ความเชื่อด้านสุขภาพและการปฏิบัติในการป้องกันโรคมือเท้าปาก : กรณีศึกษา ผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ผู้แต่ง

  • อิสรา จุมมาลี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา (Case study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อด้านสุขภาพและการปฏิบัติในการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของจังหวัดแห่งหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้ดูแลเด็กจำนวน 7 คน คัดเลือกด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อด้านสุขภาพตามการรับรู้ของผู้ดูแลเด็ก มี 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมือเท้าปาก 2) การรับรู้ความรุนแรงจากโรคมือเท้าปาก 3) การรับรู้ประโยชน์ต่อการป้องกันโรคมือ เท้าปาก และ 4) การรับรู้อุปสรรคต่อการป้องกันโรคมือเท้าปากและในส่วนของการปฏิบัติในการป้องกันโรคมือเท้าปากนั้นพบว่ามี 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) อนามัยส่วนบุคคลของผู้ดูแลเด็ก 2) การดูแลเด็ก และ 3) การดูแลสิ่งแวดล้อมภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดังนั้น ควรนำผลการวิจัยไปใช้ในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากให้กับผู้ดูแลเด็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต่อไป

References

กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. (2550). แนวทางการปฏิบัติงานโรคมือเท้าและปากและการติดเชื้อแอนเทอโรไวรัส7สำหรับบุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพ ฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล (สำหรับครูผู้ดูแลเด็ก). สมุทรสาคร : บริษัท บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง จำกัด.

เกศราเสนงามแจ่มจันทร์กุลวิจิตรและลักขณาคงแสง. (2555). "ภาวะสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพของเด็กที่รับบริการที่ฝ่ายพัฒนาเด็กปฐมวัย". วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 32(1) :11-26.

ชาย โพธิสิตา. (2554). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนพลับลิชชิ่ง.

ณัฐวุฒิ อุดมสารีและธนัช กนกเทศ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเขตตำบลชุมตาบง อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ครั้งที่ 4, 10 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

นาตยา สุขจันทร์ตรี ชมนาด วรรณพรศิริ สาโรจน์ สันตยากร และทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์.(2555). "ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากในเด็กเล็กของผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็กอำเภอ เมืองจังหวัดกำแพงเพชร". วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 6(1): 52-62.

พัชราภรณ์ บดีรัฐ. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์เด็กเล็ก อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พัชราภรณ์ ไพศาขมาส. (2554). การปฏิบัติของผู้ดูแลเด็กและสุขอนามัยของเด็กรวมทั้งสิ่งแวดล้อมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่เกิดโรคมือเท้าและปาก อำเภอดอยเต่า จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภัทร วาศนา และอดิศักดิ์ สัตย์ธรรม. (2558). "ประสิทธิผลของการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมตามบริบทที่เน้นความเสี่ยงและการสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมป้องกันโรคมือเท้าปากในศูนย์พัฒนาเด็กล็ก".วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 4(2) : 7-18.

วิภาดา แสงนิมิตชัยกุล และปรีย์กมล รัชนกุล. (2559). "ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อโรคมือเท้าปากของผู้ดูแลเด็กในสถานรับเลี้ยงเด็กเล็กวัยก่อนอนุบาลและผู้ปกครอง". รามาธิบดีพยาบาลสาร.21(3) : 336-351.

สมพงษ์ ภูผิวฟ้า. (2557). "พฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันโรคมือเท้าปากของผู้ดูแลเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์". วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 7(1) : 195-203.

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2558). กรมควบคุมโรค พยากรณ์ 5 โรคสำคัญและ 4 ภัยสุขภาพที่ต้องเฝ้าระวังในปี 2559 คาดว่าไข้เลือดออกจะพบผู้ป่วยถึง 1.6 แสนราย และไข้หวัดใหญ่กว่า 7.2 หมื่นราย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2559, จากhttps://pr.moph.go.th/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=78450.

แสงดาว เกษตรสุนทร นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล และจิตตาภรณ์ จิตรีเชื้อ. (2548). "ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการคัดกรองโรคมือเท้าและปากของครูพี่เลี้ยงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในภาคใต้". พยาบาลสาร. 42(1) : 74-84.

อุดมลักษณ์ เพียรสุขเวช. (2556). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันโรคมือเท้าปากในวัยเด็กโดยการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อัจจิมา ชนะกุล. (2558). "พฤติกรรมของครูต่อการควบคุมป้องกันโรคมือเท้าปากในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่". วารสารพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 8(3) : 453-468.

Graham. B.S. (2007). Hand-Foot-Mouth Disease. [Online]. Retrieved January 14, 2017, from https://www.emedicine.com/derm/topic175.htm.

Jinadu. M.K., Adegbenro. C.A., Esmai. A.O., Ojo. A.A., &Oyeleye. B.A. (2007). "Health promotion intervention for hygienic disposal of children's faeces in a rural area of Nigeria". Health Education Journal. 66(3) : 222-228.

Kotch. J.B., & et al. (1994). "Evaluation of an hygienic intervention in child day-care centers". Pediatrics. 94(6) : 991-994.

Kotch. J.B., &et al. (2007). "Hand-washing and diapering equipment reduces disease among children in out-of-home child care centers". Pediatrics. 120(1) : e29-e36.

Luby. S.P., Halder. A.K., Huda. T., Unicomb. L., & Johnston. R. B. (2011). "The effect of handwashing at recommended times with water alone and with soap on child diarrhea in rural Bangladesh: an observational study". PLoS Med. 8(6) : e1001052.

Rosenstock, I. M., Strecher, V. J., & Becker, M. H. (1988). "Social learning theory and the health belief model". Health Education Quarterly. 15(2): 175-183.

Torner Gr cia. N., & et al. (2012). "Factors associated to duration of hepatitis A outbreaks: implications for control". PLoS One. 7(2) : e31339.

World Health Organization Western Pacific Region.(2013). Emerging Disease Surveillance and Response Hand, Foot and Mouth Disease. [Online]. Retrieved December 1, 2013, from https://www.wpro.who.int/emerging_diseases/HFMD.Biweekly.21Aug2013.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-31