ผลของการพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยกระดูกต้นขาหัก ภายหลังการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกภายใน

ผู้แต่ง

  • กรเกล้า รัตนชาญกร มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสภาพของผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักภายหลังการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกภายใน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักที่ได้รับการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกภายใน ที่รับไว้ในหอผู้ป่วยใน แผนกศัลยกรรม กระดูก โรงพยาบาลนครปฐม จำนวน 60 คน แบ่งเป็น กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ จำนวน 30 คน และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสภาพตามแนวคิดทฤษฏีการสร้างแรงจูงใจของโรเจอร์จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์การรับรู้ความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด การรับรู้โอกาสเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ความคาดหวังในประสิทธิผล ของการปฏิบัติตนหลังการผ่าตัด และความคาดหวังในความสามารถของตนเองในการปฏิบัติตนหลังการผ่าตัด และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสภาพมีคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรที่ศึกษาทุกด้านภายหลังผ่าตัดสูงกว่าก่อนผ่าตัด (p<.05) และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาล เพื่อการฟื้นฟูสภาพมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยง ของภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (p<.05) และไม่พบความแตกต่างกันของคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ ความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ความคาดหวังในประสิทธิผลของการปฏิบัติหลังการผ่าตัด ความคาดหวังในความสามารถของตนเองภายหลังการผ่าตัด และความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันหลังการผ่าตัดระหว่าง กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสภาพ (p>.05) ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย พยาบาลและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดยึดตรึงกระดูกสามารถนำ การพยาบาลเพื่อการฟื้นฟูสภาพตามแนวคิดทฤษฏีการสร้างแรงจูงใจของโรเจอร์ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยภายหลังการผ่าตัดยึดตรึงกระดูก และประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยหลังการผ่าตัดกลุ่มอื่นๆ เพื่อเพิ่มการรับรู้โอกาสเสี่ยงของภาวะ หลังแทรกซ้อนหลังผ่าตัด เพิ่มความรู้ในการปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด และส่งเสริมฟื้นฟูสภาพหลังการผ่าตัด

References

ชนิกานต์ สมจารี. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงของสตรีไทยมุสลิมกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลับสงขลานครินทร์.

นงเยาว์ ภูริวัฒนกุล วิลาวรรณ ทิพย์มงคลและกาญจนา วงษ์เลี้ยง. (2549). "ผลของการความรู้ผ่านโทรศัพท์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยกระดูกฟีเมอร์หักระยะฟักฟื้น". สงขลานครินทร์เวชสาร. 25(1) : 19-27.

เตือนใจ หมวกแก้ว. (2540). การประยุกต์ทฤษฏีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของนายทหารชั้นประทวน จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเอกสุขศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยามหิดล.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ: ยูแอนไออินเตอร์มีเดีย. พิเชษฐ์ ศิริวัฒนสกุล. (2550). "แนวทางการรักษาผู้ป่วยกระดูกต้นขาหักแบบปิดในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช". วารสารวิชาการสาธารณสุข. 16(5) : 698-703

รุ่งทิพย์ โชคไพรสิน. (2550). เวชศาสตร์ฟื้นฟูผู้ป่วยกระดูกหัก. ในเอกสารประกอบการอบรม หลักสูตรการพยาบาลทางออร์โธปิดิกส์และเวชศาสตร์ฟื้นฟู. กรุงเทพฯ :โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

วิรุฬห์ เหล่าภัทรเกษม. (2539). พื้นฐานวิชากระดูกหัก- ข้อเคลื่อนหลุด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โอ. เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

มานพ ประภาษานนท์. (2543). นวดไทย สัมผัสบำบัดเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพ : เรือนบุญ .

มานี หาทรัพย์ และคณะ. (2557). "ความสามารถของผู้ดูแลหลักในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัด โรงพยาบาลสงขลานครินทร์".วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 34(2): 53-66.

สมชัย ปรีชาสุขและคณะ. (2544). Fracture healing. ออร์โธปิดิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพ ฯ .โฆสิตการพิมพ์.

สถิติหอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกหญิง โรงพยาบาลนครปฐม, 2555-2557. (2557). นครปฐม. โรงพยาบาลนครปฐม.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2554). "ผู้สูงอายุไทยมีแนวโน้มกระดูกต้นขาแตก หัก ร้าว เพิ่มขึ้นดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการวางแผนการดูแลอย่างเป็นระบบุ". สาระสุขภาพ. 4(40)

สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. (2537). "ภาวะทุพพลภาพ: ปัญหาของผู้สูงอายุ". Chula Medical Journal. 38(2) : 67-75.

Bitsch, M. S., Foss, N. B., Kristensen, B. B., & Kehlet, H. (2006). "Acute cognitive dysfunctionAfter hip fracture : Frequency and risk factors in an optimized, multimodal,rehabilitation program". Actae Anaesthesiologica Scandinavica. (50) : 428-436.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavior sciences . 2nd ed. Hillsdale NJ : Lawrence Erlbaum.

Edlund, A., Lundstrom, M., Brannstrom, B., Bucht, G., & Gustafson, Y. (2001). "Delirium before and after operation for femoral neck fracture". Journal of the American Geriatrics Society. 49(10) : 1335-1340.

Givens, J. L., Sanft, T. B., & Marcantonio, E. R. (2008). "Functional recovery after hip fracture: The combined effects of depressive symptoms, cognitive impairment, and delirium" . Journal of the American Geriatrics Society. 56(6) : 1075-1079.

Harty, J. A., McKenna, P., Moloney, D., D'Souza, L.D., & Masterson, E. (2007). "Anti-platelet Agents and surgical delay in elderly patients with hip fracture". Journal of Orthopedic Surgery. 15 (3) : 270-272.

Karen MacDonell, Xing Chen, Yaqiong Yan, Fang Li, Jie Gong, Huiling Sun, Xiaoming Li Bonita Stanton. (2013). "A protecton Motivation Theory-Based Scale for Tobaco Research among Chinese Youth". Addiction Research & Thera.4(3) : 1-7.

Mahoney, F. I. & Barthel, D. W. (1965). "Functional evaluation : The Barthel Index ". Maryland State Medical Journal. (14) : 61-65.

Parker, M. & Johansen, A. (2006). "Hip fracture". British Medical Journal. 333 (755) : 27-30.

Piyapong Janmaimool. (2017). "Application of Protection Motivation Theory to Investigate Sustainable Waste Management Behaviors". Sustainability. (9) : 1-16 .

Roger, R.W. (1975). "A Protection Motivation Theory of fear appeals and attitude change". Journal of Psychology. 3(5) : 58-59.

Rogers, R. W. (1983). Cognitive and physiological processes in fear-based attitude change : arevised theory of protection motivation. In J. Cacioppo & R. Petty (Eds.), Social psychophysiology : A source book New York, NY: Guilford Press.

Shah, S., Vanclay, F., & Copper, B. (1989). "Improving the sensitivity of the Barthel Index for stroke rehabilitation". Journal of Clinical Epidemiology. 42(8) : 703-709.

Somsri Sricharoennjira. (2003). The Effectiveness of Health Education Program on Prevention of Complications among Patients with Operated Fracture of Shaft of Femur. The Degree of Master of Science (Public Health) Major in Health Education and Behavioral Sciences Faculty of Graduated Studies, Mahidol University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-31