องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์, มหาวิทยาลัยเอกชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเอกชนที่เป็นสมาชิกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย จำนวน 358 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการวิจัยแสดงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบเรียงลำดับความสำคัญดังนี้ (1) การพัฒนาผู้นำของปัจจุบันและอนาคต (2) การสร้างพันธมิตร (3) ความสัมพันธ์กับทุกภาคส่วนในมหาวิทยาลัยเอกชน (4) การสร้างจิตวิญญาณการเป็นสมาชิกขององค์กร (5) การดำเนินงานให้สำเร็จ (6) การคิดและวางแผนเชิงกลยุทธ์ และ (7) การกำหนดทิศทาง ซึ่งผลการตรวจเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโครงสร้างเชิงองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าวัดระดับความกลมกลืน คือ Chi-square (χ2 ) = 17.489, df = 12, χ2 /df (CMIN/DF) = 1.457, RMR = .005, RMSEA = .037, GFI = .986, AGFI = .967, TLI=0.991 และ CFI = 0.995 แสดงว่ารูปแบบโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทยเชิงยืนยัน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนั้นผู้บริหารระดับสูงควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชนให้มีทักษะการเป็นผู้นำเชิงกลยุทธ์ และนำองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาเกณฑ์หรือตัวบ่งชี้ผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเอกชน
References
จันทนา แสนสุข. (2557). ปัจจัยที่เป็นเหตุและผลของความสามารถภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 19(1), 34-46.
จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง, เนตรชนก ศรีทุมมา, และ นงลักษณ์ จินตนาดิลก. (2557). สมรรถนะภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหาร ฝ่ายการพยาบาลสังกัดโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 20(2), 344-359.
ชุมพล นุชผ่อง, สมอาจ วงษ์ขมทอง, จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง, และเนตรชนก ศรีทุมมา. (2560). โมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างภาวะผู้นำกลยุทธ์และกลยุทธ์ด้านการเงินของโรงพยาบาลที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานด้านการเงินของโรงพยาบาลชุมชน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(2), 13-28.
ธนภณ ธรรมรักษ์, คุณวุฒิ คนฉลาด, และ สมศักดิ์ ลิลา. (2556). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารการศึกษาและการพัฒนาสังคม, 9(2), 58 - 70.
ธัชชนันท์ มโนเพ็ชรเกษม. (2560). องค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้ปฏิบัติวิชาชีพกายอุปกรณ์ในประเทศไทย(วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต).สืบค้นจาก http://library.christian.ac.th/thesis/document/T041754.pdf
นงนภัส วงษ์จันทร, เนตรชนก ศรีทุมมา, จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง, และ ปราณี มีหาญพงษ์. (2561). โมเดลความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของภาวะผู้นำกลยุทธ์ ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร และประสิทธิผลของงานการพยาบาลผู้คลอดในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(4), 588 – 599.
พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์. (2562, 25 กรกฎาคม). สัมภาษณ์โดย อนุธิดา ประเสริฐศักดิ์ [การบันทึกเสียง]. รองคณบดี คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.
พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2557). หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(2), 136-145.
รัตนา สีดี. (2561). พันธมิตรทางธุรกิจ: องค์ประกอบของการสร้างพันธมิตร กระบวนการเรียนรู้ และประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านพันธมิตร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 8(3), 254-264.
เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ. (2561). การศึกษาจะอยู่ทุกที่ทุกเวลาในยุค AI มหาวิทยาลัยกำลังอยู่บนมือคุณ. สืบค้นจาก https://mgronline.com/cyberbiz/detail/9610000112536
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). สถิติอุดมศึกษา 2558-2560. สืบค้นจาก http://www.info.mua.go.th/info/
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). สถาบันอุดมศึกษาในสังกัด. สืบค้นจาก http://www.mua.go.th/university.html
สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุภัทรา สงครามศรี, วิชิต อู่อ้น, และ กัลยารัตน์ ธีระธนชัยกุล. (2559). แบบจำลองความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์ และผลการปฏิบัติงานของสถาบันการอาชีวศึกษา. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี, 10(1), 41 - 64.
อภินันต์ อันทวีสิน, เสาวนีย์ กานต์เดชารักษ์, และสุรีย์ กาญจนวงศ์. (2560). โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างการประกันคุณภาพการศึกษาภายในเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศกับประสิทธิผลของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย. วารสารวิชาการวิทยาลัยแสงธรรม, 11(2), 153-170.
อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์. (2559). อาจารย์มหาวิทยาลัยไทยต้องปรับตัว พัฒนาตัวเอง และเตรียมตัวตกงาน. สืบค้นจาก http://www.thaipt.org/index.php?module=knowledge&id=567
Adair, J. (2010). Strategic Leadership: How to Think and Plan Strategically and Provide Direction. London: Pan Macmillan.
Boal, K. B. & Schultz, P. L. (2007). Storytelling, time, and evolution: The role of strategic leadership in complex adaptive systems. The Leadership Quarterly, 18(4), 411-428.
Hooper, D., Coughlan. J., and Mullen M.R. (2008). Structural Equation Modeling: Guidelines for Determining Model Fit. Electronic Journal on Business Research Methods, 6(1), 53-60.
Lulu Setiawati S. E. M., Budiman Christiananta Drs Ec. M. A., Lena Elitan. (2017). The Effect of Organizational Service Orientation, Strategic Leadership and Strategic Competence on the Organizational Performance of Private University. International Journal of Advanced Research (IJAR), 5(2), 1992-2002.
Yamane. (1973). Taro Statistic : An Introductory Analysis. New York : Harper & row.