การประยุกต์ใช้แอนิเมชันสำหรับเด็ก

ผู้แต่ง

  • วรรณวิภา วงศ์วิไลสกุล สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

คำสำคัญ:

แอนิเมชัน, คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน, เด็ก

บทคัดย่อ

แอนิเมชันเป็นสื่อสำหรับเด็กที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากมีเนื้อหาเข้าใจง่ายและมีความน่าสนใจ สามารถรับชมได้ทุกชาติทุกภาษา โดยสามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ แอนิเมชันภาพวาด สตอปโมชัน และคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน ในการพัฒนา              แอนิเมชันมีขั้นตอนหลัก ได้แก่ การเตรียมงาน การลงมือผลิตงาน และการตรวจเก็บงาน ทั้งนี้ แอนิเมชันถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้สำหรับเด็กได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสามารถใช้จินตนาการได้อย่างไม่มีขอบเขตและสามารถอธิบายเรื่องที่ซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น จึงมีการประยุกต์ใช้แอนิเมชันสำหรับเด็กในด้านต่างๆ อาทิ ด้านการศึกษา ด้านความบันเทิง ด้านสังคม และวัฒนธรรม รวมถึงด้านการแพทย์และสุขภาพ เป็นต้น แต่เนื่องจากแอนิเมชันมีการสื่อสารได้หลายช่องทาง จึงเป็นหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายใน การดูแลคัดสรรเนื้อหาให้มีความเหมาะสมสำหรับเด็กและคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เด็กได้ซึมซับแต่เนื้อหาที่ดีและเป็นประโยชน์ โดยในอนาคตอาจจะพบว่าแอนิเมชันย้ายแพลตฟอร์มไปอยู่บนอุปกรณ์เคลื่อนที่มากขึ้น และมีเครื่องมือสนับสนุนการสร้างโมเดลสามมิติที่ทันสมัย ซึ่งจะช่วยให้เกิดปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้และเพิ่มประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้แก่ผู้ใช้อย่างไม่รู้จบ

References

กิจติพงษ์ ประชาชิต. (2553). การ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ สำหรับนักเรียนระดับอนุบาล เรื่องการบริโภคผัก. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 2(3), 52-61.

กิจติพงษ์ ประชาชิต, นิรัช สุดสังข์, จิรวัฒน์ พิระสันต์, และ วิติยา ปิดตังนาโพธิ์. (2557). ผลของการ์ตูนแอนิเมชันที่มีต่อการรับรู้และจิตสำนึกด้านวัฒนธรรมของชาวจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 5(2), 42-58.

จันทิมา เยียวรัมย์, พิจิตรา นามโบราณ, และนที ยงยุทธ. (2558). การ์ตูนแอนนิเมชัน เรื่อง การปฏิบัติตัวขณะเกิดแผ่นดินไหว. ในงานประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคอาเซียน 2015. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

ชุติพงศ์ พันธุ์สมบัติ และพงษ์พิพัฒน์ สายทอง. (2559). การพัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ โดยใช้เทคนิคการนำเสนอแบบเล่านิทานเป็นฐานเรื่องการบริโภคอาหาร สำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารอินฟอร์เมชั่น. 23(1), 39-48.

ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. (2552). เทคโนโลยีมัลติมีเดีย. กรุงเทพฯ , เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.

ทินกร ลุนโน และ พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์. (2560). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง น้ำใจ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 3. มหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ทิตาวีร์ อนันต์ และ ศิโรรัตน์ กุลวงศ์. (2559). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสอดแทรกการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง ใบโบก ใบบัว สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กรณีศึกษา: โรงเรียนบ้านแซวประดู่. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2. มหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธรรมศักดิ์ เอื้อรักสกุล. (2547). การสร้างภาพยนตร์ 2D อนิเมชัน. กรุงเทพฯ , มีเดียอินเทลลิเจนซ์เทคโนโลยี.

นรินทร์รัตน์ เย็นจิตร และ นิธินันท์ มาตา. (2559). บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสอดแทรกการ์ตูนแอนนิเมชั่น 2 มิติ เรื่อง โรคมือ เท้า ปาก สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2. มหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

นิพนธ์ คุณารักษ์. (2551). การวิเคราะห์และวิจารณ์ภาพยนตร์แอนิเมชัน. วารสารศูนย์บริการวิชาการ. 16(4), 42-46.

นุชภัทร์ บ้งงึ้ม, วัชรีภรณ์ ดีสุทธิ, และ ปฐมาวดี คาทอง. (2560). การพัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ นิทานสร้างคุณธรรม เรื่อง ความดีของพอใจ กรณีศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 3. มหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุปผา ปงลังกา, ศิตา เยี่ยมขันติถาวร, และอารีรักษ์ มีแจ้ง. (2559). ผลการใช้ภาพยนตร์แอนิเมชั่นเพื่อพัฒนาความสามารถทางด้านการพูดภาษาอังกฤษและความพึงพอใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนพร้าววิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 6(1), 45-60.

ประภาสินี นิรมลพิศาล และณัฐพล รำไพ. (2558). การพัฒนารายการวีดิทัศน์ด้วยเทคนิคการ์ตูนแอนิเมชั่น เรื่องการใช้คอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(1), 46-55.

ปิยกุล เลาวัณย์ศิริ. (2532). ภาพยนตร์แอนิเมชัน ในเอกสารการสอนชุดวิชาการผลิตภาพยนตร์ขั้นสูง. (หน่วยที่ 15). นนทบุรี, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปิยะรัตน์ ภิรมแก้ว และจงกล แก่นเพิ่ม. (2558). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง HOWDY ENGLISH สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10(2), 311-317.

ปูรณ์ภัสสร สันติอิทธิกุล, รัตนาภรณ์ ปิยธำรงพงศ์, ณัฐธิดา บุญเสงี่ยม, และ แก้วกาญจน์ พิศงาม. (2560). การพัฒนานิทานแอนิเมชันเพื่อการเรียนรู้ เรื่องศีล 5 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก, 6(2), 63-72.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2545). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย. กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สรชัย ชวรางกูร, และชัชฎา ชวรางกูร. (2553). การพัฒนาวีดิทัศน์แอนิเมชั่นสามมิติ เรื่องระบบหมุนเวียนเลือด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3. ใน งานประชุมวิชาการ ECTI-CARD 2010. กรุงเทพฯ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร.

สุดาทิพย์ ชีนะพันธ์. (2558). พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง พันธะเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สื่อการสอนการ์ตูนแอนิเมชัน. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6. สงขลา, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สุดารัตน์ วงศ์คำพา, สานิตย์ กายาผาด, และวิทยา อารีราษฎร์. (2555). พัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ เพื่อรณรงค์แก้ปัญหาเด็กอ้วน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 31(2), 155-163.

อรณี ลำดวน. (2558). การพัฒนาสื่อการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 10(1), 274-282.

อชิตา เทพสถิตย์. (2557). การออกแบบแอนิเมชั่น 3 มิติ การกินอย่างถูกหลักโภชนาการ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2557. ปทุมธานี, มหาวิทยาลัยรังสิต.

อนุชา เสรีสุชาติ. (2548). การบริหารการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อนุวัฒน์ แก้วจันทร์ และ พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์. (2560). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง ฮานะผจญภัย. ใน การประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคอาเซียน ครั้งที่ 5. พิษณุโลก, มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อมีนา ฉายสุวรรณ และ ชุมพล จันทร์ฉลอง. (2559). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน เรื่องพี่น้องออมเงิน. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 11(2), 193-203.

อลิศรา บัวเพ็ชร, คุณอานันท์ นิรมล, และกฤธยากาญจน์ โตพิทักษ์. (2558). การพัฒนาสื่อแอนิเมชันเสริมทักษะการพูดสื่อสารในชีวิตประจำวันสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารเทคโนโลยีการศึกษาและมีเดียคอนเวอร์เจนซ์. 2(1), 49-57.

Aaron Widmar. (2015). Hyundai's 'Robocar Poli' Cartoon Show Teaches Kids Traffic Safety.[Online]. Retrieved March 8 , 2018 from https://thenewswheel.com/hyundai-robocar-poli-cartoon-show-teaches-kids-traffic-safety.

Ken Adams. (2016).10 Cool Reasons To Remember "Once Upon a Time...Life!". Retrieved from https://onedio.co/content/10-cool-reasons-to-remember-once-upon-a-time-life-10459.

Mike Marko.(2015). Seven Valuable Lessons from the Pixar Movie - Up. Retrieved [Online]. Retrieved March 8, 2018 from https://www.mikemarko.com/lessons-from-pixar-movie-up.

Nick Spake.(2015). Review : Shaun the Sheep. Retrieved [Online]. Retrieved March 8, 2018 from https://www.filmfestivaltoday.com/ breaking/review-shaun-the-sheep.

Paul Wells.(1998). Understanding Animation. London, Taylor & Francis.

Sean Wheeler. (2015). Inside Out Movie Review. Retrieved [Online]. Retrieved March 8 , 2018 from https://neverendingradicaldude.com/inside-out-movie-review.

Spymedia. (2014). Disney Pixar reveals 'Toy Story 4' is coming. Retrieved [Online]. Retrieved March 8 , 2018 from https://spyhollywood.com/toy-story-4.

The CG+News Team. (2017). Lobo Battles A Child's Biggest Fear With VR. Retrieved [Online]. Retrieved March 8, 2018 from https://cgnews.com/21406/lobo-battles-a-childs-biggest-fear-with-vr.

Woodsman Film Company. (2016). The Importance of Storyboarding in Filmmaking. Retrieved [Online]. Retrieved March 8, 2018 from https://www.thewoodsmanfilm.com/importance-storyboarding-filmmaking.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30