บทบาทของพยาบาลในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยกระดูกหัก ที่ได้รับการดึงถ่วงน้ำหนัก

ผู้แต่ง

  • วีรนุช ไตรรัตโนภาส อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

บทบาทของพยาบาล, การป้องกันภาวะแทรกซ้อน, ผู้ป่วยกระดูกหัก, การดึงถ่วงน้ำหนัก

บทคัดย่อ

          การดึงถ่วงน้ำหนัก เป็นแนวทางหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุกระดูกหัก โดยใช้หลักจำกัดการเคลื่อนไหวเพื่อให้กระดูกที่หักอยู่นิ่ง และใช้แรงดึงกระดูกที่เคลื่อนออกจากแนวเดิม ให้กลับเข้าไปอยู่ในแนวเดิมหรือใกล้เคียงกับแนวเดิม บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอบทบาทของพยาบาลในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยกระดูกหักที่ได้รับการดึงถ่วงน้ำหนัก เนื่องจากผู้ป่วยต้องถูกจัดให้นอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา ทำให้อาจมีภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เกิดขึ้น ได้แก่ แผลกดทับ ปอดอักเสบ ภาวะติดเชื้อ หลอดเลือดดำอุดตัน ความดันในช่องกล้ามเนื้อเพิ่ม และระบบไหลเวียนล้มเหลว พยาบาลวิชาชีพจึงควรมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาโดยการดึงถ่วงน้ำหนัก โดยเฉพาะการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น การให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วย การจัดการความปวด การส่งเสริมการจัดท่าและการเคลื่อนไหวที่เหมาะสมและการจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษาและฟื้นหายเร็วขึ้น

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2561). ชีวิตวิถีใหม่ ชีวิตดีเริ่มที่เรา. สืบค้นจาก http://www.thaihealth.or.th.

จันทร์เพ็ญ พาหงส์ และวีระ สถิรอังกูร. (2555). การพยาบาลผู้ป่วยเข้าเฝือกและใส่อุปกรณ์ดาม. ใน ธวัชชัย ประสาทฤทธา, พรทิพย์ ลยานันทน์, และ สุขใจ ศรีเพียรเอม (บ.ก.). การพยาบาลออร์โธปิดิกส์ (น. 22-44). กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.

ขนิษฐา รัตนกัลยา, มรรยาท ณ นคร, สมพิศ การดำริห์, วัฒนาวรรณ บุญกุณะ, และ ทัศนีย์ ธนะศาล. (2557). ความต้องการความสุขสบายและการได้รับการตอบสนองความต้องการความสุขสบาย ของผู้ป่วยที่ได้รับการดึงถ่วงนํ้าหนัก. วารสารพยาบาลศาสตร์, 41(ฉบับพิเศษพฤศจิกายน), 112-121.

บุญรุ่ง อริยะชัยกุล, ธดากรณ์ พรมศร และ ศรัญญา แบ่งชุมสืบ. (2556). การจัดแนวการดึงถ่วงน้ำหนักผ่านผิวหนัง (skin traction alignment). เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์, โรงพยาบาลนครพิงค์, เชียงใหม่, ประเทศไทย.

ไพรัช ประสงค์จีน. (2552). กระดูกหักและข้อเคลื่อน. (พิมพ์ครั้งที่4). กรุงเทพ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรนุช วงษ์เจริญ (2560) ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยกระดูกต้นขาหัก ที่ได้รับการดึงถ่วงน้ำหนักต่อเนื่องที่บ้าน. วารสารวิจัยพัฒนาระบบงานสาธารณสุขแพร่, 7(6), 125-127.

วรรณี สัตยวิวัฒน์. (2553). การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: เอ็นพีเพลส.

วัชรี มุกด์ธนะอนันต์. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษสุรินทร์บุรีรัมย์, 27(2), 162-171.

วิวัฒน์ วจนะวิศิษฏ์. (2550). การดึงถ่วงน้ำหนัก. ใน วิวัฒน์ วจนะวิศิษฏ์, ภัทรวัณญ์ วรรธนารัตน์, ชูศักดิ์กิจคุณาเสถียร, สุกิจ เลาหเจริญสมบัตร, และ สรศักดิ์ ศุภผล (บ.ก.). ออร์โธปิดิกส์. (น. 103-112). กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.

สุขใจ ศรีเพียรเอม และปริยุทธิ์ เจียรพัฒนาคม. (2555). การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการดึงถ่วงน้ำหนัก. ใน ธวัชชัย ประสาทฤทธา, พรทิพย์ ลยานันทน์, และ สุขใจ ศรีเพียรเอม (บ.ก.). การพยาบาลออร์โธปิดิกส์ (น. 55). กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.

สุรศักดิ์ ไชยสงค์, ธนนรรจ์ รัตนโชติพานิช, ภัสรา ทองไทย, ภัทรา น้อยสุวรรณกิจ และ สุชาดา ทิคะชน. (2555). ต้นทุนของผู้ป่วยในการรักษาโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยหมดประจำเดือน. วารสารเภสัชศาสตร์อิสาน, 9(1), 90-94.

ไสว นรสาร และ พีรญา ไสไหม. (2559). การพยาบาลผู้บาดเจ็บ. นนทบุรี: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรช์จำกัด.

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2562). วิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนน. สืบค้นจาก http://www.otp.go.th

อมรตา อาชาพิทักษ์, สุภาพ อารีเอื้อ และ พรทิพย์ มาลาธรรม. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับจำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยสูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดโรคกระดูกและข้อ. วารสารพยาบาลรามา, 15(2), 249-268.

อรพรรณ โตสิงห์, พรสินี เต็งพานิขกุล, ธิราวรรณ เชื้อตาเล็ง และ ณัฐมา ทองธีรธรรม. (2559). การพยาบาลผู้ป่วยทางออร์โธปิดิกส์. กรุงเทพ: เอ็นพีเพส.

Brink, A., Boonstra, O., Vander Wall, B. H., Ultee, J. M. &Schipper, I. B. (2005). Is preoperative traction for proximal femoral fractures beneficial to the patient or a comfort to the doctor?. European Journal of Trauma, 31(1), 39-43.

Janssen, I., Heymsfield, S. B., Wang, Z., & Ross, R. (2000). Skeletal muscle mass anddistribution in 468 men and women aged 18-88 yr. Journal of Applied Physiology, 89(1), 81-88.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-24