ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในองค์กรพยาบาล โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งใน เขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วิมนต์ ต้นทุน มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงาน การทำงานเป็นทีม และความสามารถทำนายความสุขในการทำงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้การทำงานเป็นทีมเป็น   ตัวทำนาย กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 1 ปี จำนวน 96 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามการทำงานเป็นทีม 2) แบบสอบถามความสุขในการทำงานที่ผู้วิจัยได้ประยุกต์จากปานจิตต์ กลันทกพันธ์ ซึ่งใช้แนวคิดของแมเนี่ยน (Manion) และดวงพร จันทรศรี ตามแนวคิดของโรมิก (Romig) ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา 0.98 และ 0.96 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค 0.974 และ 0.987 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า 1) พยาบาลวิชาชีพมีการทำงานเป็นทีมระดับสูง (x̄= 3.62, S.D. = 0.57) มีความสุขในการทำงานระดับสูง (x̄= 3.73, S.D. = 0.50) 2) การทำงานเป็นทีมสามารถทำนายความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 40.30 ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะในการนำไปใช้ว่า ผู้บริหารทางการพยาบาลควรกำหนดนโยบายส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพทุกคนมีความสุขในการทำงาน โดยส่งเสริมการทำงานเป็นทีมในโรงพยาบาล

References

กัลยา ศุทธกิจไพบูลย์. (2556). ผลของรูปแบบการพัฒนาการทำงานเป็นทีมทางการพยาบาลตามแนวคิดของโรมิกต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศรีสังวรสุโขทัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จงจิต เลิศวิบูลย์มงคล. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลการได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จรรยา ดาสา. (2552). ความสุขในที่ทํางาน (Happy workplace). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2558, จาก https://www.halalscience.org.

ดวงพร จันทรศรี. (2555). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณค่าในตน การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจ และการทำงานเป็นทีมกับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์ภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญใจ ศรีสถิตนรากรู. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย.

บุษบา สังข์ทอง. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความปลอดภัย การทำงานเป็นทีมความอิสระในงานกับคุณภาพบริการของหอผู้ป่วยวิกฤตตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ หอผู้ป่วยวิกฤตโรงพยาบาลเอกชน กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปานจิตต์ กลันทกพันธ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ประคอง กรรณสูต. (2542) สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. ด่านสุธาการพิมพ์.

ไพจิตร ไชยฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชนในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิณีย์ สังข์รัศมี. (2558). การทำงานเป็นทีมที่ดี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2558, จาก https://www.pmsnurse.com.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2558, จาก https://www.opdc.go.th/uploads/files/law/plan_10.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2558, จาก https://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p11/plan11.pdf.

อภิชัย มงคล. (2552). รายงานการวิจัย เรื่อง การพัฒนาและทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย. นนทบุรี : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ บางแค. (2558). Crimate survey 2015. ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร

Gavin, J.H., & Mason, R.O. (2004). "The virtuous organization: The value of happiness in the workplace". Organization Dynamics. 33(1) : 379-392.

Manion, J. (2003). "Joy at work: Creating a positive workplace". The Journal of Nursing Administration. 33(12) : 652-655.

________. (2005). The business case for happiness. Advance RN formation.35(12) : 23-24.

Page, K. (2005). Subjective wellbeing in the workplace. Faculty of Health and Behavioral Sciences. School of Psychology, Deakin University.

Romig, DA. (1996). A Breakthrough teamwork : Outstanding result using structured teamwork. Chicago, IL: Irwin.

Warr, P. (2007). Work, happiness and unhappiness. Lawrence : Eribaum Associates.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-31