีต่อคุณภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิตมหาสารคามมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปภัมภ์. (2558). จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2553. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2558, จาก https://www.fap.or.th/-images/column_1359010374/

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปภัมภ์. (2558). พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2558, จาก https://www.fap.or.th/index.php?lay= show&ac=/

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปภัมภ์. (2558). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2558. [ออนไลน์] . สืบค้นเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2558, จากhttps://fap.or.th.a33.readyplanet.net/images/column_1359010350/framework.pdf.

อักษราภรณ์ แว่นแก้ว. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นมืออาชีพของนักบัญชีกับคุณภาพรายงานการเงินของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อมลยา โกไศยกานนท์. (2547). การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพงานสอบบัญชี:กรณีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30