การรับรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองและการจัดการของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง

ผู้แต่ง

  • กรุณา ประมูลสินทรัพย์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

การรับรู้, สัญญาณเตือน, โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

            การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองและการจัดการโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูงโรคหลอดเลือดสมอง ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา โดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 49 คน

            เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม 4 ส่วน ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามการรับรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถามการจัดการเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และแบบสอบถามการจัดการอาการเตือนในภาวะฉุกเฉินโรคหลอดเลือดสมอง หาค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์ แอลฟาของครอนบาค (Cronbach's coefficient alpha) ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.78 0.80 และ 0.77 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

            ข้อค้นพบจากการศึกษา แสดงว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง การจัดการเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และการจัดการอาการเตือนในภาวะฉุกเฉินโรคหลอดเลือดสมอง มีค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ระดับการศึกษาและรายได้มีความสัมพันธ์กับการรับรู้และการจัดการของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศ อายุ อาชีพ และระยะเวลาที่เจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงไม่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้และการจัดการของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ว่าบุคลากรสุขภาพควรตระหนักถึงการรับรู้ และการจัดการอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองโดยเฉพาะบุคคลที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป มีรายได้น้อย เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินและการจัดการอาการเตือนที่เหมาะสมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก และควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองและการจัดการเบื้องต้นเมื่อมีสัญญาณเตือนแก่ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง

References

ธัญลักษณ์ ประเสริฐศรี. (2551). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและการวางแผนจำหน่าย : รายการผู้ป่วย. วารสารวิชาการ รพศ/รพท.เขต 4. 10(6), 1205-1209.

นิตยา สุภาภรณ์. (2552). การศึกษาการรับรู้ต่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนชุมชนบางไผ่. รายงานวิจัย นนทบุรี : วิทยาลัยราชพฤกษ์.

ประไพ กิตติบุญถวัลย์, ศิริธร ยิ่งเรงเริง, ศุภลักษณ์ ศรีธัญญา. (2556). การรับรู้สัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 23(3), 132-41.

พรปวีณ์ ชื่นใจเรือง และวรรณภา ศรีธัญรัตน์. (2555). การรับรู้และการจัดการอาการเตือนของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ. 35(3), 48-61.

วันวิสา รอดกล่อม, นิสาพร วัฒนศัพย์, ปัทมา สุพรรณกุล และอรอุษา สุวรรณประเทศ. (2555). การสนับสนุนทางสังคมและความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ ที่มารับบริการของโรงพยาบาลพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. Journal of Nursing and Health Sciences. 6(2), 76-88.

หัสยาพร มะโน. (2552). การรับรู้อาการเตือนโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลลอง จังหวัดแพร่. การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2556). สถานะสุขภาพ จำนวนและอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคสำคัญ ปี พ.ศ. 2537-2555 รายปี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2557, จาก https://thaincd.com/information-statistic/non-communicable-disease-data.php.

Aly, Z., Abbas, K., Kasim, S., Tai, F., Aziz, F., Irfan, A. & et al. (2009). Awareness of stroke risk factors signs and treatment in a Pakistani population. Journal of the Pakistan Medical Association. 59(7) : 495-499.

Charles, E. et al. (2009). Stroke Awareness Among Low Literacy Latinos Living in the South Carolina Low Country. [Online]. Retrieved 30 July 2014, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov.

Hong, K.S. et al. (2013). Knowledge of risk factors, and warning signs of stroke: a systematic Review from a gender perspective. [Online]. Retrieved 30 July 2014, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/21205242.

Itzhaki, M. et al. (2008). Knowledge, perceptions and thoughts of stroke among Arab-Muslim Israelis. Retrieved July 30, 2014, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/23424030.

Marx, J. J., Gube, C., Faldum, A., Kuntze, H., Nedelmann, M., Haertle, B. & et al. (2009). An educational multimedia campaign improves stroke knowledge and risk perception in different stroke risk groups. European Journal of Neurology. 16(5), 612-618.

Molzahn, A.E. & North Coth H.C. (1989). The social bases of discrepancies in health/illness perception. Journal of Advanced Nursing. 14(2), 132-140.

Pancioli, A.M. et al. (1998). Public perception of stroke warning signs and knowledge of potential risk factors. Retrieved 30 July 2014, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov.

Wahab, K.W., Okokhere, P.O., Ugheoke, A. J., Oziegbe, O., Asalu, A, F., & Salami, T. A. (2008). Awareness of warning signs among suburban Nigerians at high risk for stroke is poor: A cross-sectional study. BMC Neurol. 8(18), doi:10.1186/1471-2377-8-18

World Stroke Organization. (2008). 7 World Stroke Congress: statistic. [Online]. Retrieved December 23, 2012, from https://www.worldstroke.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-03-31