องค์ประกอบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พัชราภรณ์ ดวงชื่น มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย 2) ยืนยันองค์ประกอบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยโดยประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ โรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยจำนวน 27 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยจำนวน 25 โรงเรียนผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้จัดการโรงเรียน ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าฝ่าย หัวหน้างาน          หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ และบุคลากรครูรวมทั้งสิ้น 250 คน การวิจัยประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์ตัวแปรองค์ประกอบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักร   ในประเทศไทยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในขั้นตอนนี้ คือ การวิเคราะห์เอกสาร และการสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย เครื่องมือสำหรับรวบรวมข้อมูลในขั้นตอนนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละค่ามัชฌิมเลขคณิตค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ตัวประกอบประเภทการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์กลยุทธ์การบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยวิธีสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship)

         ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) การวิเคราะห์ระบบการบริหารจัดการ 2) การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) การกำหนดทิศทางการบริหารจัดการ 4) การวางแผนและพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการ 5) การบริหารจัดการงบประมาณ และ 6) การกำหนดกลยุทธ์การบริหารจัดการ 2. องค์ประกอบการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยมีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ มีความเป็นประโยชน์ และมีความถูกต้องครอบคลุม สอดคล้องกับทฤษฏี หลักการ แนวคิดตามกรอบการวิจัย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ว่า สภาคริสตจักรในประเทศไทย ควรนำผลการวิจัยไปใช้ประกอบการตัดสินใจระดับนโยบาย และผู้บริหารโรงเรียนสังกัด   มูลนิธิแห่งคริสตจักรในประเทศไทย ควรนำผลการวิจัยไปประยุกต์ในการบริหารจัดการโรงเรียน

               

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

จินตนา บุญบงการ และณัฎฐพันธ์ เขจรนันท์. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

จิตติ รัศมีธรรมโชติ. (2555). การวางแผนกลยุทธ์แบบง่ายๆ ที่ปฎิบัติได้จริง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ตะวัน สื่อกระแสร์. (2557). ยุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นเลิศ. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พิบูล ทีปะปาล. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : อมรการพิมพ์.

พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์. (2553). TQM กับการพัฒนาคุณภาพโดยรวมของสถาบันอุดมศึกษาไทย กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

พวงรัตน์ ทวีรัรัตน์. (2543). วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 8.กรุงเทพฯ : สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 12-18 กุมภาพันธ์ 2559. (2559). ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2559, [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559, จาก https://www.moe.tu.go.th>more>news>detail.

สภาคริสตจักรในประเทศไทย. (2015). นโยบายและยุทธศาสตร์สภาคริสตจักรในประเทศไทย ค.ศ.2015-2018. กรุงเทพฯ : สภาคริสตจักรในประเทศไทย.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2557). ประกาศสถิติจำนวนประชากร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558, จาก https://www.dopa.go.th.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2551) "การบริหารงานสู่ความเป็นเลิศ". ข่าวนักบริหารกรกฎาคม-กันยายน 2551 : 17-22.

อธิปัตย์ คลี่สุนทร. (2554). ยุทธศาสตร์การบริหารในยุคโลกาภิวัตน์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2554, จาก https://www.moe.go.th/main2/article/article_atipat/cyber_manage.htm.

อนิวัช แก้วจำนง. (2552). การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุทุมพร พัชรารัตน์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์และนโยบายธุรกิจ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Baldrige National Quality Program. (2011). Malcolm BaldrigeNational Quality : Education Criteria for Performance Excellence. Gaitherburrg: National Institute of Standard and Technology.

Certo, S. C. & Peter, J.P. (2011). Strategic management : Concepts and cases. New York : McGraw-Hill.

Dubrin,Andrew J. (2000). Essentials of Management. New York : South-Western College Publishing.

ounds, Greg. (2010). Beyond Total Quality Mangement : Toward The Baldrige Criteria : Non Academic Swevice Units in a Large University. Dissertation, Ph.D.University of Nebraska-Lincoln.

Gulick, Luther and L. Urwick. (1973). Paper on the Science of Administration. New Jersey : Clifton.

Kast, Fremont E. and Jame E Rosenzweig. (1988). Organization and Management: A systems and Contingency Approach. New York : McGraw-Hill Book Company.

Koontz, H. and H.Weihrich. (1990). Essentials of Management, 5 ed. New York : McGrae-Hill.

Kreitner, Robert. (1998). Management. Houghton : Miffin Company.

Moo,Gregory. (2012). Toward a Synthesis of Strategic Plannig and Organization Development. University of Wisconsin.

Shipe, Patrick. (2011). Quality Management to Excellence. Dissertation, Ph.D. West Michigan University.

Princeton University. "WordNet 1.7.1 Copyright@ 2012". (2012). Princeton : Princeton University.

Webster. (2008). Webster's Twentieth Century Dictionary of The English Language in Abridged. 2 ed. New York : Merriam-Webster.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-31