ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศูนย์ภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • วิไลภรณ์ พุทธรักษา มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด, สิ่งแวดล้อมในการทำงาน, โรงพยาบาลศูนย์ภาคตะวันออก

บทคัดย่อ

             สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด เป็นสิ่งสำคัญต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย นำไปสู่ผลลัพธ์และคุณภาพที่ดีในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และสิ่งแวดล้อมในการทำงานกับสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศูนย์ ภาคตะวันออก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นพยาบาลห้องผ่าตัด ตามคุณสมบัติที่กำหนด และการสุ่มอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 105 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด และแบบสอบถามการรับรู้สิ่งแวดล้อมในการทำงานของพยาบาลห้องผ่าตัด ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นแอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .97 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson's product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศูนย์ ภาคตะวันออก มีสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดโดยรวมอยู่ในระดับสูง (M = 281.43, S.D. = 26.05) มีการรับรู้สิ่งแวดล้อมในการทำงานโดยรวม อยู่ในระดับพอใช้ (M = 89.87, S.D. = 13.45) ปัจจัยด้านประสบการณ์การทำงาน และการรับรู้สิ่งแวดล้อมในการทำงาน มีความสัมพันธ์ทางบวก ในระดับปานกลาง กับสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .314, p < .001, r = .304, p < .001 ตามลำดับ) ส่วนการได้รับการอบรมเพิ่มเติม ไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติ กับสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด ผลการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปใช้พัฒนาคุณภาพงานบริการผ่าตัด โครงการสร้างเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดีในการทำงาน ควบคู่กับการพัฒนาสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด ให้เกิดความเจริญก้าวหน้าให้กับวิชาชีพพยาบาล

References

จงจิต เลิศวิบูลย์มงคล. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การได้รับการเสริมสร้างพลังอำนาจในงาน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.

เตือนใจ พิทยาวัฒนชัย. (2548). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธิดานุช เพียรชูชัย. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิพย์ภาพร ประยูรสวัสดิ์เดช. (2553). สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศูนย์ภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

นันทพร ศรีเมฆารัตน์. (2554). คุณลักษณะผู้นำของพยาบาลหัวหน้างานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

เบญจมาศ ปรีชาคุณ. (2554). การพัฒนาระบบประเมินพัฒนาการด้านความรู้ความสามารถของพยาบาล งานการพยาบาลผ่าตัด โรงพยาบาลศิริราช. ดุษฏีนิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต, สาขาวิชาการประเมินการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เพชรดา ห้วยเรไร. (2548). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศูนย์กระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรทิภา ซาบุตร. (2555). ความสัมพันธ์ของภาวะสุขภาพจิต สิ่งแวดล้อมในการทำงานและความสามารถในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย.

รุ่งนภา เปล่งอารมณ์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศองค์การกับสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

เรณู อาจสาลี. (2553). การพยาบาลผู้ที่มารับการผ่าตัด (Perioperative nursing).(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : เอ็น พี เพรส.

โรงพยาบาลคัดสรรแห่งหนึ่ง. (2558). งานสถิติโรงพยาบาลชลบุรี. ชลบุรี : โรงพยาบาลชลบุรี

สิริรักษ์ เจริญศรีเมือง. (2551). ปัจจัยคัดสรรกับสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลศูนย์. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2558). กฏหมายและข้อควรระวังสำหรับพยาบาลห้องผ่าตัด: Excellent peripoerative nursing. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการและประชุมใหญ่สามัญประจำปี Perioperative Nursing Care Conference 9: 108-110. สมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย, ศูนย์นิทรรศการและการประชุม (ไบเทค).

สุลักขณา จันทวีสุข. (2549). ปัจจัยพยากรณ์สมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดในโรงพยาบาลศูนย์ และโรงพยาบาลประจำจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารบริการสุขภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ศิริพร พุทธรังษี. (2559). Issue and trend of perioperative nursing.: Perioperative Nursing Engagement: How to Meet the Challenge. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการและประชุมใหญ่สามัญประจำปี Perioperative Nursing Care Conference 10 : 6-10. สมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย ศูนย์นิทรรศการและการประชุม (ไบเทค).

อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์ และคณะ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมในการทำงานของพยาบาลกับผลลัพธ์ของผู้ป่วยและพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทย. Nursing Journal, 41(1) : 34-39.

อภิวันทน์ ไทยงามศิลป์. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงาน คุณลักษณะทั่วไปของพยาบาลวิชาชีพ กับตัวชี้วัดผลลัพธ์ทางการพยาบาลของหอผู้ป่วยด้านความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลทั่วไป ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

AORN. (2006). Perioperative standards, recommended practices, and guideline. Denver : Association of Operating Room Nurse.

Benner, P. E. (1984). From novice to expert: excellence and power in clinical nursing practice. California : Addison-Wesley.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, G. A. & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2) :175-191.

Gillespie, B. M., & Chaboyer, W., Wallis, M., Chang, H. A. & Werder, H. (2009). Operating theatre nurses' perceptions of competence: a focus group study, Journal of Advanced Nursing. 65(5) :1019 - 1028.

Joint Commission International (JCI), (2014). Survey process guide for hospitals. including surveys for academic medical center hospitals. 5th Edition.

Lake, E. (2002). Development of the practice environment scale of the nursing work index. Research in Nursing and Health. 25(3) : 176-188.

Leodoro, J. L., Dolores L. A., Begonia C. Y., & Nenita F. P. (2012). Operative room nurse? knowledge and practice of sterile technique. Retrieved from https://www.omicsgroup.org/journals/operating-room-nurses-knowledge-and-practice-of-sterike-technique-2167-1168.1000113.php?aid=8639.access to 20 march16.

Leonard, M., Graham, S., & Bonacum, D. (2004). The human factor: the critical importance of effective teamwork and communication in providing safe care. Quality Safety Health Care. 3(1) : 185-190.

Polit, D. F., & Sherman, R. E. (1990). Statistical power in nursing research . Philadelphia :Lippincott.

Nestel, D., & Kidd, J. (2006). Nurses's perceptions and experiences of communication in the operating theatre: a focus group interview. BMCN Nursing. Retrieved from https://www.biomedcentral.com/1472-6955/5/1.(Accessed on 14th September 2016).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-31