การวางแผนการเงินส่วนบุคคล เพื่อลดความเสี่ยงทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง เพิ่มผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดี และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

ผู้แต่ง

  • อภิชา อินสุวรรณ มหาวิทยาลัยพายัพ

คำสำคัญ:

การวางแผนการเงิน, ความเสี่ยงทางการเงิน, โรคมะเร็ง

บทคัดย่อ

          โรคมะเร็งเป็นความเสี่ยงทั้งด้านสุขภาพและด้านการเงินที่มีความรุนแรงสูง มีผลให้เกิดปัญหาทางการเงินและกระทบต่อความมั่นคงทางการเงินของครอบครัวความเสี่ยงดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นในทิศทางที่โรคมะเร็งเป็นสาเหตุซึ่งก่อให้เกิดปัญหาทางการเงินและในทางกลับกันปัญหาการเงินที่เกิดขึ้นส่งผลให้ผลลัพธ์ทางคลินิกและพยากรณ์โรคแย่ลง รวมถึงลดโอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยด้วยบทความวิชาการนี้เสนอสภาพปัญหาปัจจุบันที่พบใน การรับการรักษาโรคมะเร็งในระบบประกันสุขภาพของรัฐ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ภาระทางการเงินที่ผู้ป่วยและครอบครัว ต้องแบกรับผลกระทบของปัญหาทางการเงิน ต่อผลลัพธ์ทางคลินิกและคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วย ไปจนถึงแนวคิดในการบริหารความเสี่ยงและปัจจัยที่ควรพิจารณา ตลอดจนเครื่องมือที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการวางแผนรับมือกับความเสี่ยงทางการเงินจากโรคมะเร็งที่อาจเกิดขึ้นในบุคคลที่ยังไม่ถูกวินิจฉัยโรคมะเร็ง เพื่อลดความเสี่ยงทางการเงิน บรรเทาความเดือดร้อนของบุคคลและครอบครัว เพิ่มผลลัพธ์ทางคลินิกที่ดีและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง

References

กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2558). ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ, บริษัท พรทรัพย์การพิมพ์ จำกัด.

คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, พิจิตรา เล็กดำรงกุล, พรพรรณ วนวโรดม และวันทกานต์ ราชวงศ์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม สถานภาพทางการเงิน พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตในสตรีมะเร็งเต้านม ระหว่างได้รับรังสีรักษา. Journal of Nursing Science. 32(1), 15-27.

ทับทิม เปาอินทร์, เยาวรัตน์ รุ่งว่าง และเรวัต เตียสกุล. (2543). คุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมแบบ MRM และได้รับเคมีบำบัด. JOURNAL OF HEALTH SCIENCE. 4(1), 28-37.

สุรจิต สุนทรธรรม, สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์, จเด็จ ธรรมธัชอารี, บุณยวีร์ เอื้อศิริวรรณ, สิรินาฏ นิภาพร. (2555). ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย. ระบบหลักประกันสุขภาพไทย. กรุงเทพฯ. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

Cook, K. Sfekas, A. & Dranove, D. (2009). Major Illness and Chronic Disease: Does Major Illness Cause Financial Catastrophe?. Health Service Research. 45(2), 418-436.

Fenn, K. M., Chagpar, A. B., Killelea, B. K., Lannin, D. R., Hofstatter, E. W., Pusztai, L., DiGiovanna, Michael P., Abu-Khalaf, M., Horowitz, N. R., McCorkle, R., Evans, S. B., Sanft, T. & Knobf, T. 2014. Impact of Financial Burden of Cancer on Survivors' Quality of Life. JOURNAL OF ONCOLOGY PRACTICE. 10(5), 332-339.

Ferlay, J., Mathers, C., Forman, D., Parkin, D. M., Bray, F., Soerjomataram, I., Rebelo, M., Dikshit ,R. & Eser, S. (2012). Cancer incidence and mortality worldwide: Sources, methods and major patterns in GLOBOCAN 2012. International Journal Cancer. 5(136), 359-386.

Maslow, A.H. (1998). Toward Phycology of Being. Canada. John Wiley & Sons.

Prasongvej,P., Chanthasenanont, A., Tanprasertkul, C., Jaisin, K., Suwannarurk, K., Bhamarapravatana, K., Nanthakomon,T. & Lertvutivivat, S. (2017). Quality of Life in Cervical Cancer Survivors and Healthy Women: Thai Urban Population Study: Asian Pacific Journal Cancer Prevention. 2017; 18(2), 385-389.doi: 10.22034/APJCP. 2017.18.2.385.

The ACTION Study Group. (2015). Catastrophic Health Expenditure and 12-months Mortality Associated with Cancer in South East Asia: Result from a Longitudinal Study in Eight Country. The ACTION Study Group BMC Medicine. (13), 190.

Woodward ,M., Kingston ,D., Kimman, M., Norman, R. & Jan, S. (2012). The Burden of Cancer in Member Countries of the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN).Asian Pacific Journal of Cancer Prevention. 13(2), 411-420.

World Health Organization. (2017). Cancer. Retrieved August 9th, 2017, from World Health Organization website: https://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs297/en/.

Yabroff, K. R., Mariotto, A. Kepka, D. & Lund, J. (2011). "Economic Burden of Cancer in the US: Estimates, Projections, and Future Research". Cancer Epidemiol Biomarkers Prev.20(10), 2006-2014.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30