ผลของการปรับระยะห่างของแป้นพิมพ์ตามหลักการยศาสตร์ต่ออาการปวดบ่า ไหล่ ในพนักงานออฟฟิศ อายุ 16 - 35 ปี

ผู้แต่ง

  • ทิพย์สุดา บานแย้ม

คำสำคัญ:

อาการปวดกล้ามเนื้อบ่าและไหล่, การจัดท่าทางตามหลักการยศาสตร์, แบบประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์, การจัดระยะห่างแป้นพิมพ์

บทคัดย่อ

          การศึกษาผลนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาของการปรับระยะห่างของแป้นพิมพ์ตามหลักการยศาสตร์ต่ออาการปวดทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและร่วมกับ  การจัดท่าทางการทำงานกับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะให้ถูกต้อง ตามหลักการยศาสตร์ โดยใช้การจัดระยะห่าง (15 ซ.ม.) ของแป้นพิมพ์ (ตัว J) ถึงขอบลิ้นชักของข้อมือร่วมกับการให้ความรู้ในการออกกำลังกายโดยการยืดกล้ามเนื้อบริเวณบ่าและไหล่ในพนักงานเอกชน วิธีการวิจัยทำการคัดเลือกกลุ่มประชากรที่มีอาการปวดบ่าและไหล่ใน  มหาวิทยาลัยคริสเตียน จังหวัดนครปฐม เพศหญิงและเพศชายที่มีอายุระหว่าง 16-35 ปี ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะที่มีลิ้นชัก มีกลุ่มการทดลอง จำนวน 26 คน ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการทดลอง ก่อนการทดลองจะประเมินคะแนนความเสี่ยงในการเกิดโรคทางระบบโครงสร้างและกล้ามเนื้อ โดยจะใช้แบบสอบถาม RULA และวัดระดับอาการเจ็บปวดบริเวณบ่าและไหล่ (VAS) ทดลองเป็นระยะเวลา 2 เดือนด้วยวิธีการจัดระยะห่างของแป้นพิมพ์และให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดท่าทาง   การทำงานคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (ergonomics) หลังการทดลองจะประเมินคะแนน   ความเสี่ยงในการเกิดโรคทางระบบโครงสร้างและกล้ามเนื้อและระดับอาการเจ็บปวด ผลการวิจัยพบว่าการจัดระยะห่างของ แป้นพิมพ์ ก่อนและหลังการทดลองมีอาการปวดลดลง 6.03  1.79, 2.00  0.80 ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05)และมีท่าทางการทำงานที่ถูกต้องแตกต่างกัน 5.53  1.58, 2.92  0.74 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) เมื่อนำผลก่อนและหลังมาเปรียบเทียบและคะแนนความเสี่ยงในการเกิดโรคทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ และอาการปวดบริเวณบ่า ไหล่ลดลงมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.01) ดังนั้นการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ถูกต้อง และการใช้ท่าทางการทำงานที่เหมาะสมตามหลักการยศาสตร์ จะลดความเสี่ยงและป้องกันการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อบ่า ไหล่ของพนักงานได้

References

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (2529). คู่มือหนังสือชีวการแพทย์. กรุงเทพฯ: ธรรมสารการพิมพ์.

เมธินี ครุสันธิ์ และสุนิสา ชายเกลี้ยง.(2014). "การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในพนักงานสำนักงานมหาวิทยาลัย". วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 19(5): 696-707.

เมธินี ครุสันธิ์ และสุนิสา ชายเกลี้ยง. (2557). "ความชุก ความรู้สึกไม่สบายบริเวณ คอ ไหล่ และหลังของพนักงานสำนักของมหาวิทยาลัย ที่ใช้คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะมากว่า 4 ชั่วโมง ต่อวัน". วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 15(1): 1712-1722.

Hedge Based Alan. (1993). "RULA Employee Assessment Worksheet: a survey method for the investigation of work - related upper limb disorder". Ergonomics plus. 24(2): 91-99.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970)."Determining Sample Size for ResearchActivities". Educational and Psychological Measurement. 30(3).607-610.

KalinieneGintare, UstinavicieneRuta and JanuskeviciusVidmantas. (2013). "Associations between neck musculoskeletal complaints and work-related factors among public service computer workers in kaunas". work related. 26(5).670-681.

Marcus Michele, Gerr Fredric, Monteilh Carolyn, Ortiz Daniel, Gentry Eileen, Cohen Susan & EdwardsAlicia.(2002). "A Prospective study of computer users: II. Postural risk factors for Musculoskeletal symptoms and disorders". Am J Ind Med. 41(4): 236-49.

McAtamney Lynn &Corlett Nigel. (1993). "RULA: a survey method for the investigation of work- related upper limb disoders". Applied Ergonomics. 24(2): 91-99.

McAtamney Lynn and Corlett Nigel.(1993). "RULA for computer user". Applied Ergonomics. 24(2): 91-99.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-09-30