การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืนของเกาะทะล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
คำสำคัญ:
ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของเกาะทะลุ, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเลเกาะทะลุบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเลอย่างยั่งยืน ของเกาะทะลุ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเกาะทะลุ 2) ศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวเกาะทะลุและสร้างแนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเลอย่างยั่งยืนของเกาะทะลุ โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ที่เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นกลุ่มตัวอย่างสำหรับตอบแบบสอบถามในการศึกษา (Questionnaire) โดยผู้วิจัยเลือกเทคนิคการสุ่มตัวอย่างโดยไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็น (Non-Probability) โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) และได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 381 คน ข้อมูลเชิงคุณภาพจำนวน 5 คน โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาที่เป็นการสรุปเป็นรายประเด็นที่สอดคล้องกับเนื้อหาที่ทำการศึกษา ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ พบว่า 1)ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเกาะทะลุ จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ในภาพรวมทั้ง 7 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง (ด้านความประทับใจด้านสิ่งดึงดูดใจในการท่องเที่ยวด้านกิจกรรมด้านการได้รับการสนับสนุนจากจากภาครัฐด้านสิ่งแวดล้อมและการส่วนร่วมของคนในชุมชนท้องถิ่นด้านการเข้าถึงด้านสิ่งอำนวยความสะดวก) 2) แนวทางการจัดการท่องเที่ยวของเกาะทะลุ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผลการศึกษาพบว่า เกาะทะลุมีองค์ประกอบที่เหมาะแก่การส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเล เนื่องจากมีธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เกาะทะลุ ไอแลนด์ รีสอร์ท มีการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวมีความรับผิดชอบโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงมีการอนุรักษ์ทรัพยากรและการจัดการที่ยั่งยืน การควบคุมการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีขอบเขต การจัดกิจกรรมคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ชุมชนยัง ได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวอย่างเท่าเทียมกัน 3) แนวทางการส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเลอย่างยั่งยืนของเกาะทะลุ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า ควรมีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบเพื่อลดผลกระทบต่อทรัพยากรการท่องเที่ยวและวิถีชีวิตของชุมชนบริเวณใกล้เคียงแหล่งท่องเที่ยวเช่น ปัญหาขยะ นอกจากนี้ควรมีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นโดยเฉพาะการส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเลและควรมีการพัฒนาเส้นทางเพื่อเชื่อมโยง แหล่งท่องเที่ยวภายในเกาะ โดยมีทางเดินและป้ายบอกทางที่ชัดเจน นอกจากนี้การพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวภายในเกาะทะลุได้มีผู้นำผลการศึกษาไปใช้ประโยชน์ เช่น เกาะทะลุ ไอแลนด์ รีสอร์ท พื้นที่เกาะทะลุที่ประกอบไปด้วยธุรกิจที่พัก ร้านอาหารและการส่งเสริมกิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยวทางทะลุของเกาะทะลุ รวมถึงการร่วมมือกับแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลอื่นๆ ในบริเวณอ่าวไทยโดยเป็นการส่งเสริมให้เกิดการกระจายตัวของนักท่องเที่ยวและเป็นการกระจายรายได้สู่ชุมชนตามนโยบายของรัฐบาล
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2558). เกาะทะลุ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2558, จาก https://thai.tourismthailand.org.
กุลวดี ละม้ายจีน. (2551). อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยว 2555-2559. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา: กรุงเทพฯ.
กรมการท่องเที่ยว. (2558). สถิตินักท่องเที่ยวและการศึกษาศักยภาพ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2558, จาก https://newdot2.samartmultimedia.com/home/listcategory/11/217.
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2558). เกาะทะลุ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2558, จาก https://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_CODE=9143
ฉันทัช วรรณถนอม. (2550). อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบริการ. เพชรบุรีฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นาฏสุดา เชมนะสิริ. (2555). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2555). การตลาดอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุษบา สิทธิการ. (2551). การศึกษาผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคมและวัฒนธรรมในชุมชนการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กรกฏาคม 2559, จาก https://research-database.mfu.ac.th/download/Jpjd6q929Fri0711.pdf.
ปิยพงค์ มั่นกลั่น. (2554). ศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวของเกาะทะลุของเกาะทะลุตลาดน้ำในจังหวัดนนทบุรีเพื่อการจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ภาคนิพนธ์สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปิยวรรณ คงประเสริฐ. (2551). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบบูรณาการเพื่อการวางแผนพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (มปป.). แผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว 2554-2558. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา: กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวและกีฬา.
วรรณะ รัตนพงษ์. (2548). การพัฒนาศักยภาพการจัดการทุนทางสังคมเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตำบลบ้านดู่ จังหวัดเชียงราย.รายงานการวิจัยสํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน.
วรรณี พุทธาวุฒิไกร. (2546). ภูมิศาสตร์ประเทศไทย. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.
วารุณี ตันติวงศ์วานิช และคณะ. (2554). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: สยาม บุ้คส์ จำกัด.
ศรัญยา วรากุลวิทย์. (2558). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: แวววาว.
สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์. (2549). การบริหารท่องเที่ยวเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นวตสาร จำกัด.
สุภาภรณ์ หาญทอง. (2543). ศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวจังหวัดพัทลุง. กรุงเทพฯ: ภาคนิพนธ์สาขาวิชาพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุวิมล ติรกานันท์. (2548). สถิติและการวิจัยทางการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
หิรัญญา กลางนุรักษ์ สงกรานต์ กลมสุข และโสภิณ ทวีพงศากร. (2558). "การพัฒนาโปรแกรมเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพผสมผสานเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดนครปฐม". วารสารมหาวิทยาลัยครีสเตียน. 21(3):490-499.
Alan Canamar. (2012). Seaplane Conceptual Design and Sizing. University of Glasgow.
Haiyan Song. (2010). Tourism Demand Modelling and Forecasting : how should demand be measured. School of Hotel and Tourism Management : China.
Krejcie, Robert V, and Morgan , Daryle W. (1970). "Determinining Sample Size for Research Activities". Educational and Psychological Measurement. 30(1) : 607-610.