ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และระดับภาวะสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี
คำสำคัญ:
โรคหัวใจและหลอดเลือด, การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสาน, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, ระดับภาวะสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับภาวะสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดของผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด เลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 46 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 23 ราย และกลุ่มทดลอง 23 ราย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสาน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคล พฤติกรรมการจัดการตนเอง และระดับภาวะสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด วัดผลก่อนและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Chi-square test, F-test, Independent t-test, Paired t-test, Wilcoxon signed-rank test และ Mann-Whitney U test
ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองและคะแนนระดับภาวะสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดสูงกว่ากลุ่มควบคุมและสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ส่วนกลุ่มควบคุมไม่พบความแตกต่างของคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองและคะแนนระดับภาวะสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดระหว่างก่อนและหลังการทดลอง ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแบบผสมผสาน มีผลทำให้พฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับภาวะสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้น ดังนั้นจึงสามารถนำไปประยุกต์และพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดอื่นๆ เพื่อนำไปสู่การมีระดับภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น และควรมีการศึกษาโปรแกรมในระยะยาว
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2557). การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี, โครงการสวัสดิการสถาบันพระบรมราชชนก.
กษมาพร บุญมาศ. (2557). ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืดโดยประยุกต์ทฤษฎี ความสามารถของตนเองเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตในกล่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาสุขภาพชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.
กาญจนา เพ็งเหล็ง. (2556). ผลของโปรแกรมการกํากับตนเองและการสนับสนุนทางสังคมในพฤติกรรมการบริโภคอาหารของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อําเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วารสารสุขศึกษา. 36(123), 37-50.
จิราวรรณ เผื่อแผ่. (2557). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิยาลัยมหิดล.
แจ่มศรี เสมาเพชร. (2557). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 32(2), 131-140.
ณรงค์กร ชัยวงศ์. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. ไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 9(3), 112-119.
เบญจมาศ ถาดแสง. (2555). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าความดันโลหิตของผู้สูงอายุที่มีโรคความดันโลหิตสูง. พยาบาลสาร. 39(4), 124-137.
ปุณยวีร์ ประเสริฐไทย. (2553). ผลของการออกกำลังกายขนาดความหนักปานกลางที่บ้านในการลดความดันโลหิตของผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตเกือบสูง. วารสารสภาการพยาบาล. 25(4), 80-95.
พัชราภรณ์ อารีย์. (2556). ผลของรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินต่อระดับไขมันและนํ้าตาลในเลือดในสตรีที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง. พยาบาลสาร. 40(1), 14-22.
พิกุลทิพย์ ขุนเศรษฐ. (2559). ผลของการใช้โปรแกรมการให้ความรู้และสร้างเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุที่ควบคุมไม่ได้. Journal of Nursing Science. 34(4),90-101.
วรรณา งามประเสริฐ. (2553). ผลของโปรแกรมการกํากับตนเองต่อการออกกําลังกายของผู้สูงอายุชาวไทยมุสลิมที่เป็นโรคเบาหวานในชุมชนกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร) สาขาวิชาเอกการพยาบาลสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
วริษาศิริเวชยันต์. (2560). ผลของโปรแกรมอาหารสุขภาพต่อดัชนีมวลกายของบุคลากรโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 10(1), 145-153.
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติภาวะสมองเสื่อม Clinical Practice Guidelines : Dementia. กรุงเทพฯ, ธนาเพรส จำกัด.
สุกาญจน์ อยู่คง. (2558). ผลของโปรแกรมการกํากับตนเองต่อพฤติกรรมการควบคุมอาหารในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุขฤดี ธัชศฤงคารสกุล. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความร่วมมือในการรับประทานยาลดความดันโลหิตของผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. วารสารพยาบาลตำรวจ. 6(1), 113-130.
สุพาพร เพ็ชรอาวุธ. (2553). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (การพยาบาลเวชปฏิบัติครอบครัว) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
สํานักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการประเมินโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด: Guidelines for Assessment of Cardiovascular Risk. กรุงเทพฯ, องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.
อรวรรยา ภูมิศรีแก้ว. (2555). ปัจจัยเสี่ยงและการรับรู้ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 18(2), 34-47.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2551). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
American Heart Association. (2013). What is cardiovascular disease (heart disease). [Online]. Retrieved September 28, 2016, from https://www.heart.org/HEARTORG/Caregiver/Resources/What is Cardiovascular%20 Disease_UCM_301852_Article.jsp.
American Heart Association. (2016). Heart Disease and Stroke Statistics-2016 Update.[Online]. Retrieved September 28, 2016 from https://circ.ahajournals.org/lookup/doi/10.1161/CIR.0000000000000350.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of self-control. Gordonsville, VA: WH Freeman.
Cobb, S. (1976). Social support as a moderator of life stress. [Online]. Retrieved October 18, 2016, from www.Psychomatricmedicine.org/cgi/content/short/3/5/300.
D' Agostino, R. B., Vasan, R. S., Pencina, M. J., Wolf, P. A., Cobain, M., Massaro, J. M., et al.(2008). General cardiovascular risk profile for use in primary care the Framingham Heart study. Circulation. 117(6), 743-753.
Rosenstock, I. M., Strecher, V. J., & Becker, M. H. (1988). Social learning theory and the health belief model. Health Education Behavior. 15(2), 175-183.
Ryan P. (2010). Integrated Theory of Health Behavior Change: Background and Intervention Development. Clinical Nurse Specialist. 23(3), 161-172.
World Health Organization. (2013). Cardiovascular diseases (CVDs). [Online]. Retrieved September 28, 2016, from https://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs317/en/.
World Health Organization. (2016). Cardiovascular disease. [Online]. Retrieved September 28, 2016, from https://www.who.int/cardiovascular_diseases/en/.