ผลของการใช้โปรแกรมการบำบัดที่เน้นการหาทางออกต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โรคอารมณ์สองขั้ว

ผู้แต่ง

  • สกุลรัตน์ เรืองอุไร มหาวิทยาลัยบูรพา

บทคัดย่อ

           การดูแลผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วที่สำคัญ คือ การป้องกันการกลับเป็นซ้ำ โดยการรักษาด้วยยาร่วมกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วย ผู้วิจัยพัฒนาโปรแกรม บำบัดที่เน้นการหาทางออกต่อคุณภาพชีวิตจากแนวคิดการบำบัดแบบรวบรัดที่เน้นการหาทางออกของ เดอ เชสเซอร์ (De Zhaser,1988) เพื่อให้ผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้วมีการปรับเปลี่ยนมุมมองในการดูแลสุขภาพเพื่อให้มี     คุณภาพชีวิตดีขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดที่เน้นการหาทางออกต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้ว กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคอารมณ์สองขั้ว ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 20 คน สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดที่เน้นการหาทางออกจำนวน 6 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 60-90 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะอารมณ์แมเนีย และแบบวัดคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี Bonferroni ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิต แตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และระยะติดตามผล 1 เดือน ในกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยคุณภาพชีวิตในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที และ  ระยะติดตามผล 1 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนในระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันที กับระยะติดตามผล 1 เดือน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการบำบัดที่เน้นการหาทางออก สามารถเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในผู้เป็นโรคอารมณ์สองขั้ว พยาบาลและบุคลากรทางด้านสุขภาพสามารถประยุกต์ใช้รูปแบบของการบำบัดที่เน้น การหาทางออกนี้ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรค อารมณ์สองขั้วและโรคเรื้อรังกลุ่มอื่นต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2551). รายงานจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการของสถานบริการในสังกัดกรมสุขภาพจิต. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2558, จาก https://www.dmh.go.th/report1.ars.

นันทนา สุขสมนิรันดร์. (2553). ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

ธวัชชัย ลีฬาหานาจ และสรยุทธ วาสิกนานนท์. (2549). ตำราไบโพลาร์. กรุงเทพฯ : สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย.

พรทิพย์ โพธิ์มูล. (2552). ผลของการใช้โปรแกรมการปรับเปลี่ยนมุมมองที่เน้นการหาทางออกสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเภทที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านอาการทางจิต. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

รณชัย คงสกนธ์, ธวัชชัย ลีฬหานาจ, สรยุทธ์ สิกนานนท์. (2549). ตำราไบโพลาร์. พิมพ์ครั้ง 3. กรุงเทพฯ : สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย.

โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. (2558). ทะเบียนผู้บริการคลินิกสุขภาพจิตและจิตเวช โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. ปทุมธานี : โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมเกียรติ.

สายใจ พัวพันธ์. (2548). "การปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูงกับการบำบัดที่เน้นการหาทางออกต่อปัญหาจิตสังคม". วารสารคุณภาพการพยาบาล. 2(2) : 22-38.

สายใจ พัวพันธ์. (2547). Cognitive behavioral therapy and solution-fucused brief therapy. ชลบุรี : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุชาติ พหลภาคย์. (2542). ความผิดปกติทางอารมณ์. ขอนแก่น : สำนักพิมพ์ศิริพันธ์.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล. (2545). เปรียบเทียบแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุด 100 ตัวชี้วัดและ 26 ตัวชีวัด. เชียงใหม่ : โรงพยาบาลสวนปรุง.

American Psychiatric Association. (1994). Diagnostic and statistical manual of mental disorders (4 ed.). Washington, DC : American Psychiatric.

Cohen,A.N., Hammen,C.,Henry,R.M & Dalay, S. H. (2004). "Effect ofstree and socialsupport on Recurrence in bipolar disorder". Gen. Psychiatry (53) : 143-147.

De Shazer,S. (1988). Clues: Investing solution in brief therapy. New York: W.W.Norton.

Gazaller,F.K.,Hallal,P.C.,Andreazza,A.C.et al. (2007). "Manic symptom and quality of life in Bipolar disorder". Psychiatric Research. (153) : 33-38.

Hirchfeld,R.A.,Boeden,C.L.,Giltin,MLKeck,P.E.,Suppes,S.,Thase,M.E et al. (2002). Practice Guideline for the treatment of patient with bipolar disorder, 2 ed. In American Psychiatric Association. American Psychiatric Disorder, Compendium.Washington, DC:American Psychiatric Association.

Hosseini, S. H., Karkhanel, M. & et. al. (2009). "Quality of life and Global Functioning Among Chronic Type I Bipolar Disorder patients in Comparison With a General Poulation in Iran". Asian Journal of Biological Sciences.2(1) : 29-34

Michalak, E.E., Yatatham, LN., Wan, D.D., & et. al. (2005). "Perceived Quality of Life in patients with Bipolar Disorder. Dose Group psychoeducation have an Impact". Canadian Journal of Psychiatry. 50(2): 95-100.

Prabhat, K., Chand, M.D., Surendra, K.,Mattoo, M.D. & Pratapsharan, M.D. (2004). Quality of Life and its correlates in patients with bipolar disorder stabilized on lithium prophylaxis. thai : JB Publishers.

Singh, J., Mattoo, SK., Sharam, P. and Basu, D. (2005). "Quality of life and its correlates in Patients with dual diagnosis of bipolar affective disorder and substance dependence". Journal Of Humanistic Education and Development. (37): 168-181.

Soares,J.J.F., stintzing, C.P., Jackson, C., Skolding, B. (1997). "Psychoeducation for patients with Bipolar disorder. An exploratory study". Nordic Journal of Psychiatry. (51) : 439-446.

Vornik, L.A. & Hirschfeld, R.M. (2005). "Bipolar disorder : quality of life and the impact Of Atypicail Antipsychotics". The American Journal of Manage Care. 11(9) : 157-176.

World Health Organization. (2010). "People & health. What quality of life". World Health Forum. (17) : 354- 356.

Wood, S.W. (2000). "The economic burden of bipolar disorder". The Journal of Clinical Psychiatry. 61(13) : 38-41.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-03-31