โมเดลจำแนกกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ที่มีผลิตภาพการวิจัยสูงและต่ำ

ผู้แต่ง

  • วิโรจน์ มงคลเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรจำแนกที่ดีในการจำแนกกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่มีผลิตภาพการวิจัยสูงและต่ำ และสร้างโมเดลจำแนกกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่มีผลิตภาพการวิจัยสูงและต่ำ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จำนวน 320 คน ซึ่งได้มาโดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มแบบขั้นตอนผลการวิจัย พบว่า

          1. ตัวแปรจำแนกที่ดีในการจำแนกกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่มีผลิตภาพการวิจัยสูงและต่ำ มี 4 ตัวแปร เรียงตามลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อย ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำวิจัย วัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก ความรู้ในการวิจัย และทักษะในการทำวิจัย

          2. โมเดลจำแนกกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาที่มีผลิตภาพการวิจัยสูงและต่ำ สามารถนำไปคาดคะเนการเป็นสมาชิกของกลุ่มอาจารย์ที่มีผลิตภาพการวิจัยสูงและต่ำได้ถูกต้องร้อยละ 77.30 ได้แก่

         โมเดลจำแนกกลุ่มในรูปคะแนนดิบ

          gif.latex?\hat{D}=-5.66+1.073Xแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำวิจัย-0.562Xวัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก+2.610Xความรู้ในการวิจัย+1.821Xทักษะในการทำวิจัย

          โมเดลจำแนกกลุ่มในรูปคะแนนดิบ

          Z gif.latex?\hat{D}=0.596Zแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการทำวิจัย-0.480Zวัสดุอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก+1.615Zความรู้ในการวิจัย+1.289Zทักษะในการทำวิจัย

References

เกษร กุณาใหม่. (2549). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยาเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและสถิติการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ครองช่าง.

ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2553). ตารางกำหนดขนาดตัวอย่างของ R.V. Krejcieและ D. W. Morgan.[ออนไลน์].สืบค้นเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2557, จาก https://www.watpon.com/table/mogan.pdf.

ชำนาญ ปาณาวงษ์. (2554). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพการวิจัยของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นวลอนงค์ คำนันต์. (2552). ปัจจัยบางประการที่สัมพันธ์กับผลิตภาพการวิจัยของครูผู้มีวิทยฐานะสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นิภา ศรีไพโรจน์. (2541). ปัญหาในการทำวิจัยของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

บุญเลี้ยง ทุมทอง, นงนุช อิทรวงษ์โชติ และเกษมศรี สุระสังข์. (2545). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของข้าราชการครู สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดสุรินทร์. สุรินทร์: สำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดสุรินทร์.

พรพิมาน วงษ์ปัตตา. (2546). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาเขตการศึกษา 9. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พฤกษวรรณ ทองมาก. (2549). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถเชิงปฏิบัติการวิจัยในชั้นเรียนของครูสำนัก งานเขตบางพลัด สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภัทรธิรา ผลงาม. (2544). ความพึงพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษาของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา สถาบันราชภัฎเลย. เลย: สถาบันราชภัฎเลย.

ภิญโญ ลองศรี. (2549). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1-5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. (2557). แผนกลยุทธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ปี พ.ศ. 2557-2561. เชียงใหม่ : กองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ. (2550). รูปแบบการพัฒนาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของคณาจารย์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศรีเวียง เชียงแรง. (2546). การวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการวิจัยของครูประถมศึกษาจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและสถิติการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศุภจักร สุทธิ. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลผลิตงานวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยนเรศวร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา. (2556). รายงานผลการประเมินคุณภาพภานอกรอบสาม ระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. เชียงใหม่: สำนักงานประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

อภิญญา หิรัญวงษ์. (2547). ปัจจัยเชิงสาเหตุของผลิตภาพการวิจัยของนักศึกษาสาขาอาชีวศึกษาในระดับอุดมศึกษา.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อุดมพร พลภูงา. (2550). ผลิตภาพการวิจัยของข้าราชการครูผู้มีวิทยฐานะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Fan, A. C. (1998). "The relationship of self-efficacy and perception of work environment to the research productivity of faculty in selected universities across Taiwan". Dissertation Abstracts International.58(7) : 2528-A.

Gustavo, G. (2008). A mixed-methodstudy of the environmental and personal factors that influence facultyresearch productivity at small-medium, private,doctorate-granting universities.ProQuest Dissertations & Theses.[Online]. Retrieved January 4, 2015, from https:/search.proquest.com/cview/304416690/abstract/AEF8F5BAFE274B7FPQ/1?accountid=32057.

Jones, J. E. (1994). "Factors associated with faculty research productivity in United States and Canadian schools of dentistry". Dissertation Abstracts International. 55(2) : 227-A.

Kahn, J. H. & Scott, N. A. (1997). "Predictors of research productivity and science-related career goals among counseling psychology doctoral students". The Counseling Psychologist. 25(1) :38-67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-06-30