ปัจจัยที่มีผลต่อสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • ภัทรา เตชะธนเศรษฐ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล 2) ศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้ ประกอบวิชาชีพบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยภายในด้านทักษะวิชาชีพและปัจจัยภายนอกด้านสภาวะแวดล้อม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาการวิเคราะห์ความแตกต่างความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอย พหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 26-35 ปี สถานภาพโสดการศึกษา     ระดับปริญญาตรี  มีประสบการณ์ด้านบัญชี 6-15 ปี เป็น  ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการบัญชี 2) ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่มีใบอนุญาตประกอบ  วิชาชีพแตกต่างกันมีผลต่อสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี แตกต่างกัน 3) ปัจจัยภายในด้านทักษะวิชาชีพ ได้แก่ คุณลักษณะเฉพาะบุคคลและการยึดมั่นต่อจริยธรรม มีผลต่อสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี 4) ปัจจัยภายนอกด้านสภาวะแวดล้อม ได้แก่ แรงจูงใจในการทำงานและกฎระเบียบข้อบังคับของหน่วยงานควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพ  มีผลต่อสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ทั้งนี้ผลการวิจัยอาจนำไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริม และพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีให้มีสมรรถนะมากยิ่งขึ้น ในการสร้างความพร้อมและศักยภาพในการแข่งขันให้แก่วิชาชีพบัญชีในประเทศไทยต่อไป

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2558). รายชื่อ จำนวนสำนักงานบัญชีคุณภาพ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2558, จาก https://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=5303.

กรมสรรพากร. (2558). รายชื่อ จำนวนผู้สอบบัญชีภาษีอากร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2558, จาก https://taxaudit.rd.go.th/ta2/TaxAuditor_01.jsp?PAGE=1.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะทำงานโครงการสมรรถนะ : สำนักงาน ก.พ. (2558). เอกสารเผยแพร่ คู่มือ การพัฒนาระบบสมรรถนะของข้าราชการพลเรือนไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2558, จาก https://www.ocsc.go.th/ocsc/th/index.php?option=com_content&view=article&id=253:2011-07-03-02-13-13&catid=48:cap&Itemid=252.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2558). มาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี. ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2558, จาก https://www.fap.or.th/มาตรฐานวิชาชีพบัญชี/มาตรฐานการศึกษาและเทคโนโลยี. html.

_________(2558). รายชื่อ จำนวนผู้สอบบัญชีรับอนุญาต จากสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2558, จาก https://eservice.fap.or.th/fap_registration/cpa_contact_list.php.

_________(2558). ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี (ฉบับที่ 19) เรื่องจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2553.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2558, จาก https://www.fap.or.th/มาตรฐานวิชาชีพบัญชี/จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ.html.

AbdulkadirMadawaki. (2014). Impact of regulatory framework and environmental factors on accounting practices by firms in Nigeria. [Online]. Retrieved August 22, 2016, from Procedia-Social and Behavioral Sciences Volume 164 : P.282-290. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877042814058984.

Akhilesh Chandra, et al. (2011). A study of motivational factors for accounting educators what are their concerns?. [Online]. Retrieved August 20, 2016, fromResearch in Higher Education Journal : P.19-36. https://www.aabri.com/manuscripts/11770.pdf.

KalsomSalleh and Rozainun Ab Aziz. (2014). Traits, skills and ethical values of public sector forensic accountants: an empirical investigation. [Online]. Retrieved August 5, 2016, from Procedia - Social and Behavioral Sciences Volume 145 : P.361-370.https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877042814039032.

Kristine N. Palmer, Douglas E. Ziegenfuss, Robert E. Pinsker, (2004). International knowledge, skills, and abilities of auditors/accountants : Evidence from recent competency studies. [Online]. Retrieved August 1, 2016, fromManagerial Auditing Journal, Volume 19 : P.889-896.https://dx.doi.org/10.1108/02686900410549411.

McClelland, D.C. (1973).Testing for competence rather than for "Intelligence.". [Online].Retrieved August 1, 2016, American Psychologies, January 1973 : P.1-14. https://www.therapiebreve.be/documents/mcclelland-1973.pdf.

Rosa Kaspina. (2015). Continuing Professional Development of Accounting and Auditing: Russian Experience and Challenges. [Online]. Retrieved August 1, 2016, from Procedia - Social and Behavioral Sciences Volume 191 : P.550 -553.https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877042815033674.

SibelKargin, RabiaAktas. (2012). Strategic Thinking Skills of Accountants During Adoption of IFRS and the New Turkish Commercial Code: A Survey from Turkey. [Online]. Retrieved August 5, 2016, from Retrieved August 21, 2016, from Procedia - Social and Behavioral Sciences Volume 58 : P.128 - 137. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877042812044485.

Trevor Hassall,et al. (2005). Priorities for the development of vocational skills in management accountants: A European perspective. [Online]. Retrieved August 21, 2016, from Accounting Forum Volume 29 : P.379-394. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0155998205000219.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-03-31