สถานภาพของคนกลุ่มน้อยในจังหวัดชายแดนภาคใต้: กรณีศึกษาชุมชนชาวคริสต์ในจังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • ศันสนีย์ จันทร์อานุภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความเป็นมาและสถานภาพของชุมชนชาวคริสต์ในจังหวัดปัตตานี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม ผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ ผู้นำองค์กรศาสนาคริสต์ในจังหวัดปัตตานี คริสตศาสนิกชนปัตตานี บุคลากรในหน่วยงานราชการ ท้องถิ่นและเอกชน ตลอดจนประชากรต่างวัฒนธรรมในจังหวัดปัตตานี จำนวนรวม 40 คน  นอกจากนั้นผู้วิจัยยังได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมการประชุมสำคัญต่างๆ ของชุมชนชาวคริสต์เพื่อปฏิสัมพันธ์กับประชากรในวงกว้างและเพื่อตรวจสอบความแม่นตรงและความเชื่อถือได้ของข้อมูลผลการวิจัยพบว่าชุมชนชาวคริสต์ปัตตานีมีประวัติความเป็นมายาวนานเกือบหนึ่งร้อยปี ปัจจุบันเป็นชุมชนขนาดเล็กที่ดำรงอยู่ท่ามกลางบริบททางสังคมซึ่งมีความแตกต่างหลากหลาย  ทางวัฒนธรรม จากเดิมแทบไม่ถูกนับรวมให้เป็นหุ้นส่วนหนึ่งทางวัฒนธรรม แต่สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นำมาซึ่งการจัดระเบียบใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการมีตัวแทนของศาสนาอื่น  "ชุมชนชาวคริสต์" จึงได้รับการสนับสนุนจากทางราชการให้เปิดเผยตนในพื้นที่สาธารณะมากขึ้น ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า รัฐบาลควรพิจารณาแนวทางที่เหมาะสม สำหรับการแก้ไข ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบทบาทและอำนาจหน้าที่ทางกฎหมายขององค์กรศาสนาคริสต์ในประเทศไทย เพื่อเป็นหลักประกันเสรีภาพทางศาสนา ให้องค์กรศาสนาคริสต์ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและท้องถิ่น

References

จอร์จ บรัดเลย์ แมคฟาร์แลนด์. (2555). หนึ่งศตวรรษในสยาม ค.ศ.1828-ค.ศ.1928. กรุงเทพฯ: บริษัทอินเตอร์พับลิชชิ่ง เอ็นเตอร์ไพรส์จำกัด.

พรสรร สิงห์ชัย. (2556). บทบาทและอำนาจหน้าที่ทางกฎหมายขององค์กรศาสนาคริสต์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริจิต สุนันต๊ะ. (2556). "สถานการณ์โต้แย้งเรื่องพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย". วารสารภาษาและวัฒนธรรม. 32(1) : 1-30.

ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2553). ที่ฝังศพวิลันดา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2558, จาก https://www.m-culture.in.th/moc_new/album/5875/ที่ฝังศพวิลันดา-ฮอลันดา/.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2553). สำมะโนประชากรและเคหะประจำปีพ.ศ.2553

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. (ม.ป.ป.). คณะซาเลเซียน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2558, จาก https://haab.catholic.or.th/priest/priestfr/sdb.html

อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. (ม.ป.ป.). พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชกับผู้แทนสมเด็จพระสันตปาปา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2558, จาก https://haab.catholic.or.th/photo/rama9.html

Brian, G. (2012). "Rising Restrictions on Religion". International Journal for Religious Freedom. 5(1), 20.

OMF International. (ม.ป.ป.). Thailand Profile. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2558, จาก https://omf.org/asia/thailand/thailand-profile/

Smith, A. (1982). Siamese Gold: The Church in Thailand. Bangkok: Kanok Bannasan (OMF Publishers).

Wells, K. (1958). History of Protestant Work in Thailand 1828-1958. Published by the Church of Christ in Thailand.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-09-30