ปัจจัยทำนายการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วยเด็กของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนเขตจังหวัดสุพรรณบุรี
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาอำนาจในการทำนาย เพื่อศึกษาการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วยเด็กของโรงพยาบาลชุมชนในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนเขตจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 183 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีทั้งหมด 6 ชุด คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามวัดความรู้ด้านความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วยเด็ก แบบสอบถามเจตคติต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วยเด็ก แบบสอบถามบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในองค์กร แบบสอบถามการสนับสนุนจากผู้บริหาร และแบบสอบถามการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วยเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสถิติถดถอยพหุคูณแบบ Enter ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 49.2 มีการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วยเด็ก อยู่ในระดับบ่อยครั้ง และพบว่า ปัจจัยบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในองค์กรและปัจจัยการสนับสนุนจากผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วยเด็กประสบการณ์ทำงานในผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่ ความรู้ด้านความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วยเด็ก เจตคติต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วยเด็ก บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในองค์กร สามารถร่วมกันทำนายการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วยเด็กได้ ร้อยละ 27.2 อย่างมีนัยสำคัญที่ .001 ซึ่งปัจจัยที่ทำนายได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในองค์กร โดยบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในองค์กรสามารถทำนายการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาในผู้ป่วยเด็กได้ดีที่สุด ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าผู้บริหารทางการพบาบาล ควรมีการส่งเสริมในด้านการสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมในองค์กรและเอื้อต่อการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยา
References
กมลทิพย์ ละแมนชัย. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาของพยาบาลวิชาชีพวิทยาลัยแพทย์ศาสตรกรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สุขศึกษา) กรุงเทพมหานคร. วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล.
กิตติ พิทักษ์นิตินันท์, ภัทรอนงค์ จองศิริเลิศ, ดวงตา ผลากรกุล, พรพิมล จันทร์คุณาภาส, ไพทิพย์ เหลืองเรืองรอง และวรนัดดา ศรีสุพรรณ. (2554). การประเมินมาตรฐานความปลอดภัยด้านยา โรงพยาบาลภาครัฐ. กรุงเทพมหานคร. สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.
เขมวิทย์ วงษ์เจริญสุข. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อความถูกต้องในการปฏิบัติงานที่ไม่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางยาของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลลพบุรี. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สุขศึกษา). กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์.
ธิดา นิงสานนท์, สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล, และปรีชา มนทากานติกุล. (2552). การป้องกันความคลาดเคลื่อนทางยาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย. กรุงเทพมหานคร: หจก. พิฆณี
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2547). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปาริชาติ โรจน์พลากร-กู๊ซ และยุวดี ฤาชา. (2553). สถิติสำหรับงานวิจัยทางการพยาบาลและการใช้โปรแกรม SPSS for Windows (ปรับปรุงครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: จุดทอง.
สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. (2551). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองศิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี. นนทบุรี. สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. ดีวัน.
สมคิด มะโนมั่น. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาในโรงพยาบาลนครปฐม. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตสาขาการจัดการการพยาบาล. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
สารนิติ บุญประสพ. (2549). เจตคติต่อบรรยากาศการบริหารความเสี่ยงและการปฏิบัติการบริหารความเสี่ยงด้านความคลาดเคลื่อนทางยาของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารทางการพยาบาล). บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยบูรพา
American Academy of piatrices. (2003). Prevention of Medication Errors in the Pediatric Inpatient Setting Committee on Drugs and Committee on Hospital care Pediatrics". Pediatrics is the official Journal of the American Academy of pediatrics. (112): 430-437.
Armitage, G., Knapman, H. (2003). "Adverse events in drug administration: a literature review". J Nurse Manage. (11): 130-40
Banning, M. (2006). "Medication error: professional issue and concern". Nursing Older People. 18(3): 27-32.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral scciences. (2 ed.). Hillsdale, NJ: Erlbaum.
Cohen, M. R. (1999). Medication errors: causes and prevention. Washington, DC: American Pharmaceutical Association.
Donabedian, A. (1987). "Some basic issues in evaluating the quality of health care". In L. T. Rinke, Outcome Measures in Home Care. (1): 3-28.
Donabedian, A. (2005) "Evaluating the Quality of Medical Care". 83(4): 691-729.
National Patient Safety Agency. (2005). Safer Practice Notice11: Wristbands for Hospital Inpatient Improves Safety. NPSA, London.
Pepper, G. (1995). "Errors in drug administration by Nurse". American journal Health Syst Pharm. (52): 390-395.
Polifroni, E. C., McNulty, J. & Allchin, L. (2003). "Medication Error: none basic a system issue". Journal of Nursing Education. (42): 455-458.
Wilson, J. (1999). Risk reviews and using risk management strategy In J. Wilson, & tingle (Eds), Clinical risk modification: A route to Clinical governance. Oxford: Biddles.