การประเมินผลโครงสร้างต้นทุน ผลตอบแทน และอัตราส่วนทางการเงินของการเพาะปลูกส้มโอในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • กสมล ชนะสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

คำสำคัญ:

ต้นทุน, ผลตอบแทน, อัตราส่วนทางการเงิน, การเพาะปลูกส้มโอ

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุน และผลตอบแทนของการเพาะปลูกส้มโอในจังหวัดนครปฐม 2) วิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินของการเพาะปลูกส้มโอในจังหวัดนครปฐม  ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกในเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนส้มโอนครชัยศรี ซึ่งอยู่ในอำเภอสามพราน จำนวน 21 คน และอำเภอนครชัยศรี จำนวน 28 คน รวมทั้งหมด 49 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling Technique) วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุน ผลตอบแทน และอัตราส่วนทางการเงิน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การเพาะปลูกส้มโอพันธุ์ทองดีตลอดอายุ    20 ปี มีโครงสร้างต้นทุนรวมเฉลี่ย 42,545 บาทต่อไร่ ประกอบด้วย ต้นทุนคงที่เฉลี่ย 1,299 บาทต่อไร่ และต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 41,246 บาทต่อไร่ และเมื่อคิด 20 ปีพบว่ามีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเฉลี่ย (NPV) 791,608.35 บาทต่อไร่ อัตราผลตอบแทนของโครงการ (IRR) คิดเป็นร้อยละ 22.30 และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (BCR) คิดเป็น 2.96 เท่า แสดงให้เห็นว่าการเพาะปลูกส้มโอ มีความคุ้มค่าต่อการลงทุน และการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน มีอัตราส่วนกำไรขั้นต้นต่อยอดขายสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 99.90 ในปีที่ 13 และอัตราส่วนกำไรสุทธิต่อยอดขายสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 86.31 ในปีที่ 15 ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายคือ ให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาให้ความรู้ด้านกระบวนการผลิตทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) ที่เหมาะสมให้กับเกษตรกร และเกษตรกรควรทำการวางแผนและวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิต คำนึงถึงการบริหารต้นทุนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และให้เกษตรกรนำเทคโนโลยี ข้อมูลสารสนเทศเข้ามาช่วยในการวางแผน วิเคราะห์การเพาะปลูกส้มโอ เพื่อให้ได้ผลผลิตตรงตามความต้องการของผู้บริโภค และนำไปสู่การพัฒนาตนเอง เข้าสู่การเป็นผู้นำด้านการเกษตร หรือ Smart Farmer

References

เกศินี เวทยาวงศ์. (2551). การวิเคราะห์ระยะเวลาที่เหมาะสมในการปลูกทดแทนส้มโอและความคุ้มค่าทางการเงินของการลงทุนทำสวนส้มโอ ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์. (2555). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

นันทพร พิทยะ และคณะ. (2555). การบัญชีบริหาร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แมคกรอฮิล.

นงนุช อังยุรีกุล. (2550). เศรษฐกิจการผลิตและการตลาดส้มโอในภาคกลาง. กรุงเทพฯ : คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ประชาชาติธุรกิจ เศรษฐกิจในประเทศ. "ญี่ปุ่น" ไฟเขียวนำเข้า "ส้มโอไทย" ผลผลิตไม่พอขายต่างชาติแห่ซื้อ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2560, จาก https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1484488019.

มัลลิกา จินดาจำนง. (2554). การวิเคราะห์ทางการเงินของธุรกิจสวนส้มโอเพื่อส่งออก อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการเกษตรมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ริญญารัตน์ อุดม. (2558). "การวิเคราะห์ความคุ้มค่าการลงทุนทางการเงินและความเสี่ยงของการผลิตส้มโอพันธุ์ทองดีในจังหวัดชัยภูมิ". วารสารแก่นเกษตร. 43(1) : 253-259.

ศดานันท์ กมลรัตนะกูล. (2553). ต้นทุนและผลตอบแทนในการรวบรวมผลผลิตส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวาของ สหกรณ์การเกษตรมโนรมย์ จำกัด จังหวัดชัยนาท. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมส่งเสริมการเกษตร. (2559). การปลูกพืช. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2559, จาก https://production.doae.go.th.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2558). สารสนเทศเศรษฐกิจการเกษตรรายสินค้าปี 2558. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

สมนึก เอื้อจิรพงษ์พันธ์. (2551). การบัญชีต้นทุน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แมคกรอฮิล.

อภิชาติ พงศ์สุพัฒน์. (2550). การเงินธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-31