ความสุขของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในจังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • อภิเชษฐ์ จำเนียรสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์

คำสำคัญ:

ความสุข, ผู้สูงอายุ, โรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาระดับความสุข และปัจจัยที่สามารถทำนายความสุขของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ในจังหวัดสระแก้ว จำนวน 247 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิเก็บข้อมูลโดยแบบสัมภาษณ์ในช่วงวันที่ 28 กันยายน ถึง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบสถิติไคสแควร์ สถิติ   สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

          ผลการวิเคราะห์ พบว่า ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง มีความสุขในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 54.3 รองลงมาคือ มีความสุขอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 36.0 และมีความสุขอยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 9.7 ปัจจัยที่สามารถทำนายความสุขอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) ได้แก่ สัมพันธภาพในครอบครัวแรงสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการดูแลตนเอง โดยสามารถร่วมทำนายความสุขของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังได้ ร้อยละ 29.1 ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการวางแผนส่งเสริม ความสุขของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง โดยควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัว แรงสนับสนุนทางสังคม และให้ผู้สูงอายุมีความรู้ทักษะความสามารถในการดูแลตนเอง เพื่อทำให้ผู้สูงอายุมีการปรับตัว และมีการวางแผนในการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมต่อไป

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แบบวัดระดับความสุขของคนไทยฉบับย่อ 15 ข้อ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2560, จาก https://www.dmh.go.th/test/thaihapnew/thi15/asheet.asp?qid=1.

จิตนภา ฉิมจินดา. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ชุติไกร ตันติชัยวนิช. (2551). ความสุขในชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดระยอง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) สาขาวิชาเอกอนามัยครอบครัว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณัฐกานต์ สำเนียงเสนาะ วารี กังใจ และชมนาด สุ่มเงิน. (2556). ปัจจัยทำนายความสุขของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา. ในเอกสารการประชุมเสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 28. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตสุวรรณภูมิ.

มุทิตา วรรณชาติ สุธรรม นันทมงคลชัย โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ และพิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์. (2558). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 45(ฉบับพิเศษ), 18-29.

มูลนิธิผู้สูงอายุไทย. (2558). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี พ.ศ. 2558. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 2 สิงหาคม 2560, จาก https://thaitgri.org/?p=37841.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2554). รายงานประจำปี สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย. นนทบุรี, เอสเอส พลัส มีเดีย.

วิทมา ธรรมเจริญ. (2555). อิทธิพลของปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายในที่มีต่อความสุขของผู้สูงอายุ. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ. (2553). กรอบทิศทางการจัดสวัสดิการทางสังคมอย่างยั่งยืน ในช่วงแผนฯ 11. กรุงเทพฯ, สำนักยุทธศาสตร์และการวางแผนพัฒนาทางสังคม.

สำนักงานจังหวัดสระแก้ว. (2560). สำนักงานสถิติจังหวัดสระแก้ว. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2560, จาก https://sakaeo.nso.go.th.

สุธรรม นันทมงคลชัย โชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์ พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์ และอาภาพร เผ่าวัฒนา. (2553). ความสุขและคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่เลี้ยงหลานในเขตชนบท ภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 41(1), 29-38.

อรุณรัตน์ กาญจนะ. (2545). ความสามารถในการดูแลตนเอง การสนับสนุนทางสังคมและการรับรู้ต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Bloom, B. S. (1976). Human Characteristic and School Learning. New York : McGraw-Hill Book Company. Cristensen, L. B. 1985. Experimental Methodology.

Daniel, WW. (2010). Biostatistics: A Foundation for Analysis in the Health Sciences. 6 ed, New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30