การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวด้านโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น : กรณีโรงพยาบาลกระทุ่มแบนในจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • นวพร วุฒิธรรม มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของครอบครัวด้านโภชนาการในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร่วมกับการประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผู้ร่วมวิจัยประกอบด้วยกลุ่มหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นและสมาชิกครอบครัว จำนวน 30 คนคัดเลือกแบบเจาะจงและแบบการบอกต่อ เก็บข้อมูลด้วยการระดมสมอง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยชุดคำถามปลายเปิดแบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มหญิงตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและสมาชิกครอบครัว มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ   ด้านโภชนาการโดยผ่านกระบวนคิดวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบการสร้างวิสัยทัศน์ "โภชนาการดีวิถีครอบครัว" การสร้างแผน การดำเนินตามแผน และการประเมินผลรูปแบบการมีส่วนร่วม ประกอบด้วยเพื่อนวัยรุ่น เครือข่ายแม่วัยใสสื่อสารภาษาวัยรุ่น สุขภาพดีวิถีวัยรุ่น สุขภาพดีวิถีครอบครัวพลังครอบครัวเรียนรู้เพื่อสุขภาพและเลี่ยงอาหารลดการดูดซึมธาตุเหล็กสรุปได้ว่ากลุ่มมีการปรับพฤติกรรมสุขภาพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและบริบทของครอบครัวส่งผลให้กลุ่มหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีน้ำหนักตัว ขนาดของมดลูก และระดับความเข้มข้นของเลือดที่เพิ่มขึ้น

          ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งนี้ ทีมสุขภาพควรตระหนักถึงคุณค่าของกระบวนมีส่วนร่วมด้านโภชนาการตามบริบทของแต่ละครอบครัว เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นให้ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน

References

กิตติพงศ์ แซ่เจ็ง และคณะ, 2558. คู่มือแนวทางปฏิบัติการดูแลแม่วัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1 นนทบุรี. กระทรวงสาธารณสุข.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2553 - 2557). พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี. กระทรวงสาธารณสุข.

นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล และคณะ. (บรรณาธิการ). (2556). คู่มือแนวทางการควบคุมและป้องกันโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. นนทบุรี. สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

นวพร วุฒิธรรม. (2558). การพัฒนาโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในบุคคลที่มีภาวะเมตาบอลิกซินโดรม โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในชุมชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 21 (1).

บุญถือ พุ่มจันทร์. (2553). ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับดัชนีมวลกายของหญิงตั้งครรภ์ในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย, 5(2), 99-109.

บุญฤทธิ์ สุขรัตน์. (2557). การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น : นโยบายแนวทางการดำเนินงานและติดตาม ประเมินผล. พิมพ์ครั้งที่ 2 นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.

ปิยธิดา สัมมาวรรณ นิตยา สินสุกใส และวรรณา พาหุวัฒนกร. (2556). ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการต่อผลลัพธ์ของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. วารสารเกื้อการุณย์, 20(2), 100-115.

รัตนา เพชรพรรณ และจินตนา วัชรสินธุ์. (2558). โปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีดัชนีมวลกายน้อยในคลินิกเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 10(1), 129-144.

วรรณรัตน์ จงเจริญยานนท์และคณะ. (2554). การพยาบาลสูติศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก.

วิลัยรัตน์ พลางวัน และสมพร วัฒนนุกูลเกียรติ. (2555). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง ต่อการปฏิบัติพฤติกรรมด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วารสารสมาคมพยาบาลสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 30(2), 16-22.

วิภาวดี พิพัฒน์กุล นิตยา สินสุกใส และวรรณา พาหุวัฒนกร (2558) ศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการและการรับประทานยาบำรุงธาตุเหล็กต่อภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในสตรีตั้งครรภ์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารพยาบาลศาสตร์, 33(1), 69-76.

ศรีเพ็ญ ตันติเวสสและคณะ. (2556). สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย 2556. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2559 https://www.m-society.go.th.

สราวุฒิ บุญสุข. (บรรณานุการ). (2557). แผนยุทธศาสตร์สุขภาพกระทรวงสาธารณสุขด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ปีงบประมาณ 2557 (5 Flagship Projects). (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

สุนันท์ ศรีวิรัตน์. (2558). การดูแลหญิงตั้งครรภ์ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. วารสารวิชาการเขต 12, 26 (1), 96-102.

สุภาวดี เงินยิ่ง. (2556). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพด้าโภชนาการและการจัดการกับความเครียดในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุภางค์ จันทวานิช. (2557). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 19). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร. (2559).สืบค้นเมื่อ 15ตุลาคม 2559 จาก https://www.skno.moph.go.th/sk/index.php.

สำนักนโยบาย และยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557).การรายงานผลตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium DevelopmentGoals-MDGs) ฉบับที่ 3 ปี 2557. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์จำกัด.

อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร,สุนีย์ ละกำปั่น และขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2554). การสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคในชุมชน : การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

American College of Obstetricians and Gynecologists. (ACOG). (2008). Anemia in pregnancy.Washington (DC).

Amburgey, O.A., Ing, E., Badger, G.J., & Bernstein, I.M. (2009). Maternal hemoglobin concentration and its association with birth weight in newborns of mothers with preeclampsia. Journal Maternal Fetal Neonatal Med, 22(9),740-4.

Cunningham, F.G., Leveno, K.J., Bloom, S.L., Hauth, J.C., Rouse, D.J. & Stong, C.Y.(2010).Prenatal care. In: Williams Obstetrics. (23rd ed). New York: McGraw - Hill, 189-214.

Friedman, M. M., Bowden, V. R., & Jones, E. G. (2003).Family nursing: Research, theory, and Practice. (5th ed.).Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Harvey, Nichole Racheal (2012) The triage and management of pregnant women in a Queensland hospital emergency department: a participatory action research study. Retrieved November 20, 2016, from https:// www.researchonline.jcu.edu.

Health Canada (2012). Healthy Pregnancy. Ottawa: Government of Canada.

Green, L.W. & Krueter, M. (2005). Health program planning: An educational and ecological Approach (4th ed.). New York: McGraw-Hill.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (2000).Participatory action research: Communicative action in the public sphere, in N. Denzin and Y. Lincoln (Eds.). Handbook of Qualitative Research, 559-603.

Noronha, J.A. et al., (2012). Anemia in Pregnancy Consequences and Challenges: A Review of Literature. Journal of South Asians Federation of Obstetrics and Gynaecology, 4(1): 64-70.

Pender N. J., Murdaugh, C. L., & Parsons, M. A. (2006). Health promotion in nursing practice.(5 th ed.). New Jersey: Pearson Education.

Thaithae, S., & Thato, R. (2011). Obstetric and perinatal outcomes of teenage pregnancies in Thailand. Journal of Pediatric Adolescent Gynecology, 24(6), 342-6.

WHO. (2011). Preventing Early Pregnancy and Poor Reproductive Outcomes among Adolescent in Developing Countries. Design by Sandy Zimmerman.

WHO. (2013). Maternal and reproductive health. Retrieved November 20, 2016, from https://www.who.int/gho/maternal_health/en/.

WHO. (2014). Adolescent pregnancy.Retrieved November 20, 2016, from https://www.who.int.

Widyawati, W., et al. (2015).The effectiveness of a new model in managing pregnant women with iron deficiency anemia in indonesia: A nonrandomized controlled intervention study. Birth issues in perinatal care (Birth), 42(4), 337-345.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-09-30