ผลของการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น ต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ

ผู้แต่ง

  • รุ่งอรุณ บุตรศรี นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

ความสามารถในการปฏิบัติงาน, การนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานครที่คัดเลือกแบบเจาะจงจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองมี 3 ส่วน ได้แก่ 1) รูปแบบการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ 2) แผนการอบรมการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ และ3) คู่มือการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1 และความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ Wilcoxon signed ranks test

          ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพภายหลังได้รับการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์สูงกว่าก่อนมีการใช้การนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้วิจัยเสนอแนะว่า ผู้บริหารการพยาบาลสามารถนำรูปแบบการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ไปใช้ในการพัฒนาความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในหน่วยงานที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน เพื่อส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติงานได้อย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

References

กรกันยา เพ็งผลา. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา,ชลบุรี.

จุฬารัตน์ ห้าวหาญ และอรชร อินทองปาน. (2558). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการโค้ชเพื่อพัฒนาความสามารถในการปฏิบัติงานด้านการบริการสุขภาพ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(1), 166-177.

ณัฐรดา เจริญสุข สุรินทร์ ชุมแก้ว และเกษราภรณ์ สุตตาพงค์. (2559). กลยุทธ์การสอนงาน (Coaching) เพื่อสร้างสมรรถนะที่เป็นเลิศในการปฏิบัติงาน. วารสารการจัดการ, 4(2), 60-66.

ธิดานุช เพียรชูชัย. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

เบ็ญจพร ไพบูลย์พลาย้อย. (2558). ผลของโปรแกรมการนิเทศการพยาบาลแบบมีส่วนร่วมของหัวหน้าหอผู้ป่วยต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยคริสเตียน, นครปฐม.

ปาจรีย์ เที่ยงเจริญ. (2555). ผลของการใช้รูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงที่มีต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพใหม่ในฐานะหัวหน้าทีมการพยาบาล โรงพยาบาลเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ปานดวงใจ ไทยดำรงเดช. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ความสามารถในการทำงานกับผลการดำเนินงานของฝ่ายการพยาบาลตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

ผ่องศรี สุวรรณพายัพ พรทิพย์ สุขอดิศัย และกรรณิกา อำพล. (2556). การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการพยาบาล กลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลพระปกเกล้า. การพยาบาลและการศึกษา, 6(1),12-26.

ศิริรัตน์ ศิริวรรณ. (2557). การโค้ชเพื่อผลการปฏิบัติงานที่ยอดเยี่ยม. กรุงเทพมหานคร: เอช อาร์ เซ็นเตอร์.

สุพัตรา สงฆรักษ์ (2560). ผลของโปรแกรมการนิเทศทางคลินิกสำหรับผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นที่โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยคริสเตียน, นครปฐม.

สุภาจิรี ไตรปิฎก. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลการนิเทศงานการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับความปลอดภัยของผู้ป่วยและความพึงพอใจของผู้รับการนิเทศของโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

สุมลา พรหมมา. (2559). รูปแบบการพัฒนาทักษะการโค้ชของผู้นำทางการพยาบาล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนคริทร์, ฉะเชิงเทรา.

เสาวลักษณ์ จิรธรรมคุณ อรุณรัตน์ เทพนา และธัญยรัชต์ องค์มีเกียรติ. (2559). การบริหารการพยาบาลยุค 4G. กรุงเทพมหานคร: TBS Product.

อรอนงค์ ธาราไพศาลสุข. (2562). ผลของการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบโกรว์ของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นที่โรงพยาบาลเอกชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยคริสเตียน, นครปฐม.

อิฏฐาพร คำกุ้ม. (2558). ผลของการโค้ชต่อความรู้และการปฏิบัติของพยาบาลในการป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในผู้สูงอายุในสถานดูแลระยะยาว. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

วิตมอร์, จอห์น. (2010). โค้ชชิ่งกลยุทธ์การโค้ชเพื่อพิชิตเป้าหมายอย่างมืออาชีพ.[Coaching for performance] (วุฒินันท์ ชุมภู, ผู้แปล) (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: ภาพพิมพ์.

Davis, C., & Burke, L.(2012). The effectiveness of clinical supervision for a group of ward Managers based in a District General Hospital: An Evaluative Study. Journal of Nursing Management, 20(6), 782–793.

McComick, J. E. & Ligen, D. (1985). Industrial and organization psychology (4rd ed). Englewood: Prentice – Hall.

Meretoja R., Isoaho H., & Leino-Kilpi H. (2004). Nurse competence scale : Development and psychometric testing. Journal of Advanced Nursing , 47, 124-133.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2014). Essentials of nursing research: appraising evidence for nursing practice. (8th ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott/Williams & Wilkins Health. United States.

Wu, T., & Hu, C. (2009). Dispositional antecedents and boundaries abusive supervision and employee emotional exhaustion. National Chengchi University Group & Organization Management, 34(2), 143-169.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-31