ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วิไลลักษณ์ กุศล มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอำนาจทำนายของอายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน แรง จูงใจในการทำงาน และภาวะผู้นำความเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารทางการพยาบาล กับความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพ เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 90 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ Simple random sampling เครื่องมือเป็นแบบสอบถามจำนวน 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แรงจูงใจในการทำงาน 3) ภาวะผู้นำความเปลี่ยนแปลงและ 4) ความผูกพันต่อองค์กร ผ่านการตรวจความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ค่า CVI เท่ากับ 0.980, 1.000, 0.975 ตามลำดับ ส่วนค่า IOC เท่ากับ 0.890, 0.987, 0.880 ตามลำดับและนำมาหาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.958, 0.972, 0.939 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์เพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบขั้นตอน

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ อายุเฉลี่ย 30-39 ปี ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เฉลี่ย 5.45 ปี มีความผูกพันต่อองค์กร มีแรงจูงใจในการทำงาน และมีระดับความคิดเห็นในภาวะผู้นำการเปลี่ยน แปลงของผู้บริหารทางการพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง แรงจูงใจในการทำงานและภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารทางการพยาบาลสามารถทำนายความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพ ได้ร้อยละ 46.6 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ในการนำผลการวิจัยไปใช้ คือ  ผู้บริหารโรงพยาบาลและผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลควรพิจารณาปรับรูปแบบการวางแผนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรในแต่ละหน่วยงานให้สอดคล้องกับการดูแลผู้ป่วย การพัฒนาภาวะผู้นำทางการพยาบาลก่อนการเข้าสู่ตำแหน่ง การบริหารอัตรากำลังและการปรับโครงสร้างอัตราค่าตอบแทนให้เหมาะสมสามารถแข่งขันในตลาดแรงงานซึ่งจะทำให้พยาบาลวิชาชีพมีความผูกพันต่อองค์กรได้มากขึ้น

References

นิตยา ประพันธศิริ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจกับความผูกพันต่อองค์การของพยาบาล วิชาชีพในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ปนัดดา ชวดบัว. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย ฝ่ายการพยาบาลที่มีสมรรถนะสูงกับประสิทธิผลของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลเอกชน. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชชาภา พนาสถิตย์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อความยึดมั่นผูกพันในองค์การของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภรดี สีหบุตร. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคลและความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การกับประสิทธิผลขององค์การ ภาวะการรับรู้ของผู้ให้บริการ สถานพยาบาล สังกัดกองบัญชาการกองทัพไทย. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ยุวดี เกตุสัมพันธ์. (2552). การบริหารทางการพยาบาล การจัดการคุณภาพทางการพยาบาล. นนทบุรี : ศิริยนาการพิมพ์.

รุจิรา พักต์ฉวี. (2557). "ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และทำนายความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสาธารณสุข จ.จันทบุรี". วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเล้า. 25(1): 64-77.

วรรณี วิริยะกังสานนท์. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ศิรินทร์ทิพย์ บุญด้วยลาน. (2557). "ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำการเปลี่ยน แปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย การทำงานเป็นทีม กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพในศูนย์การแพทย์ สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี".วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 28(3) : 56-69.

สิริมา ทันเจริญ. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพโรงพยาบาล การเป็นโรงพยาบาลดึงดูดใจ กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณี โกเมศ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์การของอาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Allen, N. J., & Meyer, J. P. (1990). "Organizational Socialization tactics: A longitudinal analysis of links to newcomers' commitment and role orientation". Academy of Management Journal. (33) : 847-858.

Avolio, B. J., Bass, B. M., &Jung, D. I. (1999). " Re-examining the component of transformational and transactional leadership using the Multifactor Leadership Questionnaire". Journal of Occupational and Organizational Psychology. 72(4) : 441-462.

Herzberg, Frederick, Mausner, Bernard, Snyderman, Barbara B. (1959). The motivation to work (2 ed). New York. John Wiley.

Gallup Consulting. (2010). The State of the Global Workplace: A worldwide study of employee engagement and wellbeing. Retrieved 08-10-2015 from https://www.gallup.com/Search/Default.aspx?q=disengaged+worker&s=&i=&t=&p=4&a=0.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-09-30