บทบาทพยาบาลกับการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีปัญหาเพศสัมพันธ์
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยเรื้อรัง, ปัญหาด้านเพศสัมพันธ์, บทบาทของพยาบาลบทคัดย่อ
ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้น เพศสัมพันธ์เป็นปัญหาที่พบคู่กับปัญหาทางกายและทางจิตในผู้ป่วยกลุ่มนี้ การสนทนาอย่างเปิดเผยเรื่องเพศไม่เปิดกว้างสำหรับสังคมไทย ทำให้ผู้ป่วยไม่กล้าที่จะขอคำปรึกษาและบุคคลากรทางสุขภาพ ส่วนใหญ่จะมองข้ามปัญหานี้ ความทุกข์จึงเกิดกับผู้ป่วยโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พยาบาลตระหนักรู้ถึงบทบาทที่สำคัญของพยาบาลต่อปัญหาเพศสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคเรื้อรังในการช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมสุขภาพด้านเพศสัมพันธ์ได้อย่างเหมาะสม บทบาทที่สำคัญของพยาบาล 6 บทบาท คือ 1) บทบาทการประเมินปัญหาด้านจิตใจ ด้านความคิดและด้านร่างกาย โดยจะต้องมีทักษะในการใช้คำถามเจาะลึกเพื่อให้ได้ข้อมูลปัญหาเพศสัมพันธ์ จากผู้ป่วย 2) บทบาทบทบาทการให้คำปรึกษา เป็นการให้คำปรึกษาปัญหาสุขภาพทางเพศโดยใช้หลักการให้คำปรึกษา 3) บทบาทการให้ความรู้ เป็นการให้ข้อมูลเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่สำคัญ 4) บทบาทการปรับเปลี่ยนทัศนคติ เป็นการทำความเข้าใจเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ตามศักยภาพของผู้ป่วยที่ควรจะมีได้ 5)บทบาทการดูแลช่วยเหลือปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นการให้การช่วยเหลือตามกรณีของผู้ป่วยที่ประสบปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ 6) บทบาทในการประเมินผลลัพธ์ จากการปฏิบัติงานตามบทบาทดังที่กล่าวมาแล้ว จากนั้นนำผลลัพธ์ที่เป็นข้อมูลเชิงประจักษ์มาพัฒนาให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพดีขึ้น
References
ชนิกา เจริญจิตต์กุล. (2554). "เพศสัมพันธ์ในผู้สูงอายุ". วารสาร มฉก.วิชาการ . 15(2) : 97-109.
ชัชวาล วงค์สารี. (2557). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้แบบเข้มข้นต่อความรู้เรื่องการจำกัดน้ำในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม. วิทยานิพนธ์ พย.ม.(การพยาบาลผู้ใหญ่), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
ชัชวาล วงค์สารี.(2559). การพยาบาลอายุรศาสตร์-ศัลยศาสตร์โรคไตและระบบทางเดินปัสสาวะ. กรุงเทพ : N P Press Limited Partnership.
ชัชวาล วงค์สารี.(2559a). "โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ : บทบาทพยาบาล". วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี : 27 (2) : (อยู่ระหว่างจัดทำเล่ม).
นรลักขณ์ เอื้อกิจและวินิต หลงละเลิง.(2554). "ปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง: การส่งเสริมพฤติกรรมทางเพศในผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย". วารสารพยาบาลสาธารณสุข : 25 (2) : 95-108.
ปราณิศา เสาวคนธ์, วิศาล คันธารัตนกุลและณัฐยา จิตประไพ. (2000). "ความสามารถในการกลับไปทำงานและการมีเพศสัมพันธ์ในผู้ป่วยโรคหัวใจหลังผ่าตัด". เวชศาสตร์ฟื้นฟู : 10(2) : 73-79.
เรมวล นันท์ศุภวัฒน์.(ม.ป.ป.). เอกสารประกอบการบรรยาย : ผลลัพธ์ทางการพยาบาลสู่มาตรฐานและการแข่งขันในระดับสากล. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เอกสารอัดสำเนา.
ศิริพันธุ์ สาสัตย์.(2551). การพยาบาลผู้สูงอายุ : ปัญหาที่พบบ่อยและแนวทางในการดูแล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภร บุษปวนิช, เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์, วิภาวี คงอินทร์.(2549). "เพศสัมพันธ์ของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังที่รักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องและคู่สมรสในภาคใต้". วารสารสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย :12(1):72-80.
สมจิต หนุเจริญกุล และ อรสา พันธ์ภักดี. (2553). การปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง : บูรณาการสู่การปฏิบัติ. สภาการพยาบาล นนทบุรี : จุดทอง การพิมพ์.
อมรา ทองหงษ์, กมลชนก เทพสิทธา และ ภาคภูมิ จงพิริยะอนันต์.(2555).รายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พ.ศ. 2555. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข, เอกสารอัดสำเนา.
Ebersole, P, Hess, P. and Luggen, A.S. (2003). Towards Healthy Ageing: Human Needs and Nursing Response. 6th ed. Philadelphia : Elsevier.
Feldman, H.A., et al. (1998). "Importance and its medical and psychological correlates : Results of the Massachusetts male aging study". The Journal of Urology : 160 (2) : 299- 315.
Hatzimouratidis K, Amar E, Eardley I, Giuliano F, Hatzichristou D and Montorsi F .(2010). "Guidelines on male sexual dysfunction: Erectile dysfunction and premature ejaculation". European Urology. 57(5) : 804-814.
Johnson, B.K. (1996). "Sexuality and aging : a multidimensional perspective". Journal of Gerontological Nursing : 22 (2) : 6-15.
Kongkanand, A. ( 2000). "Prevalence of erectile dysfunction in Thailand. Thai Erectile Dysfunction Epidemiological Study Group". International Journal of Andrology, 23(suppl. 2), 77-80.
Ministry of Health. (2003). Sexual and Reproductive Health: A resource book for New Zealand health care organizations. Wellington: Ministry of Health, New Zealand.
Rosana P. L., Eneida R. R., Ricardo S., S?lvia G., and Maria A. M. (2008) . "Sexual Activity after Myocardial Infarction: Taboo or Lack of Knowledge". Arq Bras Cardiol: 90(3) : 156-159.
Russel, P. (1998). "Sexuality in the lives of older people". Nursing Standard : 3(8) : 49-53.
Stuart, G. W. (2013). Principles and Practice of Psychiatric Nursing. Tenth edition. Missouri: Mosby.
Traeen , B., & Olsen , S.( 2007 ). "Sexual dysfunction and sexual well- being in people with heart disease". Sexuality and heart disease. 22 (2) : 193-208.
Vacanti, L. J., & Caramelli, B. ( 2005). "Age and psychological disorder. Variables associated to post- infarction sexual dysfunction". Arquivos Brasileriros de Cardiologia. 85 (2) : 204-206..
Westlake, C., Dracup, K., Walden, J. A., & Fonarow, G. (1999). "Sexuality of patients with advancedheart failure and their spouses or partners". The Journal of Heart and Lung Transplantation: (18) :1133-1138.
World Health Organization.(2013). Chronic diseases and health promotion. [Online].Available March 31, 2016, from: https://www.who.int/chp/chronic_disease_report/part2_ch1/en/index1.html.