ความสำเร็จของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านไร่กองขิง และชุมชนแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • นัชชา เพิ่มสุภัคกุล คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน, การท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่, การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ประสบผลสำเร็จ และ 2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยให้การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ประสบผลสำเร็จ กรณีศึกษา ชุมชนบ้านไร่กองขิง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ และชุมชนบ้านแม่กำปอง อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดย การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย 1) บุคคลที่มีความรู้เกี่ยวกับการจัดการท่องเที่ยวชุมชน จำนวน 18 คน 2) บุคคลที่ทำงานด้านการท่องเที่ยวในชุมชน จำนวน 20 คน 3) บุคคลที่เข้ารับบริการท่องเที่ยวในชุมชน จำนวน 40 คน การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเชิงคุณภาพ 3 ขั้นตอน ได้แก่ การจัดระเบียบข้อมูล (Data Organization) การแสดงข้อมูล (Data Display) และ การตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลโดยใช้วิธีการตรวจสอบสามเส้า (Triangulation) ผลการศึกษาพบความสำเร็จของชุมชนบ้านไร่กองขิงกับชุมชนบ้านแม่กำปอง โดยพิจารณาจากข้อบ่งชี้ความสำเร็จ 5 ด้าน ดังนี้ 1) ปริมาณจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเยือน 2) ชุมชนมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นและมีกระจายรายได้ที่เป็นธรรม 3) ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น 4) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในชุมชน และ 5) การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น สำหรับเงื่อนไขที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้แก่ 1) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ ของผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน 2) การจัดการทรัพยากรท่องเที่ยวทั้งในมิติของความงดงามตามธรรมชาติ และ การเป็นมรดกทางวัฒนธรรม 3) การจัดการให้เกิดคุณภาพให้บริการ 4) ภาวะผู้นำ ที่มีคุณสมบัติของผู้นำการเปลี่ยนแปลง 5) การมีทุนทางสังคม ที่ประกอบด้วย ความไว้เนื้อเชื่อใจ บรรทัดฐานของชุมชน และเครือข่าย 6) การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในด้านงบประมาณ ความรู้ การตลาด ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ

References

กมล รัตนวิระกุล. (2560). การตลาดวิวัฒน์อุตสาหกรรมท่องเที่ยว. สืบค้นจาก http://library.ap.tu.ac.th/dublin. php?ID=13399131277

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2562. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/more_news_new.php?cid=525

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ประวัติหมู่บ้านบ้านไร่กองขิง. สืบค้นจาก https://secretary.mots.go.th.

กิจจา บานชื่อ. (2561). หลักการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ไกรลาศ ปสุวัฒนกุล. (2550). การท่องเที่ยวชุมชน. สืบค้นจาก https://www.chiangmainews.co.th

ฐิติ ฐิติจำเริญพร และคณะ. (2557). การศึกษาขีดความสามารถในการรับรอง (carrying capacity) การท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านแม่กำปอง อำเภออแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยพายัพ.

ฐิติ ฐิติจำเริญพร. (2560). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้พลวัตรของการเปลี่ยนแปลง : บ้านแม่กำปอง ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ:สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).

ธฤษวรรณ มาตกุล. (2556). แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอีสานกรณีศึกษา วัดศิลาอาสน์ (ภูพระ) จังหวัดชัยภูมิ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ประเวศ วะสี. (2544). ภาวะผู้นำ พยาธิสภาพสังคมไทยและวิธีแก้ไข. กรุงเทพฯ: พิฆเณศพริ้นติ้ง เซ็นเตอร์.

พรพิมล เมธาลักษณ์. (2549). การติดตามระบบนิเวศอย่างมีส่วนร่วม : บทเรียนปัจจุบันสู่ทิศทางในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก.

พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2552). องค์การและการบริหารจัดการ. นนทบุรี: ธิงค์ บียอนด์ บุ๊คส์.

มนัส สุวรรณ และคณะ. (2541). โครงการศึกษาแนวทางและการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลและสภาตำบล. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

วรพงศ์ ผูกภู่. (2560). การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้พลวัตของการเปลี่ยนแปลง:บ้านแม่กำปอง ตำบลห้วยแก้ว อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

วรพล วัฒนเหลืองอรุณ, กริช สะอิ้งทอง และอัศวินี ไชยวุฒิ. (2562). การศึกษาเอกลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยวบนพื้นฐานของการจัดการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน พื้นที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัย-ราชภัฏเชียงใหม่, 20(2), 53-68.

วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. (2551). ทุนทางสังคม : กระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดการสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2560). สวัสดิการชุมชนกับการสร้างสังคมเข้มแข็งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารร่มพฤกษ์, 35(1), 151.

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2562). การจัดการคลัสเตอร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 11 (1), 83-101.

สุพรรณี ไชยอำพร. (2556). การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อการพัฒนา: แนวความคิด วิธีการ และการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 ขอนแก่น. (2559). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism). สืบค้นจาก https://ewt.prd.go.th/ewt/region1/ewt_news.php?nid=43329&nid=43329

สำนักงานสถิติการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่. (2559). เอกสารรายงานสถิติรายได้ทั้งหมดจากการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ในปี 2559. สืบค้นจาก http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries23.html

เอนก นาคะบุตร. (2545). ทุนทางสังคมและประชาสังคมในเมืองไทย. กรุงเทพฯ : ๒๑ เซ็นจูรี่.

Patnam, R. D. (1995). Bowling Alone: America’s Declining Social Capital., The Journal of Democracy, 6 (1), 65-78.

Uphoff, Norman. (2000). Social Capital: A Multifaceted Perspective, Sociological Perspectives on Development series (pp.215-52). Washington, D.C.: World Bank.

Weforum. (2019). Travel & Tourism Competitiveness Report 2019. Retrieved from http://www3.weforum.org/docs/WEF_TTCR_2019.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-15