การพัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการรายงานการสัมผัสเลือด และสารคัดหลั่งของบุคลากรการพยาบาล
คำสำคัญ:
การพัฒนา, แอปพลิเคชัน, รายงานอุบัติเหตุ, การสัมผัสเลือด, การสัมผัสสารคัดหลั่งบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชันสำหรับรายงานการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของบุคลากรการพยาบาล การพัฒนาแอปพลิเคชันใช้วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle [SDLC]) กลุ่มตัวอย่างเพื่อประเมินประสิทธิภาพแอปพลิเคชันคือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ที่เคยได้รับอุบัติเหตุจากเข็มทิ่มตำหรือสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่ง จำนวน 41 คน ระยะเวลาศึกษาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบรายงานการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่ง และแบบประเมินความพึงพอใจต่อการใช้แอปพลิเคชัน การตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (Content validity index [CVI]) เท่ากับ 0.93 และการหาค่าความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ 0.76 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า แอปพลิเคชันสำหรับการรายงานการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของบุคลากรการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไปของบุคลากรที่เกิดอุบัติเหตุ และข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งประกอบด้วยสาเหตุและลักษณะการเกิดอุบัติเหตุ ผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อการใช้แอปพลิเคชันในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจด้านรายละเอียดข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุ ด้านรูปแบบการรายงาน ด้านความสะดวกต่อการใช้งาน และด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้แอปพลิเคชัน อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน
ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าแอปพลิเคชันสำหรับการรายงานการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้รายงานการเกิดอุบัติเหตุของบุคลากรการพยาบาลขณะปฏิบัติงานได้
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ. (2548). การดูแลสุขภาพบุคลากรแผนกซักฟอก. จุลสารชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลแห่งประเทศไทย, 15(2), 25-32.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2549). เทคนิคการเขียนเค้าโครงการวิจัย: แนวทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: บริษัทไทเนรมิตกิจ อินเตอร์โปรเกรสซิฟจำกัด.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). การออกแบบและการพัฒนาคอร์สแวร์สำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ศิรินันท์ ยิ้มโกศล. (2560). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนในการป้องกันการติดเชื้อสำหรับผู้ดูแลเด็กโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวปฏิบัติของสถานพยาบาลในการดำเนินการป้องกันการติดเชื้อจากเข็มทิ่มตำ ของมีคม และการสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งจากการปฏิบัติงานของบุคลากร. สืบค้นจาก http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/media/manual/total.PDF
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Abdulmahdi, L. (2014). Implementation of online reporting form for needle stick injury in the accident and emergency department. Retrieved from https://www.lenus.ie/handle/10147/332158
Auta, A., Adewuyi, E. O., Tor-Anyiin, A., Aziz, D., Ogbole, E., Ogbonna, B. O., & Adeloye, D. (2017). Health-care workers’ occupational exposures to body fluids in 21 countries in Africa: systematic review and meta-analysis. Bulletin of The World Health Organization, 95(12), 831-841. doi: 10.2471/BLT.17.195735
Azadi, A., Anoosheh, M., & Delpisheh, A. (2011). Frequency and barriers of underreported needlestick injuries amongst Iranian nurses, a questionnaire survey. Journal of Clinical Nursing, 20(3‐4), 488-493. doi: 10.1111/j.1365-2702.2010.03252.x
Centers for Disease Control and Prevention. [CDC]. (2017). Bloodbrone infectious disease: HIV/AIDS, hepatitisB, hepatitisC. Retrieved from https://www.cdc.gov/niosh/topics/bbp/guidelines.html
Exposure Prevention Information Network. [EPINet]. (2018). EPINet sharp object Injury and blood and body fluid exposure reports by year. Retrieved from https://international safetycenter. org/exposure-reports/
Gershon, R. R., Flanagan, P. A., Karkashian, C., Grimes, M., Wilburn, S., Frerotte, J., ... Pugliese, G. (2000). Health care workers’ experience with postexposure management of bloodborne pathogen exposures: a pilot study. American Journal of Infection Control, 28(6), 421-428. doi: 10.1067/ mic.2000.109907
Lamri, G. (2018). Establishment of an electronic monitoring system for accidents exposing blood to overcome the phenomenon of under-reporting. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/327968385_Mise_en_place_d'un_systeme_de_surveillance_electronique_des_Accidents_Exposants_au_Sang_pour_pallier_le_phenomene_de_la_sous-declaration
Mahmoudi, N., Sepandi, M., Mohammadi, A. S., & Masoumbeigi, H. (2015). Epidemiological aspects of needle stick injuries among nurses in a Military Hospital. Work, 12(5.64), 9-41.
Matsubara, C., Sakisaka, K., Sychareun, V., Phensavanh, A., & Ali, M. (2017). Prevalence and risk factors of needle stick and sharp injury among tertiary hospital workers, Vientiane, Lao PDR. Journal of Occupational Health, 59(6), 581-585. doi: 10.1539/joh.17-0084-FS
Occupational Safety and Health Administration. [OSHA]. (2017). Injury tracking application electronic submission of injury and illness records to OSHA. Retrieved from https://www.osha.gov/injuryreporting/
Vandijck, D. M., Labeau, S. O., & Blot, S. I. (2011). Prevention of needlestick injuries among health care workers. American Journal of Infection Control, 39(4), 347-348.
Vawdrey, D. K., Wilcox, L. G., Collins, S. A., Bakken, S., Feiner, S., Boyer, A., & Restaino, S. W. (2011). A tablet computer application for patients to participate in their hospital care, AMIA Annual Symposium Proceedings (Vol. 2011, p. 1428). American Medical Informatics Association.
Vawdrey, D. K., Wilcox, L. G., Collins, S. A., Bakken, S., Feiner, S., Boyer, A., & Restaino, S. W. (2011, October). A tablet computer application for patients to participate in their hospital care. In R. S. Evans (Chair), AMIA Annual Symposium Proceedings. American Medical Informatics Association, Washington DC, USA.
World Health Organization [WHO]. (2017). Hepatitis. Retrieved from http://www.who.int/hepatitis/news-events/world-hepatitis-summit-2017/en/