การพัฒนาระบบการเฝ้าระวังการจำหน่ายยาอันตรายในร้านขายของชำ ในพื้นที่ตำบลสะแกโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ธิดาพร อาจทวีกุล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังการจำหน่ายยาอันตรายในร้านชำ ในพื้นที่ตำบลสะแกโพรง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ คัดเลือกประชากรกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีแบบเจาะจงและเข้าร่วมโครงการด้วยความสมัครใจ    50 คน โดยกำหนดขั้นตอนการวิจัยในลักษณะวงรอบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผนการปฏิบัติ การสังเกตและการสะท้อนผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่าการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังการจำหน่ายยาอันตรายในร้านชำ มี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ขั้นวางแผน (Planning) โดยมีกิจกรรม วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาของการใช้ยาอันตรายและสาเหตุของปัญหาระยะที่ 2 ขั้นปฏิบัติ (Action) โดยมีการให้ความรู้ เพื่อให้ตระหนักถึงโทษและอันตรายที่จะเกิดขึ้น จึงทำให้ประชากรกลุ่มตัวอย่างเกิดเปลี่ยนแปลงและมีรูปแบบในการเฝ้าระวังการจำหน่ายยาอันตรายโดยมีการจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและบริการสาธารณสุข ระยะที่ 3 ขั้นสังเกตผลการปฏิบัติงาน (Observation) โดยมีกิจกรรมรวบรวมผลจากการตรวจเฝ้าระวังการจำหน่ายยาอันตรายการจำหน่ายยาอันตรายในร้านชำ ระยะที่ 4 ขั้นสะท้อนกลับการปฏิบัติ (Reflection) มีจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและพัฒนาตามแผนปฏิบัติการโดยการถอดบทเรียนหลังการดำเนินการ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการยาอันตรายให้แก่กลุ่มแกนนำงานคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้สามารถให้ข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับยาอันตรายให้กับประชาชนได้ การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับเบื้องต้นเกี่ยวกับการใช้ยา และการติดตามรายงานดำเนินโครงการเพื่อให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำผลการวิิจัยไปใช้ว่า ควรมีการพัฒนาความรู้ทักษะของกลุ่มแกนนำอย่างต่อเนื่องในการบันทึกรับเรื่องร้องเรียน การส่งต่อข้อมูล และมีเทคนิคในการให้ความรู้และข้อมูลข่าวสารให้เกิดความสม่ำเสมอเพื่อให้ทันเหตุการณ์ ในปัจจุบันควรมีการพัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังการโฆษณาการจำหน่าย และการใช้ยาที่ผิดกฎหมาย ในชุมชน

References

ธนวัฒน์ คำภีลานนท์. (2550). การมีส่วนร่วมของกรรมการชุมชนในการพัฒนาท้องถิ่น เทศบาลเมืองคูคต จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

พัทยา โพธิวัฒน์ และคณะ.(2555). รูปแบบการจัดการลดความเสี่ยงจากการใช้ยาอันตรายในชุมชนแบบบูรณาการ ตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2556, จาก https://203.157.165.4/ssko_presents/file.../3330100243144-8-7805.doc (2556).

เพียงพร กันหารี. (2551). การเสริมสร้างพลังอำนาจอาจารย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดชลบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

วิชัย พลสะทอน. (2554). การจัดการความรู้แบบมีส่วนร่วมโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม AIC ในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ผลิตภัณฑ์อาหารและยา ของแกนนำครอบครัว อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2555). สถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพณสถานที่จำหน่ายผลการตรวจวิเคราะห์เบื้องต้นด้านเคมีและจุลินทรีย์ปีงบประมาณ 2555. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2552). การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2552. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองบุรีรัมย์. (2555). รายงานผลการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค สาธารณสุข อำเภอเมืองบุรีรัมย์. บุรีรัมย์ : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองบุรีรัมย์.

Kemmis. and McTaggart. (1998). The action research planner. Geelong,Victoria: Deakin University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-31