ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับค่าจ้างภาคการเกษตรในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • จันทร์พิมพ์ เอกเกิด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ค่าจ้างภาคการเกษตร, ปัจจัยทางทฤษฎี, ปัจจัยทางสังคม

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกำหนดค่าจ้างภาคการเกษตรในประเทศไทยโดยใช้วิธีสังเคราะห์งานวิจัยในประเทศและนานาชาติ และมีวัตถุประสงค์เฉพาะในการวิเคราะห์ ปัจจัยทางทฤษฎีและสังคม ห้วงเวลาของข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ และการใช้เทคนิคการวิเคราะห์ที่เหมาะสม ที่มีความสัมพันธ์กับการกำหนดค่าจ้างภาคการเกษตร

          การศึกษาพบผลลัพธ์ที่สำคัญที่มีความสัมพันธ์ กับการกำหนดค่าจ้างภาคการเกษตรในประเทศไทย ได้แก่ (1) ปัจจัยทางทฤษฎีที่มีความสัมพันธ์ทางบวกต่อการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างภาคการเกษตร ได้แก่ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคการเกษตร และอัตราการรู้หนังสือในขณะที่การจ้างงานนอกภาคการเกษตร ผู้ว่างงานที่เคยทำงานในภาคการเกษตร และผู้สูงอายุที่ทำงานในภาคการเกษตร มีความสัมพันธ์ทางลบ ซึ่งเป็นการยืนยันปัจจัยทางทฤษฎี (2) งานวิจัยนี้ได้พบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างตัวแปรค่าจ้างและผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคการเกษตรตามทฤษฎีกำหนดค่าจ้าง และ (3) สัมประสิทธิ์ของตัวแปรมีเสถียรภาพและน่าเชื่อถือสูงขึ้นเมื่อใช้การวิเคราะห์ตามวิธีการของการวิจัยครั้งนี้

References

กองแผนงานและประเมินผล. (2558). เป้าหมายการพัฒนาที่ยังยืน (Sustainable Development Goals-SDGs). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2553). ภาพรวมตลาดแรงงานไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธนาคารแห่งประเทศไทย.

ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. (2558). เศรษฐศาสตร์แรงงาน. จังหวัดเชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2559). แผนพัฒนาการเกษตร ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564).กรุงเทพฯ: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2554-2557). ภาวะการทำงานประชากร ปี 2557. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2558, จาก https://service.nso.go.th/nso/web/survey/surpop2-2-1.html.

Bardhan, K. (1973). Factor affecting wagerate for agricultural labours. Economic and Polical Weekly.(23), 147-150.

Barajesh, J. (2006). Employment, wage and productivity in Indian agricultural. Delhi. University of Delhi Enclave.

Earle, D. (2009). Skills qualification and wages : An analysis from adult literacy andlifeskills survey. New Zealand: the Ministry of Education.

Edward, S.,Knotek,II.,& Zaman, S. (2014). On the relationships between wages, prices, and economicactivity. Economic commentary. August 19(14), หน้า-หน้า.

Mahlberg, B., Freund I., Cuaresma, J. C., & Prskawetzc, A. (2013). Ageing, productivity and wages in Austria. Labor Economics. (22), 5-15.

Poapongsakorn, N., Ruhs,M.,& Tangjitwishuth. S. (1998). Problem and outlook of aricultural in Thailand. TDRI Quarterly Review. 13(2), 3-14.

Seputiene, J. (2011). The estimation of the relationship between wage and unemployment in The EUROPEAN UNION. Journal of Social Sciences and Humanity.(2),277-285.

Sidhu, H. S. (1988). Wage determination in the rural labor market: The case of Punjapand Harayana. Economic and Political Weekly. 23(32), 147-150.

Suwanarat, P., (2010). Agricultural production and poverty reduction in Thailand. Bangkok:Thammasat University.

Tipper, A. (2012). Labor Productivity, real wages and workforce age structure. Palmerston North. Paper presented at the 53 New Zealand Association of Economists Conference

Vankatesh. (2013). Recent trends in rural employment and wages in India. Agricultural Economics Research Review. (26), 13-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30