ผลการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลโดยใช้แนวคิดความเป็นหุ้นส่วนต่อการรับรู้ คุณค่าบทบาทมารดาในมารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคหอบหืด

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ ทับทิม มหาวิทยาลัยบูรพา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาล โดยใช้แนวคิดความเป็นหุ้นส่วนต่อการรับรู้คุณค่าบทบาทมารดา กลุ่มตัวอย่างคือมารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคหอบหืดที่รับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 20 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมอย่างละ 10 ราย  กลุ่มทดลองได้รับการปฏิบัติตามรูปแบบการบริการการพยาบาลโดยผู้วิจัยออกแบบให้พยาบาลวิชาชีพร่วมมือกับมารดาเป็นรายบุคคลโดยใช้แนวคิดความเป็นหุ้นส่วน ใช้ระยะเวลารายละ 3 วัน รวมระยะในการทดลองทั้งสิ้น 6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการปฏิบัติการพยาบาลตามปกติ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้คุณค่าบทบาทมารดา ในมารดาที่มีบุตรป่วยด้วยโรคหอบหืด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Mann-Whitney U test และ Wilcoxon signed ranks test ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้คุณค่าบทบาทมารดาสูงกว่ากลุ่มควบคุมทั้งโดยรวมและรายด้าน และคะแนนเฉลี่ยการรับรู้คุณค่าบทบาทมารดาของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ทั้งโดยรวมและ รายด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าควรขยายขนาดของกลุ่มตัวอย่าง และควรขยายการใช้รูปแบบแนวคิดความเป็นหุ้นส่วน เพื่อนำไปใช้แก่มารดาที่มีบุตรที่มีโรคเรื้อรังอื่นๆ และหัวหน้าหอผู้ป่วยควรจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้พยาบาลสามารถเปิดโอกาสให้มารดามีส่วนร่วมในการดูแลบุตร

References

แขนภา รัตนพิบูลย์, ชื่นฤดี คงศักดิ์ตระกูล และอัจฉริยา ปทุมวัน. (2553). "การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการดูแลเด็กป่วยขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล". รามาธิบดีพยาบาลสาร. 17(2) : 232-247.

ชนิกานต์ ชาญเดช, เสริมศรี สันตติ และจริยา วิทยะศุภร. (2558). "ปัจจัยทำนายความสามารถของมารดาในการดูแลบุตรวัยขวบปีแรกในเขตกรุงเทพมหานคร". รามาธิบดีพยาบาลสาร, 21(1) : 21-37.

ณัฐิกา ปฐมอารีย์. (2551). การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดในหออภิบาลทารกแรกเกิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดรุณี ท่วมเพ็ชร, สุธิศา ล่ามช้าง และศรีพรรณ กันธวัง. (2554). "ผลของกลุ่มสนับสนุนต่อการมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กของบิดามารดาเด็กที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม". พยาบาลสาร, 38(3) : 61-72.

นภาพร วิริยะตั้งสกุล. (2556). ผลการใช้รูปแบบการบริการการพยาบาลที่บูรณาการทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และแนวคิดความร่วมมือต่อการรับรู้คุณค่าบทบาทของมารดาในการดูแลบุตรที่ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน. วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์.

นารถฤดี ศิริไทย. (2553). ผลของสื่อแอนิเมชั่นต่อความรู้และพฤติกรรมของผู้ปกครองเด็กวัยก่อนเรียนโรคหอบหืด. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพเด็ก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นิตยา อิสรโชติ. (2557). ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กป่วยต่อความเครียดของมารดาเด็กป่วย หอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญา พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5 . กรุงเทพฯ : ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย.

พรทิพย์ ศิริบูรณ์พิพัฒนา. (2555). การพยาบาลเด็ก. . นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนก.

พิมพ์ศิริ พรหมใจษา, กรรณิการ์ กันธะรักษา และจันทรรัตน์ เจริญสันติ. (2557). "ผลของการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมต่อบทบาทการเป็นมารดาในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น". พยาบาลสาร. 41(2) : 97-106.

พีระยุทธ สานุกูล และเพียงจิตต์ ธารไพรสาณฑ์. (2551). "ผลการตั้งครรภ์และการคลอดของวัยรุ่นในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 6". ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 3(1) : 97-102.

เพ็ญนภา ภักดีวงศ์. (2548). การพัฒนาโมเดลความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาของทฤษฎีเมอร์เซอร์ในมารดาไทยติดเชื้อ เอช ไอ วี. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ภาศินี สุขสถาพรเลิศ. (2555). ผลลัพธ์ของโปรแกรมการทำหน้าที่ของครอบครัวของมารดาวัยรุ่นหลังคลอด. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

มณีสร ตุลาบุตร, สุธิศา ล่ามช้าง และพัชราภรณ์ อารีย์. (2556). "การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลเด็กเจ็บป่วยเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง". พยาบาลสาร. 40(1) : 102-114.

มัตติกา เทพยานต์. (2553). ผลการใช้รูปแบบการพยาบาลแบบเจ้าของไข้ที่บูรณาการแนวคิดครอบครัวเป็นศูนย์กลางและทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเองของโอเร็มต่อการรับรู้คุณค่าบทบาทมารดาของมารดาผู้ป่วยเด็กโรคหอบหืด. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเซนต์หลุยส์.

ราตรี คงเจริญ. (2553). ปัจจัยด้านการเป็นมารดากับการแสดงบทบาทมารดาของวัยรุ่นหลังคลอด ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย. (2555). ตำราการพยาบาลเด็กเล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยศรวีร์ กีรติภควัต และประนอม รอดคำดี. (2553). "ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลบุตรของมารดาในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรคปอดอักเสบในบุตรวัยหัดเดิน". วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 22(1-3) : 82-93

ศิริวรรณ หุ่นท่าไม้. (2552). ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อความสามารถของมารดาในการดูแลบุตรโรคหอบหืด. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2554). การพัฒนาระบบการดูแลโรคหืด. เพชรบูรณ์ : บูเลติน.

สถิติโรงพยาบาลมหาชัย. (2558). เวชระเบียนและงานสถิติโรงพยาบาลมหาชัย. ม.ป.ท.

สุธาภินันท์ พรเลิศทวีกุล, ทัศนี ประสบกิตติคุณ และพรรณรัตน์ แสงเพิ่ม. (2556). "ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดที่รับการรักษาในโรงพยาบาล". วารสารพยาบาลศาสตร์. 31(1) : 59-69.

สุภาวดี เครือโชติกุล และสุมิตตา สว่างสุข. (2552). "เปรียบเทียบความเครียดในบทบาทระหว่างมารดาวัยรุ่นกับมารดาผู้ใหญ่". วารสารเกื้อการุณย์. 16(2) : 75-89.

สุมัจฉรา มานะชีวกุล, ทัศนี ประสบกิตติคุณ และพรรณรัตน์ แสงเพิ่ม. (2555). "ปัจจัยทำนายความเครียดของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรวัยขวบปีแรก". วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 30(1) : 53-62

Brown, E. S., Gan, V., Jeffress, J., Mullen-Gingrich, K., Khan, D. A., Wood, B. L., et al.(2006). "Psychiatric symptomatology and disorders in caregivers of children with asthma. Pediatrics". 118(6) : 1715-1720

urns, N., Grove, S. K. & Gray, J.R. (2013) . The practice of nursing research: Conduct, Critique, and Utilization (7 ed.). Missouri : Elsevier Saunders.

Englund, A. D., Rydstrom, I., & Norberg, A. (2001). "Being the parent of a child with asthma". Journal of Pediatric Nursing. 27(4) : 365-375.

Lai, K. Y., Lam, K. K. L., Lam, S. C., Tang, A .C. W., Yeung, L. K. K., Wong, M. C. S., et al. (2005). "Exploring parents' understanding and concerns on self-management of childhood asthma". Hong Kong Practitioner, 27(5) : 172-178.

Mercer, R.T. (1995). Maternal Role Attainment-Becoming a Mother. In Tomey, A.M. & Alligood, M.R. Nursing theorists and their work (7 ed.). (pp. 581-598). Missouri : Mosby.

National Institute of Health, National Heart Lung and Blood Institute.(1997). "Guideline for the diagnosis and management of asthma". Pediatric Asthma Allergy & Immunology. 11(3) : 15-97.

Rand, C. S., & Butz, A. M. (2003) . "Psychosocial factors in chronic asthma. In K. B. Weiss, S. D. Buist, & S. D. Sullivan (Ed.)". Asthma's impact on society. The social and Economic Burden : 181-217.

Rose, D., & Garwick, A. (2003). "Urban American Indian family caregivers' perceptions of barriers to management of childhood asthma". Journal of Pediatric Nursing. 18 (1) :2-11.

Svavarsdottir, E. K., & Rayens, M. K. (2005). "Hardiness in families of young children withAsthma". Journal of Advanced Nursing. 50(4) : 381-390.

Sullivan, Toni J. (1998). Collaboration: A health care Imperative. New York : The McGraw Hill.

Wright, R. J., Mitchell, H., Visness, C. M., Cohen, H., Stout, J., Evans, R., et al.(2004)."Community violence and asthma morbidity: The inner-city asthma study". American Journal of Public Health. 94(4) : 625-632.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-09-30