เทคโนโลยี MOOCs สำหรับการศึกษาออนไลน์
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการศึกษาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ทำให้สถาบันการศึกษาต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอน การเรียนแบบดั้งเดิม (Tradition education) เป็นการศึกษาที่ใช้วิธีการเผชิญหน้าระหว่างผู้เรียนและผู้สอนในลักษณะของระบบชั้นเรียนปกติ เมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนาเข้าสู่ยุคดิจิทัลและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงทำให้ระบบการศึกษามีการพัฒนาไปในรูปแบบของการศึกษาแบบทางไกล (Distance learning) เกิดการขยายโอกาสทางการศึกษามากขึ้น และมีการนำระบบ E-Learning มาใช้ในสถาบันการศึกษาอย่างกว้างขวางซึ่งเอื้อต่อการเรียนรู้ ของนักเรียนนักศึกษาของสถาบันการศึกษาแต่ละแห่ง ทำให้สามารถเรียนรู้ได้ตลอดเวลาในลักษณะของการเรียนรู้ตลอดชีวิต แต่เนื่องจากการศึกษาในระบบ E-Learning ยังเป็นลักษณะที่ใช้เพื่อการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา แต่ละแห่ง ซึ่งทำให้มีแนวคิดในการขยายโอกาสไปสู่การเรียนรู้แบบเปิดที่เรียกว่า MOOCs (Massive open online courses) โดยเป็นรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ที่เน้นในเรื่องของปฏิสัมพันธ์การเรียนการสอนในกลุ่มผู้เรียนขนาดใหญ่ เน้นการมีบทเรียนและแหล่งทรัพยากรแบบเปิด มีกิจกรรมและการประเมินผลการเรียนที่ทำให้ผู้เรียนอยากที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น เน้นการใช้เป็นรูปแบบการสอนสมัยใหม่ที่ช่วยในการเรียนการสอน การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในการเรียนการสอนมากขึ้น และสามารถรองรับผู้เรียนจากทั่วโลกได้ ทำให้ลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา และเกิดความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาทั่วโลกที่เปิดสอนในรายวิชาที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงต่อผู้เรียน รวมถึงสอดคล้องกับการแนวคิดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งทำให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะในทุกด้านที่จะส่งผลถึงการพัฒนาคุณภาพพลเมืองในประเทศให้ดีขึ้น
References
จารุมน หนูคงและ ณมน จีรังสุวรรณ.(2558).การออกแบบรูปแบบการฝึกอบรมแบบผสมผสานร่วมกับการสอนแบบ MOOC เพื่อพัฒนาทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีสําหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต.วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.6(1): 105-113.
จีระศักดิ์ หัสดี. (2557). MOOCs (Massive Open online Course). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2560. จาก https://tibcit.blogspot.com/2014/09/teek05.html
ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์. (2557).วิเคราะห์แนวโน้มการศึกษาออนไลน์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2560. จาก https://thaipublica.org/2014/10/settakid2-online-education/
ดิจิทัล เอจ.(2560). MOOCs นวัตกรรม การศึกษา แบบเปิดกว้าง ยุคดิจิทัล.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560. จาก https://www.digitalagemag.com/moocs-นวัตกรรม-การศึกษา-แบบเปิดกว้าง-ยุคดิจิทัล
เทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2557).คู่มือการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560. จาก https://regis.rmutp.ac.th/wp-content/uploads/2014/06/1.1 คู่มือการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ1.pdf
ทัศนีย์ จันอินทร์.(2556). MOOCs : แหล่งเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2560. จาก https://www.tkpark.or.th/tha/articles_detail/196/MOOCs
บุญเลิศ อรุณพิบูลย์. (2557). ประเด็นควรใส่ใจก่อนพัฒนา MOOCs. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560. จาก https://www.thailibrary.in.th/2014/06/26/moocs-2/
บุญเลิศ อรุณพิบูลย์. (2557). MOOC - Massive Open Online Course: หลักสูตรออนไลน์ระบบเปิดที่รองรับการเรียนจำนวนมาก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2560. จาก https://www.thailibrary.in.th/ 2014/02/12/mooc/
บุญเลิศ อรุณพิบูลย์. (2557). MOOCs. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560. จาก https://www.thailibrary. in.th/2014/04/01/moocs/
บำรุง เฉียบแหลม.(2557).การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2560. จาก https://www.moe.go.th/ moe/th/news/detail.php?NewsID=38880&Key=news_research
ฝ่ายสื่อและเทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. (2558). บทเรียนออนไลน์แบบเปิด (MOOC). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2560. จาก https://arit.sru.ac.th/about-us/organize-chart/98-main-data.html
ภาสกร ใหลสกุล.(2559). MOOC มุกใหม่ของอีเลิร์นนิง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2560. จาก https://examplewordpresscom20163.wordpress.com/2016/03/20/mooc-มุกใหม่ของอีเลิร์นนิง/
วิภา เจริญภัณฑารักษ์.(2558). MOOC: การศึกษาฟรีแบบเปิดในยุคดิจิทัล.วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ.8(2): 1-15.
ศศิธร บัวทอง. (2559).แนวคิดของการประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.สืบค้นเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2560. [ออนไลน์]. จาก https://www.stou.ac.th/Offices/ore/info/cae/viewkb.aspx?id=204
สยามรัฐ.(ม.ป.ป). การศึกษาออนไลน์..ยังไปได้ไกลอีก. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2560. จาก https://www.unigang.com/Article/8251
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. (2557). MOOC คือ? [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2560. จาก https://www.nstda.or.th/th/nstda-knowledge/2622-mooc
อำพร เรืองศรี (2551). ระบบการศึกษาไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2560. จาก https://www.gotoknow.org/posts/174101www.gotoknow.org/posts/174101
Hotcourse Thailand(2558). การเรียนแบบดั้งเดิม VS การเรียนแบบออนไลน์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2560. จาก https://www.hotcourses.in.th/study-in-usa/applying-to-university/online-degrees-vs-traditional-degrees/
LEARN FOR FUN. (2556). Blended Learning การเรียนรู้แบบผสมผสาน.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2560. จาก https://nipatanoy.wordpress.com/blended-learning-การเรียนรู้แบบผสมผสา
Monroe, R.(2017). What is Online Education? [Online]. Retrieved from https://www.online-education.net/articles/general/what-is-online-education.html
Plourde ,M. (2013). MOOC. [Online]. Retrieved from https://www.flickr.com/photos/mathplourde/8620174342/sizes/l/in/photostream/
Thai OER/MOOC. (2558). MOOC และความแตกต่างกับ e-Learning แบบเดิมๆ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2560. จาก https://www.learn.in.th/mooc-diffrence-e-learning/
The Partnership for 21ST Century Learning. (2015). Framework for 21st Century Learning.Retrieved. [Online]. from https://www.p21.org/our-work/p21-framework.
Yuan, L and Powell, S. (2013). MOOCs and Open Education: Implications for Higher Education, White Paper.[Online]. Retrieved from https://publications.cetis.org.uk/wp-content/uploads/2013/03/ MOOCs-and-Open-Education.pdf