การประยุกต์ลวดลายศิลปะทวารวดีเพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
บทคัดย่อ
ลวดลายศิลปะสมัยทวารวดีที่ปรากฏบนศิลปวัตถุ เช่น พระธรรมจักร และวัตถุเครื่องบูชาอื่นๆ ประกอบด้วยลายก้านพืชขด ลายข้าวหลามตัด ลายกลีบบัว ลายลูกแก้ว และลายหน้าสิงห์ สามารถนำมาประยุกต์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ ผ้าทอลายทวารวดี และการจักสาน ผักตบชวาลายทวารวดี รวมถึงผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่ผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมทั้งได้แสดงถึงการนำเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น มาประยุกต์ให้เกิดมูลค่าตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
References
นุกูล ชมภูนิช และสุพจน์ สุทธิศักดิ์. (2544). รายงานการวิจัย เรื่อง "ศิลปะทวารวดีที่พบจากแหล่งโบราณคดีในจังหวัดนครปฐม." นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
สุพจน์ สุทธิศักดิ์ ฐิติรัตน์ เค้าภูไทย และทรงวุฒิ ศรีรัตนมงคล. (2557). แนวทางการพัฒนาผ้าทอลายทวารวดีเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชนในจังหวัดนครปฐม. รายงานการวิจัยได้รับทุนอุดหนุนจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2558.
สุพจน์ สุทธิศักดิ์ ทรงวุฒิ ศรีรัตนมงคล และเริงชัย แจ่มนิยม. (2558). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาโดยใช้ลวดลายทวารวดีเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของชุมชนในจังหวัดนครปฐม. รายงานการวิจัยได้รับทุนอุดหนุนจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ 2559.
อุษา ง้วนเพียรภาค และสุรีรัตน์ ตั้งพรประเสริฐ (2548). โครงการอนุรักษ์ลายทวารวดี. โรงเรียนราชินีบูรณะ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม.