ปัญหาและอุปสรรคในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะขององค์การบริหาร ส่วนตำบลเชียงรากใหญ่ จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

ปัญหาและอุปสรรค, โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ, องค์การบริหารส่วนตำบล

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ (2) ศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะขององค์การบริหารส่วนตำบล             เชียงรากใหญ่ จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มผู้นำชุมชน (2) กลุ่มผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (3) กลุ่มนักวิชาการ รวมทั้งสิ้นจำนวน 24 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือการสัมภาษณ์เชิงลึกทําการวิเคราะห์ข้อมูล โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและวิเคราะห์เอกสารทางวิชาการที่น่าเชื่อถือเพื่อสนับสนุนการวิจัย

            ผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ คือทัศนคติการต่อต้าน และระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในโครงการดังกล่าวในระดับน้อย ด้านความโปร่งใสและความไว้วางใจของประชาชนต่อหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของชาวบ้านอยู่ในเกณฑ์ต่ำชุมชนขาดองค์ความรู้ในเรื่อง "โรงไฟฟ้าพลังงานขยะ" และขาดการรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากทางหน่วยงานภาครัฐ (2) ในด้านผลกระทบที่เกิดจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้า พลังงานขยะที่มีต่อต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมนั้นอยู่ใน ระดับสูงโดยเฉพาะปัญหากลิ่นเหม็น ปัญหาควัน ปัญหาน้ำเสียจากขยะเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมและยังส่งผลให้เกิดทัศนียภาพที่ไม่สวยงามขึ้นในชุมชนอีกด้วยจากผลการวิจัยผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ว่าหน่วยงาน ภาครัฐควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เป็นกลไกอิสระที่ทำหน้าที่ในการกลั่นกรอง ตรวจสอบความโปร่งใสในการทำงาน วิเคราะห์ผลกระทบอันเกิดจากนโยบายของรัฐควรมีการทำประชาพิจารณ์ให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลโดยละเอียด ในขณะเดียวกันรัฐควรมีหน้าที่สนับสนุน และส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะของประชาชนดังกล่าวด้วยความโปร่งใสโดยไม่เข้าไป ครอบงำ ความคิดเห็นของประชาชน

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2554). คู่มือการจัดการขยะมูลฝอยและเทคโนโลยีการแปรรูปขยะมูลฝอยให้เป็นพลังงานสำหรับท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมลพิษ.

กรรณิกา แสงเปล่ง. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลแพรกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไทยรัฐออนไลน์. (2557). อันตรายควันพิษบ่อขยะ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2560, จาก https://www.thairath.co.th/content/edu/410843.

ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์. (2549). รายงานการวิจัยเรื่อง การป้องกันการทุจริตคอรัปชันในหน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่าด้วยเทคนิคการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2542). การสร้างธรรมาภิบาล (Good governance) ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑตยสถาน. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.

ไพศาล เชาวนะ. (2543). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมยศ นาวีการ. (2540). การบริหารเพื่อความเป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สํานักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2548). แผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการขยะมูลฝอย ชุมชนและขยะมูลฝอยอันตรายชุมชนระดับประเทศ. กรุงเทพฯ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2544). การบริหารแบบมีส่วนร่วม" ในประมวลสาระชุดวิชาทฤษฏีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา หน่วยที่ 12. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2547). เครื่องมือเกี่ยวกับความขัดแย้ง : หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ.

อรทัย ด่านสาคร. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวางแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

Daniel Dana. (2001). Political Conflict in Thailand: reform, reaction, revolution. Gunn & Hain : Publishers.

Thomas,W. and Ralph H. Kilmann. (1987). Thomas-Kilmann Conflict ModeInterest. NY: X/COM Incoporated.

Webster, W.J.(1994). T.O. Effectiveness indices : Value added approach to measuring school effect. Studiesin educational Evaluation. 2(1), 64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30