อิทธิพลของมาตรฐานการปฏิบัติงาน ความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ และการพัฒนาศักยภาพทางการบัญชีต่อคุณภาพการปฏิบัติงานการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • รัชนี บินยาเซ็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

คำสำคัญ:

มาตรฐานการปฏิบัติงาน, ความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ, การพัฒนาศักยภาพทางการบัญชี, คุณภาพการปฏิบัติงาน, การสอบบัญชี

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยต่อคุณภาพการปฏิบัติงานทางการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและผู้ช่วยผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 200 ราย สถิติที่ผู้วิจัยใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการตรวจสอบภาวะร่วมเส้นตรงพหุด้วยการหาค่าความแปรปรวน (Tolerance และค่า VIF) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ (Multiple regression     analysis) ณ ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

          ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 30-40 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมีประสบการณ์ในการสอบบัญชี 5-10 ปี มีจำนวนธุรกิจที่รับตรวจสอบในแต่ละปีต่ำกว่า 50 แห่งธุรกิจมีการให้บริการที่ปรึกษาด้านบัญชี/ภาษีที่นอกเหนือจากการสอบบัญชี มีจำนวนชั่วโมงที่เข้ารับการอบรมและสัมมนาด้านการบัญชี/การสอบบัญชีหรือด้านอื่นๆ มากกว่า 18 ชั่วโมง/ปี การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ประกอบด้วย การปฏิบัติงานโดยความรู้ความสามารถในวิชาชีพ การปฏิบัติงานด้วยความชำนาญ การปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังรอบคอบอยู่ในระดับมาก และการปฏิบัติงานตามกฎหมายอยู่ในระดับมากที่สุด ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความซื่อสัตย์ในวิชาชีพที่ประกอบด้วยความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความมีคุณธรรม การปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ การรักษาความลับอยู่ในระดับมากที่สุด และการปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมาอยู่ในระดับมาก ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพทางการบัญชีด้านทักษะทางวิชาชีพบัญชีอยู่ในระดับมาก และคุณค่าแห่งวิชาชีพบัญชีอยู่ในระดับมากที่สุดผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า มาตรฐานการปฏิบัติงานที่ประกอบด้วย การปฏิบัติงานโดยความรู้ความสามารถในวิชาชีพ การปฏิบัติงานด้วยความชำนาญ การปฏิบัติงานตามกฎหมายและการปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังรอบคอบมีอิทธิพลทางบวกต่อคุณภาพการปฏิบัติงานทางการสอบบัญชีในด้านคุณภาพของงาน ความซื่อสัตย์ ในวิชาชีพด้านความรับผิดชอบต่อหน้าที่ความมีคุณธรรมการปฏิบัติอย่างตรงไปตรงมาและการพัฒนาศักยภาพทางการบัญชีที่ประกอบด้วย ทักษะทางวิชาชีพบัญชี และคุณค่าแห่งวิชาชีพบัญชีมีอิทธิพลทางบวกต่อคุณภาพการปฏิบัติงานทางการสอบบัญชีในด้านคุณภาพของงาน ผลการวิจัยในครั้งนี้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตควรให้ความสำคัญกับคุณภาพการปฏิบัติงานการสอบบัญชีโดยปฏิบัติงานด้วยความรู้ความสามารถทางวิชาชีพด้วยความชำนาญการอย่างระมัดระวังรอบคอบด้วยความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีคุณธรรมและพัฒนาศักยภาพทางการบัญชีในด้านทักษะทางวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นไป

References

คัทลียา ณ รุณ. (2557). ผลกระทบของมาตรฐานการปฏิบัติงานมีผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานทางการบัญชีของผู้ทำบัญชีในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต สาขาบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี, หสม.

นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2554). เอกสารวิชาการการสอบบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ. ที พี เอ็น เพรส.

ประภาพร วีระสอน. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานทางการบัญชีกับความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต สาขาบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ลลิตา แว่นแก้ว. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติทางการบัญชีที่ดีกับคุณภาพการทำงานของผู้ทำบัญชีในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต สาขาบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วจน์สิร ประยูรพรหม. (2558). อุตสาหกรรมไทยมุ่งสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2560. จากwww.diw.go.th/hawk/news/กรมโรงงานอุตสาหกรรม.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (2552). มาตรฐานการปฏิบัติงาน. 3 สิงหาคม 2552. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2560 จาก https://www.sec.or.th.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ก.ล.ต. (2560). รายชื่อผู้สอบบัญชีที่ได้รับความเห็นชอบ. ณ วันที่ 30 เมษายน 2560. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2560 จาก https://www.sec.or.th.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI). (2558). นโยบายส่งเสริมการลงทุนของต่างชาติ. มีนาคม 2558. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2559 จาก https://www.boi.go.th/.

เอมิกา ภูยาดวง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความซื่อสัตย์ในวิชาชีพกับความสำเร็จในการทำงานของผู้ทำบัญชีในจังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต สาขาบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เอื้อมอุรา พรมจันทร์. (2551). สภาพและปัญหาในการปฏิบัติงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บัญชีมหาบัณฑิต สาขาบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Tepprasit, P., & Paopan, N. (2016) The Components of Reverse Logistics Management. Middle-East Journal of Scientific Research. 24(4), 1477-1482.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-03-31