การเปิดรับสื่อต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเกาะล้านจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • คมสิทธิ์ เกียนวัฒนา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับสื่อต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวและศึกษาสื่อในปัจจุบันที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทยในเกาะล้านจังหวัดชลบุรีโดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน ซึ่งเป็นการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์  ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (gif.latex?\bar{x}) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลจากการวิจัย ปรากฏดังนี้ 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการเปิดรับสื่อโดยสื่ออินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายประเด็น แต่ความเชื่อถือของข้อมูลข่าวสารอันดับแรกเป็นสื่อมวลชน 2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับชมโทรทัศน์จากช่องทั่วไป เช่น 3 5 7 9 Thai PBS (ร้อยละ 63.00), ไทยรัฐ คือ หนังสือพิมพ์ที่อ่านมากที่สุด (ร้อยละ 44.00) มักไม่อ่านนิตยสารเกี่ยวกับการท่องเที่ยว (ร้อยละ 58.75) และไม่ฟังวิทยุ (ร้อยละ 37.75) Facebook เป็นช่องทางในการรับสื่ออินเทอร์เน็ตมากที่สุด (ร้อยละ 71.75) รายการเทยเที่ยวไทย คือรายการท่องเที่ยวที่รับชม มากที่สุด (ร้อยละ 45.00) เพื่อน คือ สื่อบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของกลุ่มตัวอย่างเป็นอันดับแรก (ร้อยละ 69.00) กลุ่มตัวอย่างเข้าร่วมงานนิทรรศการเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์มากที่สุด (ร้อยละ 47.25) ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะต่อการนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ว่า ผลการวิจัยครั้งนี้มีประโยชน์แก่สาธารณชนและกิจกรรมเชิงพานิชย์ อีกทั้งช่องทางการเข้าถึงสื่อเพื่อการท่องเที่ยวควรมีหลากหลายและเข้าถึงได้ง่าย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการ   ของนักท่องเที่ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

แก้วตา ฮวดใหม่. (2553). ความคาดหวัง การรับรู้จริง และแนวโน้มการใช้บริการซ้ำของลูกค้าที่ใช้บริการเงินฝากกับธนาคารเกียรตินาคินจํากัด (มหาชน) สาขาอโศก. สารนิพนธ์ปริญญาบริการธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2550). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชยุตม์ เหมจักร. (2544). ข่าวโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ ในทัศนะผู้สื่อข่าวและผู้รับ. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณภัทร ธนเตชาภัทร์. (2551). ความสำคัญของการสื่อสาร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2558, จาก https://www.l3nr.org/posts/151118.

ธีรศักดิ์ อริยะอรชุน. (2556). พฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจต่อรายการข่าวทางโทรทัศน์ดาวเทียม MEDIA NEWS CHANNEL ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กรคณะนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นภัสวัณจ์ ศักดิ์ชัชวาล. (2553). พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลการท่องเที่ยวผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต เพื่อการตัดสินใจท่องเที่ยวภายในประเทศ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประชาชาติธุรกิจ. (2557). เจาะเศรษฐกิจ "เกาะล้าน" นักท่องเที่ยวโตพรวด 3 ล้านคน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2558, จาก https://www.prachachat.net.

ศิวัช จันทนาสุภาภรณ์. (2554). ทัศนคติที่มีต่อการเปิดรับสื่อออนไลน์บนเครือข่ายสังคมออนไลน์: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาสารสนเทศ เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สุรสิทธิ์ วิทยารัฐ. (2545). การสื่อข่าว หลักการและเทคนิค. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือสถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

สุนทร พรหมวงศา. (2552). ทฤษฎีเกี่ยวกับวัยรุ่น. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2558, จาก https://soonthon.blogspot.com/2009/03/2.html

สุธาสินี ชวนไชยะกูล. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเกาะล้าน จ.ชลบุรี ของนักท่องเที่ยวชาวไทย. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2558). รายงานผลการสำรวจมูลค่าอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย 2558. กรุงเทพฯ : กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2554). จับตามองท่องเที่ยวไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2558, จาก https://service.nso.go.th/nso/web/article/article_63.html.

อุมาพร โกมลรุจินันท์. (2557). คนไทยอ่านหนังสือปีละ 8 บรรทัด. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2558, จาก https://www.pr.chula.ac.th/index.php/15-article/71-8.

Holloway, J. C. (1998). The Business of Tourism. Plymouth: Macdonald and Evens Ltd.

Robert,W.M. (1972). Havighurst's Theory of Development task. [Online]. Retrieved 28 พฤศจิกายน 2558, from https://405404027.blogspot.com/2012/10/blog-post_4433.html.

Schramm, W. (1973). Men, Messages, and Media: A Look at Human Communication. New York: Harper & Row, Publishers.

Yamane, T. (1970). Statics: An introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-03-31