การป้องกันการหกล้มผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน : บทบาทของพยาบาลในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกัน

ผู้แต่ง

  • รัฎภัทร์ บุญมาทอง อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

การหกล้มในผู้สูงอายุ, บทบาทพยาบาล, การส่งเสริมสุขภาพ

บทคัดย่อ

          ประชากรผู้สูงอายุไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  และพบว่าการหกล้มเป็นความเสี่ยงที่สำคัญที่สุด ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพกาย จิตใจ สังคมและเศรษฐกิจ ปัจจัยเสี่ยงต่อการหกล้มในผู้สูงอายุมีทั้งปัจจัยภายในร่างกายและปัจจัยภายนอกร่างกาย ปัจจัยภายในร่างกายประกอบด้วย ปัญหาทางด้านร่างกาย เช่น ความเสื่อมของร่างกายจากความชรา ความเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ปัญหาทางด้านจิตใจ เช่น ความเครียด วิตกกังวล สับสน ซึมเศร้า และความหวาดกลัวต่อการหกล้มซ้ำ ปัจจัยภายนอกร่างกาย ได้แก่สิ่งแวดล้อมในบ้านที่เป็นอันตราย โครงสร้างที่อยู่อาศัยไม่ปลอดภัย และการถูกทอดทิ้งหรือละเลยจากผู้ดูแล การหกล้มเป็นสาเหตุของการได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตในผู้สูงอายุ พยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุและให้คำแนะนำด้านที่อยู่อาศัยให้มีความเหมาะสมพร้อมทั้งการให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุและผู้ดูแลเกี่ยวกับวิธีการป้องกันการหกล้ม ส่งเสริมสมรรถนะในการดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้มให้กับผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงในการหกล้มทั้งที่บ้านและในชุมชน

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2545-2564) ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

กระทรวงสาธารณสุข. (2558). คู่มือการคัดกรอง/ประเมินผู้สูงอายุ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กิจการโรงพิมพ์สงเคราะห์องค์การทหารผ่านศึก.

กิตติพร เนาว์สุวรรณและคณะ. (2560). สมรรถนะที่จำเป็นต่อการดูแลผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพเมื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(1), 1-11.

จิตติมา บุญเกิด. (2561). การหกล้มในผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ บริษัท สหมิตรพัฒนาการพิมพ์ (1992) จำกัด.

ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์ และกรรณิการ์ เทพกิจ. (2560). ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มต่ออัตราการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารกาสะลองคำ: สำนักวิชาการวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 11(3), 175-183.

นิพา ศรีช้าง และ ลวิตรา ก๋าวี. (2560). รายงานการพยากรณ์ การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นจาก www.Thaincd.com.

ปะราลี โอภาสนันท์. (2559). การพยาบาลผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21. โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา.

ประเสริฐ อัสสันตชัย และคณะ. (2554). โครงการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันภาวะหกล้มและผลแทรกซ้อนในผู้สูงอายุโดยแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ปราโมทย์ ประสาทกุล. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : บริษัท พริ้นเทอรี่ จำกัด.

ภัณฑิลา ผ่องอำไพ. (2560). ผลของโปรแกรมการเสริมพลังครอบครัวต่อความสามารถในการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยคริสเตียน, นครปฐม

วณิชา พึ่งชมภู. (2563). การพยาบาลผู้สูงอายุ: ประเด็นทางสุขภาพที่น่าสนใจ. โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วสุวัฒน์ กิติสมประยูรกุล. (2561). การล้มในผู้สูงอายุ. ตำราเวชศาสตร์ผู้สูงวัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (๑๙๗๗) จำกัด.

วราลักษณ์ ศรีนนท์ประเสริฐ. (2560). การดูแลผู้สูงอายุขั้นต้น. สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

วิไลวรรณ ทองเจริญ. (2554). ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. (2560). การดูแลผู้สูงอายุขั้นต้น. สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

ศินาท แขนอก. (2553). ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยในผู้สูงอายุที่มารับบริการคลินิกผู้สูงอายุ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ศิริรัตน์ ปานอุทัย ทศพร คำผลศิริ และ ณัฐธยาน์ สุวรรณคฤหาสน์. (2560). การพยาบาลผู้สูงอายุ. เชียงใหม่: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (2557). ยุทธศาสตร์ ตัวชี้วัด และแนวทางการจัดเก็บข้อมูล กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข

อัจฉรา ปุราคม. (2558). การส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: บริษัท เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ปจำกัด.

O’Loughlin,J. L., Robitaille, Y. Boivin, J.F.,& Suissa, S. (1993). Incidence of and risk factors for falls and injurious falls among the community-dwelling elderly. American Journal, 137(3), 342-54.

Sattin, R. W., Lambert, D. A., Devito, C. A., Rodriguez,Ros, J.G., Bacchille,et, S., et al. (1990). The incidence of fall injury events among the elderly in the defined population. American Journal of Epidemiology, 131(6), 1028-1037

Spirduso, W. W. (1995). Aging and motor control. In C. Gisolfi, D. lamb & E. Neal (Eds.) Perspectives in exercise science and sports medicine: Exercise in older adults. Collins Publishers.

World Health Organization. (2007). WHO Global Report on Falls Prevention in Older Age. France: WHO Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-16