ความต้องการของครอบครัวผู้ป่วยระยะวิกฤตที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตบริการสุขภาพที่ 7
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของครอบครัวผู้ป่วยระยะวิกฤตที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก ของโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ในเขตบริการสุขภาพที่ 7 จำนวน 186 ราย ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2558 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามความต้องการของครอบครัวผู้ป่วยระยะวิกฤต ซึ่งผู้วิจัยพัฒนามาจากทฤษฎีความต้องการของกากลิโอเน (1984) และดัดแปลงมาจากเครื่องมือสำรวจความต้องการของครอบครัวผู้ป่วยระยะวิกฤต (Critical Care Family Need Inventory) ของมอลเตอร์ (1979) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่าความต้องการของครอบครัวผู้ป่วยระยะวิกฤตที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านข้อมูลข่าวสารที่ต้องการมากที่สุด คือ เจ้าหน้าที่ แพทย์ พยาบาลใช้คำพูดที่สุภาพด้วยท่าทีเป็นมิตร (x̄= 3.72, S.D. = .55) ส่วนความต้องการที่น้อยที่สุด คือ หมายเลขโทรศัพท์ของหอผู้ป่วย (x̄= 3.05, S.D. = .92) 2) ด้านร่างกายที่ต้องการมากที่สุด คือ ที่พักที่เป็นสัดส่วน สำหรับญาติในขณะรอเยี่ยม (x̄= 3.06, S.D. = .95) ส่วนความต้องการที่น้อยที่สุด คือ บริการโทรศัพท์สาธารณะใกล้ที่พักรอเยี่ยม (x̄= 2.69, S.D. = 1.14) 3) ด้านจิตสังคมที่ต้องการมากที่สุด คือ ความมั่นใจจากทีมสุขภาพว่าผู้ป่วยได้รับการดูแลดีที่สุด (x̄= 3.70, S.D. = .56) ส่วนความต้องการที่น้อยที่สุด คือ แหล่งข้อมูลหรือการให้คำแนะนำเมื่อมีปัญหาทางด้านการเงิน (x̄= 2.97, S.D. = .97) และ 4) ด้านจิตวิญญาณที่ต้องการมากที่สุด คือ คาดหวังอาการผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น (x̄= 3.77, S.D. = .54) ส่วนความต้องการที่น้อยที่สุด คือ อนุญาตให้พระหรือผู้นำทางศาสนาสามารถประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ/ศาสนาในหอผู้ป่วย (x̄= 2.91, S.D. = .98) ผลการวิจัยสามารถนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความต้องการของครอบครัวผู้ป่วยระยะวิกฤตที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนัก เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการตอบสนองความต้องการให้สอดคล้องกับความต้องการของครอบครัวผู้ป่วยได้ใกล้เคียงที่สุดและนำมาสร้างเป็นมาตรฐานการพยาบาลในการดูแลครอบครัวผู้ป่วยระยะวิกฤต ที่มีประสิทธิภาพต่อไป
References
กันทิมา มณีฉาย, ธรขวัญ ธีระวัฒนประสิทธิ์และธิติมา ปาลวงศ์. (2552). ความต้องการข้อมูลด้านการรักษาพยาบาลและการอำนวยความสะดวกของญาติและมารดาที่บุตรป่วยในหอผู้ป่วยหนักกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี. รายงานวิจัย หอผู้ป่วยหนักเวชกรรม โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี.
จารุวรรณ บุญรัตน์ และสุพัตรา อุปนิสากร. (2555). "การดูแลด้านจิตวิญญาณในผู้ป่วยวิกฤตและครอบครัวในไอซียู : ประสบการณ์ทางการพยาบาล". วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 33(3): 37-50.
จุฑามาศ ปัญจะวิสุทธิ์, สุภาภรณ์ ด้วงแพง, สมพร ศิริเต็มกุลและวิไลวรรณ เนื่อง ณ สุวรรณ.(2536). “การสำรวจความต้องการของญาติผู้ป่วยในภาวะวิกฤต”. ขอนแก่นเวชสาร. 17(2): 33-43.
ฐิติมาภรณ์ พรหมรอด, สุปรีดา มั่นคง และยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม. (2554). การได้รับการตอบสนองความต้องการและการเผชิญความเครียดของญาติก่อนย้ายผู้ป่วยออกจากหอผู้ป่วยวิกฤต. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปฐมวดี สิงห์ดง และชนกพร จิตปัญญา. (2554). "การดูแลครอบครัวของผู้ป่วยวิกฤต : มุมมองจากญาติผู้ป่วย". วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร. 3(3) : 17-32.
รุ่งนภา เขียวชะอ่ำ, และคณะ (2556). "ความต้องการข้อมูลของญาติผู้ป่วยที่หอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลพระปกเกล้า".วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 30(1) : 24-34.
วิจิตรา กุสุมภ์. (2551). Critical Care Nursing : A Holistic Approach. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สหประชาพาณิชย์.
วิษณุ ธรรมลิขิตกุล. (2540). กระบวนการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์. กรุงเทพฯ : เรือนแก้วการพิมพ์.
ศรีรัตน์ อินเกตุ, เกษิณี เพชรศรี และโขมพักตร์ มณีวัต. (2552). "ความต้องการและการมีส่วนร่วมของญาติผู้ดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดสมอง". สงขลานครินทร์เวชสาร. 27(1) : 74-80.
สมพร แจ้วจิรา. (2553). ความต้องการการพยาบาลและการพยาบาลที่ได้รับของสมาชิกครอบครัวขณะรอผู้ป่วยผ่าตัดใหญ่. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ และชวนพิศ ทำนอง. (2551). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤต. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.
Bizek, K.S. (2005). "The patient's experience with critical illness". Critical Care Nursing : A holistic approach. (pp.12-26). 8 ed. Philadelphia : Lippincott Williams & Wilkins.
Davidson, J.E. (2009). Family-Centered Care : Meeting the Needs of Patient' Families and Helping Families Adapt to Critical Illness. Critical Care Nurse, (29) : 28-34.
Freitas, K. S., Kimura, M and Ferreira K. (2007). "Family member's needs at intensive care units : comparative analysis between a public and a private hospital".Janeiro-fevereiro. 15(1) : 84-92.
Gaglione, K.M. (1984). "Assessing and intervention with families of CCU patients". Nursing Clinics of North America. (19) : 427-432.
Kleinpell, R.M. & Powers, M.J. (1992). "Needs of family members of intensive care unit patients". ApplNursRes. 5(1) : 2-8.
Kinrade, T., Jackson, A.C. and Tomnay, J.E. (2012). "The psychosocial needs of families during critical illness: comparison of nurses' and family members' perspectives". Australian Journal of Advanced Nursing. 27(1) : 82-87.
Lee, L.Y.K. & Lau, Y.L. (2003). "Immediate needs of adult family members of adult intensive care patients in Hong-Kong". Journal of Clinical Nursing.12(4) : 490-500.
McAdam, I. J. & Puntillo, K. (2009). "Symptoms experienced by family members of patients in intensive care units". American Journal of Critical Care.18(3) : 200-208.
Molter, N.C. (1979). "Needs of Relatives of Critically ill patients : A descriptive study". Heart & Lung. 8(4) : 332-339.
Sole, M.L. & Hartshorn, J.C.(1997). Introduction to critical care nursing. 2 ed. Philadelphia : W.B. Saunders Company.