การถอดบทเรียนระบบการจัดการสุขภาพระดับตำบล : "ทุ่งพงโมเดล"

ผู้แต่ง

  • สุพัฒนา คำสอน มหาวิทยาลัยนเรศวร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อถอดบทเรียนระบบการจัดการสุขภาพ "ทุ่งพงโมเดล" ที่ประสบผลสำเร็จในการควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน ของตำบลทุ่งพง อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ บุคลากรสาธารณสุข ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข ผู้นำกลุ่ม/องค์กรชุมชนและประชาชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน  2 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูล 5 คน ระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนกันยายน 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการพัฒนาระบบการจัดการสุขภาพ "ทุ่งพงโมเดล" ใช้ปัญหาสุขภาพชุมชนที่ไม่สามารถควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย กระบวนการสำคัญ ประกอบด้วย 1) การค้นหาทุนทางสังคมสังคม โดยใช้เทคนิค "โยงใยใครเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง" และ เทคนิค "เข้าใจ ให้ความสำคัญ" 2) การพัฒนาศักยภาพของผู้ร่วมกระบวนการ โดยใช้เทคนิค "การเรียนรู้แบบผู้ใหญ่" 3) การกำหนดเป้าหมายร่วมกัน ใช้เทคนิค "ตรงประเด็น เห็นภาพ" 4) กระบวนการขับเคลื่อนที่มีการออกแบบกิจกรรม "ให้ประชาชนเป็นเจ้าของปัญหาสุขภาพ" ประชาชนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการแต่ละขั้นตอน สำหรับเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการพัฒนาระบบการจัดการสุขภาพ พบว่า ตำบลทุ่งพงมีทุนทางสังคมที่หลากหลายและมีศักยภาพ โดยเฉพาะทุนมนุษย์และทุนวัฒนธรรม ที่สามารถผนึกกำลังในการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายร่วมกัน คือ การควบคุมโรคไข้เลือดออกได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่พบผู้ป่วยอีกในปี พ.ศ. 2560 และดัชนี CI เป็น 0 ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งนี้ การที่ภาคีเครือข่ายจะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาสุขภาพ บุคลากรทางสุขภาพควรเข้าใจบริบทของพื้นที่ และเข้าใจกระบวนการมีส่วนร่วม นอกจากนี้ควรพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความไวเชิงวัฒนธรรม ไวต่อสถานการณ์ และมีทักษะในการสื่อสารทางสังคม

References

กรมควบคุมโรค. (2548). ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2559, จากold.ddc.moph.go.th/cdc/edoc/ opdc/2548/2)KPI_2548.doc.

เดชา แซ่หลี, กฤตพงษ์ โรจนวิภาต, สุกัญญา หังสพฤกษ์, ชิดสุพางค์ ทิพย์เที่ยงแท้, ชาลีมาศ ตันสุเทพวีรวงศ์ และ ทัศนีย์ ญานะ.(2557). เสริมคุณค่าปฐมภูมิด้วยระบบสุขภาพระดับอำเภอ (รสอ.). โครงการพัฒนาองค์ความรู้ แนวคิดและจัดพิมพ์ผลงานการพัฒนากลไกระบบสุขภาพระดับอำเภอ มูลนิธิแพทย์ชนบท. สืบค้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559 , จาก koonnapab.com/gallery/valuedhs.pdf.

เบญจา ยอดดำเนิน, บุปผา ศิริรัศมี และ วาทินี บุญชะลักษี (2548). การศึกษาเชิงคุณภาพ: เทคนิคการวิจัยภาคสนาม. นครปฐม: โครงการเผยแพร่ข่าวสารและการศึกษาด้านประชากร สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2552). องค์การและการบริหารจัดการ. กรุงเทพฯ: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

เพ็ญจันทร์ สิทธิปริชาชาญ และ ปนัดดา ปริยฑฤฆ. (2557). "กระบวนการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพชุมชน: 14 กรณีศึกษาในชุมชนพื้นที่ภาคกลาง". วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 28(1) : 2-15.

รัชนี สรรเสริญ, วรรณรัตน์ ลาวัง, เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ, วัฒนา บรรเทิงสุข และ ปิ่นนเรศ กาศอุดม. (2553). "คุณภาพการดำเนินงานระบบหลักประกันสุขภาพในชุมชน : บทเรียนรู้จากไทย". วารสารการพยาบาลและการศึกษา. 3(3): 92-105.

เรมวล นันท์ศุภวัฒน์, สุนีย์ จันทร์มหเสถียร, ลดาวัลย์ ภูมิวิซซุเวช, อำไพ จารุวัชรพาณิชกุล, จันทรรัตน์ เจริญสติ, ผ่องศรี เกียรติเลิศนภา และ วราพร สุนทร. (2555). "การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน โดยชุมชน เพื่อชุมชน กรณีศึกษาชุมชนตำบลไชยสถาน". พยาบาลสาร. 39(2): 144-154.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. (2558). สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ประจำสัปดาห์ที่ 52 ปี 2558. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2559, จาก https://www.m-society.go.th/article_attach/16325/19264.pdf.

สุวรรณี คำมั่นและคณะ. (2551). ทุนทางสังคมกับการพัฒนาทุนมนุษย์ ในการสัมมนาวิชาการประจำปี 2551. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2559, จาก https://www.rtna.ac.th/departments/Law/internet/humanrelation2.pdf.

อัญชลี ชุมนุม และ ธรรมนิตย์ วราภรณ์. (2557). "ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการมีส่วนร่วมที่มีความสัมพันธ์ต่อการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่". วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 4(2): 37-43.

Cohen, J and N.T. Uphoff. (1980). Participation's Place in Rural Development : Seeking Clarify Through Specificity. World Development 8.

NickYphantides, Steven Escoboza and Nick Macchione. (2015). "Leadership in public health : New Competencies for the Future". Front Public Health. 24(3) : 1-3.

WHO.(2016). Dengue and severe dengue. [Online]. Retrieved April 7, 2016, from https://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs117/en/.

WHO.(2010). Primary Health Care : The Basis for Health system Strengthening. New Delhi, India : WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-09-30