เจตคติต่อการเรียนรายวิชาสมการเชิงอนุพันธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ: กรณีศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์

ผู้แต่ง

  • รุจิรา คงนุ้ย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อการเรียนรายวิชาสมการเชิงอนุพันธ์ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี ปีการศึกษา 2557 ที่เรียนรายวิชาสมการเชิงอนุพันธ์ จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดเจตคติที่มีต่อการเรียนรายวิชาสมการเชิงอนุพันธ์ แบ่งเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐาน ตอนที่ 2 เจตคติต่อการเรียนวิชาสมการเชิงอนุพันธ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านข้อมูลพื้นฐาน นักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2557 ที่เรียนรายวิชาสมการเชิงอนุพันธ์ ส่วนใหญ่  มีผลการเรียนในรายวิชาแคลคูลัสเบื้องต้นในระดับ D  (ร้อยละ 31.71 , S.D. = 1.75) มีความคาดหวังผลการเรียนในรายวิชาสมการเชิงอนุพันธ์ในระดับ C และ B เท่ากัน   ( ร้อยละ 24.39, S.D. = 1.85) 2) ด้านเจตคติที่มีต่อการเรียนรายวิชาสมการเชิงอนุพันธ์ อยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}= 3.27 , S.D. = .55)  ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำ ผลการวิจัยไปใช้ว่า สำหรับผู้สอนในรายวิชาสมการเชิงอนุพันธ์ การศึกษาเจตคติที่มีต่อการเรียนในรายวิชาจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการแก้ไขเจตคติที่มีต่อการเรียนเพื่อเป็นการเสริมสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่อไป

References

กุลกาญจน์ สุวรรณรักษ์ รุ่งทิวา แย้มรุ่ง และดวงใจ สีเขียว. (2556). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และเจตคติ ทางการเรียนเรื่องการชั่งและการตวงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยการสอนแนะให้รู้คิด (CGI) ที่เนี้นทักษะการเชื่อมโยงระหว่างคณิตศาสตร์กับชีวิตประจำวัน. ปริญญาการศึกษา มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ณัฐกานต์ ภาคพรต และณมน จีรังสุวรรณ. (2557). "การเปรียบเทียบทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และไอซีทีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการประเมินตามสภาพจริงกับความคาดหวังในศตวรรษที่ 21". วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา. 9(2) : 35-45.

ทักษิณา เครือหงส์. (2551). การเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. รายงานการวิจัย. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

นวลศิริ เปาโรหิตย์. (2545). ก่อนจะถึงวันนั้น : หนังสือจิตวิทยาครอบครัวเล่มแรกที่ทุกครอบครัวควรอ่าน. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2543). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิเชียร เกตุสิงห์. (2538). "ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย: เรื่องง่ายๆ ที่บางครั้งก็พลาดได้". ข่าวสารการวิจัยการศึกษา. 18(3) : 8-11.

สุกัญญา โหมดศิริ. (2554). ผลการสอนตามหลักอริยสัจสี่ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคจุฬาภรณ์ (ลาดขวาง). ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภาพร ปิ่นทอง. (2554). การเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง อสมการและเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบ SSCS และการสอนโดยใช้เทคนิค KWDL. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ : การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-03-31